in Knowledge, Politics

The End of History in 2022

ภาพ Francis Fukuyama จาก YouTube Stanford Alumni

ปี 1990 กำแพงเบอร์ลินพังทลาย รวมเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกเข้าด้วยกัน

ปี 1991 สหภาพโซเวียตล่มสลาย ปิดฉากสงครามเย็นระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์ที่ดำเนินมา 40 ปี ด้วยชัยชนะของโลกเสรี

ปี 1992 มีนักวิชาการค่อนข้างหนุ่ม (อายุ 40 ปีพอดีในตอนนั้น) ชื่อ Francis Fukuyama ออกมาเขียนหนังสือชื่อดัง The End of History and the Last Man

หนังสือเล่มนี้เสนอทฤษฎีที่อหังการมากๆ ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาถึงจุดสูงสุดแล้ว (end of history) โดยวิวัฒนาการขั้นสุดของสังคมมนุษย์ คือ รูปแบบการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) ของโลกตะวันตกนี่ล่ะ เพราะการสิ้นสุดสงครามเย็น ถือเป็นการพิสูจน์แล้วว่าโลกเสรีเป็นฝ่ายชนะ

แนวคิดเรื่อง end of history ไม่ใช่ของใหม่ นักปรัชญาในอดีตอย่าง Thomas Moore, Hegel หรือ Marx เคยฝันถึงจุดสูงสุดของสังคมมนุษย์กันมาก่อน (เช่น Utopia) แต่ Fukuyama อาจหาญมากถึงขั้นบอกว่า ปี 1992 นี่ล่ะ เราเห็นจุดสูงสุดที่ว่านั่นแล้ว

ความอาจหาญของ Fukuyama ทำให้หนังสือเล่มนี้ดังมาก และมีนักวิชาการจำนวนมากออกมาวิจารณ์หรือตอบโต้

หนึ่งในคำวิจารณ์ที่มีน้ำหนักที่สุดคือ Samuel Huntington อาจารย์ของ Fukuyama ที่ออกหนังสือ The Clash of Civilizations (บทความออกปี 1993, หนังสือออกปี 1996) มาตอบโต้ เนื้อหาหลักคือบอกว่า การต่อสู้ทางอุดมการณ์ (ideology) อาจสิ้นสุดลงหลังสงครามเย็น แต่โลกจะยังขัดแย้งกันจากการปะทะกันของกลุ่มวัฒนธรรม-ศาสนาที่ต่างกันแทน (เช่น ตะวันตก ยุโรปตะวันออก จีน อิสลาม ละตินอเมริกัน พุธ)

ทศวรรษ 1990s เป็นทศวรรษที่สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่ โชติช่วงชัชวาล เป็นผู้นำโลกทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหารแต่เพียงผู้เดียว เราเห็นแสนยานุภาพของสหรัฐในสงครามอ่าวเปอร์เซียยุครัฐบาลบุชคนพ่อ เศรษฐกิจอเมริกันพุ่งทะยานในยุคคลินตัน

ความรุ่งเรืองของอเมริกา ในฐานะหัวหอกของโลกเสรี อาจเป็นหลักฐานสนับสนุนแนวคิดของ Fukuyama ว่าโลกเสรีชนะแล้วจริงๆ

แต่เหตุการณ์ 9/11 ทำให้โลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โจรปล้นเครื่องบินจากที่ไหนไม่รู้โผล่มาถล่มศูนย์กลางทุนนิยมอเมริกัน ทำให้แนวคิด The End of History ล้าสมัยในทันที และแนวคิด Clash of Civilizations กลายเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกมากกว่า

โลกหลังยุค 2000s เป็นต้นมา เปลี่ยนจากอเมริกันเป็นผู้นำเดี่ยว กลายเป็นโลกหลายขั้วมากขึ้น เราเห็นความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตก กับโลกอิสลาม หรือการผงาดขึ้นมาของวัฒนธรรมเอเชียที่นำโดยจีน ในขณะที่อเมริกาเองก็เจอกับวิกฤตใหญ่สองครั้งคือ 9/11 และ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2007-2008 ไม่มีเวลาออกไปยุ่งเรื่องชาวบ้านมากนัก

ตัวของ Fukuyama ไปออกหนังสือด้านทฤษฎีการเมืองอีกหลายเล่ม แต่ก็ไม่มีเล่มไหนดังเท่ากับ The End of History ที่สร้างชื่อให้เขามากที่สุด

ข้ามเวลามายังปี 2022 ซึ่งครบรอบ 30 ปีหนังสือ The End of History พอดี สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้ความขัดแย้งระหว่างยุโรปตะวันตก vs สหภาพโซเวียตกลับมาอีกครั้ง แถมรอบนี้ไม่ได้เป็นสงครามเย็น (cold war) ฮึ่มๆ ฮั่มๆ ใส่กันอย่างเดียว แต่เป็นสงครามร้อน (hot war) ที่มีการยิงกันจริงๆ จังๆ มีคนตายและความสูญเสียเกิดขึ้นจริงแล้ว

โลกจึงหันกลับมามอง Fukuyama อีกครั้งว่าเขามีความคิดอย่างไร

สิ่งที่ Fukuyama ทำคือ โฆษณาขายหนังสือเล่มใหม่ที่เพิ่งวางขายพอดี (555) ชื่อเรื่องว่า Liberalism and Its Discontents (Amazon)

Fukuyama ออกตัวว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม (liberalism) มาโดยตลอด (ตั้งแต่ The End of History) และเขียนหนังสือเล่มนี้มาสักพักหนึ่งแล้ว (ต้นฉบับมาจากบทความชื่อเดียวกัน Liberalism and Its Discontents ที่เขาเขียนในปี 2020 ก่อนขยายมาเป็นหนังสือ)

พอมีสงครามรัสเซียเกิดขึ้น วิธีการอธิบายของ Fukuyama จึงเป็นการนำไอเดียในหนังสือมาอธิบายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั่นเอง

Fukuyama ออกมาพูดเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน ผ่านบทความใน Financial Times ชื่อ Putin’s war on the liberal order ลงวันที่ 4 มีนาคม 2022

เปิดมาย่อหน้าแรกเขาก็พูดถึงงานเก่าของตัวเองทันทีว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดของยุโรปยุคสันติภาพ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1991 หลังโซเวียตล่มสลาย หรือที่ผู้วิจารณ์เขาบอกว่าเป็น “the end of The End of History” ก็ว่าได้

The horrific Russian invasion of Ukraine on February 24 has been seen as a critical turning point in world history. Many have said that it definitively marks the end of the post-cold war era, a rollback of the “Europe whole and free” that we thought emerged after 1991, or indeed, the end of The End of History.

Fukuyama วิจารณ์ปูตินว่าไม่มีทางประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ เพราะคนยูเครนร่วมใจกันต่อต้าน ส่วนโลกเสรีก็ระดมความช่วยเหลือ ทั้งเรื่องอาวุธ และการปิดกั้นทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ต่อรัสเซีย

เสร็จแล้ว Fukuyama ก็โยงเข้าหนังสือเล่มใหม่ทันที โดยบอกว่าสงครามครั้งนี้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า สังคมโลกเสรีเจอการต่อต้านจากทุกทิศทาง ไม่ใช่แค่สงครามรอบนี้เท่านั้น แต่รวมถึงการต่อต้านจากส่วนอื่นๆ ของสังคมโลกเสรีเองด้วย

เขาย้อนกลับไปอธิบายแนวคิดของ liberalism ที่เริ่มก่อตัวในช่วงศตวรรษที่ 17 ว่า พื้นฐานของมันคือการเคารพความแตกต่างทางความคิดของปัจเจก ถึงแม้มีแนวคิดหรือความเชื่อไม่เหมือนกัน ก็ยังอยู่ร่วมสังคมกันได้

It recognises that people will not agree on the most important things — such as which religion to follow — but that they need to tolerate fellow citizens with views different from their own.

แนวคิดพื้นฐานของ liberalism มีทั้งเรื่องสิทธิในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ และซื้อขายเปลี่ยนมือได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ liberalism ยังเข้ากันได้ดีกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคเดียวกัน

It does this by respecting the equal rights and dignity of individuals, through a rule of law and constitutional government that checks and balances the powers of modern states. Among those rights are the rights to own property and to transact freely, which is why classical liberalism was strongly associated with high levels of economic growth and prosperity in the modern world. In addition, classical liberalism was typically associated with modern natural science, and the view that science could help us to understand and manipulate the external world to our own benefit.

ในบทความอีกชิ้นของ Financial Times ที่รีวิวหนังสือของ Fukuyama ขยายความเพิ่มว่า liberal (เสรีนิยม) กับ democracy (ประชาธิปไตย) เป็นคนละเรื่องกัน แม้มักไปด้วยกัน

เราอาจมี ประชาธิปไตยที่ไม่ค่อยเสรี (เช่น อินเดียยุคปัจจุบันของ Modi) หรือ เสรีที่ไม่ค่อยประชาธิปไตย (เช่น สิงคโปร์) ได้เช่นกัน

Fukuyama rightly reminds us that liberalism and democracy are distinct. There is illiberal democracy (Hungary under Viktor Orban, for example, or India as Narendra Modi would like it) as well as undemocratic liberalism (Bismarckian Germany, Singapore and Hong Kong now). Democracy is taken procedurally as a say for all in how those exercising state power are chosen and removed.

Fukuyama บอกว่า liberalism (ที่อยู่ตรงกลาง) ถูกโจมตีจากทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย

ฝ่ายขวา (อนุรักษ์นิยม) มักไม่ชอบความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สังคมเสรีโอบรับ เพราะอนุรักษ์นิยมมักต้องการสังคมที่คนนับถือศาสนาเดียวกัน เชื้อชาติเดียวกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนคืออินเดียยุค Modi ที่เชิดชูคุณค่าของฮินดูเหนือศาสนาอื่น

Many of those foundations are now under attack. Populist conservatives intensely resent the open and diverse culture that thrives in liberal societies, and they long for a time when everyone professed the same religion and shared the same ethnicity. The liberal India of Gandhi and Nehru is being turned into an intolerant Hindu state by Narendra Modi, India’s prime minister;

หรืออย่างอเมริกาเอง ก็เจอกระแส “ชาตินิยมผิวขาว” (white nationalism) ที่ปรากฏเด่นชัดจากพรรครีพับลิกันยุค Trump

meanwhile in the US, white nationalism is openly celebrated within parts of the Republican party. Populists chafe at the restrictions imposed by law and constitutions: Donald Trump refused to accept the verdict of the 2020 election, and a violent mob tried to overturn it directly by storming the Capitol.

ฝ่ายซ้ายเองก็ท้าทายแนวคิดของ liberalism เช่นกัน โดยฝ่ายหัวก้าวหน้า (progressive) มักมองว่าแนวทางของ liberalism นั้นช้าเกินไป และไม่ตอบโจทย์ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ (ทั้งทางชาติพันธุ์และเศรษฐกิจ)

มุมมองของฝ่ายซ้ายคือควรเชิดชู “ความยุติธรรมของสังคม” (social justice) เป็นหลัก เหนือวิธีคิดเรื่องเสรีภาพ

Many progressives feel that liberal politics, with its debate and consensus-building, is too slow and has grievously failed to address the economic and racial inequalities that have emerged as a result of globalisation. Many progressives have shown themselves willing to limit free speech and due process in the name of social justice.

ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา มีจุดร่วมกันคือต่อต้านวิทยาศาสตร์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (expertise ในที่นี้ก็หมายถึงการปกครองโดย technocrat)

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการต่อต้าน Anthony Fauci ตัวแทนของวิทยาศาสตร์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการกำหนดนโยบายยุค COVID โดยเฉพาะเรื่องการฉีดวัคซีน-หน้ากาก

Both the anti-liberal right and left join hands in their distrust of science and expertise. On the left, a line of thought stretches from 20th-century structuralism through postmodernism to contemporary critical theory that questions the authority of science.

This same distrust of the objectivity of science has now wandered over to the far right, where conservative identity increasingly revolves around scepticism towards vaccines, public health authorities and expertise more generally.

Fukuyama โยงเข้าเรื่องวิวัฒนาการของ liberalism ในอดีต ว่าแนวคิด classical liberalism แบบดั้งเดิม เริ่มวิวัฒนาการไปทางด้านอื่น เช่น

ในฝั่งขวา กลายร่างเป็นแนวคิด neoliberalism หรือการเชื่อมั่นในเศรษฐกิจแบบตลาดสุดขั้ว ที่นำโดย Milton Friedman และแนวคิดแบบ Chicago School

การที่ neoliberal ครอบงำความคิดของประเทศตะวันตกอยู่ช่วงหนึ่ง ทำให้รัฐบาลผ่อนคลายการกำกับดูแล (regulation) และสวัสดิการสังคม (welfare) ลง เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น และสะสมเรื้อรังมา 2 ชั่วอายุคน

the market was worshipped and the state increasingly demonised as the enemy of economic growth and individual freedom. Advanced democracies under the spell of neoliberal ideas began trimming back welfare states and regulation

Worship of efficiency led to the outsourcing of jobs and the destruction of working-class communities in rich countries, which laid the grounds for the rise of populism in the 2010s.

ในฝั่งซ้าย ก็ดันไปสุดอีกทางคือ เชิดชูคุณค่าส่วนบุคคล จนอาจเพิกเฉยคุณค่าของสังคมหรือชุมชนโดยรวม ฝ่ายซ้ายสุดขั้วกลายเป็นต้านรัฐ เชิดชู “ความหลากหลาย” ของบุคคลจนมีปัญหากับชุมชนแบบดั้งเดิม และเกิดการปะทะกันให้เห็นอยู่เรื่อยๆ

The left, by contrast, focused on individual choice and autonomy, even when this came at the expense of social norms and human community. This view undermined the authority of many traditional cultures and religious institutions.

Economic freedom evolved into an anti-state ideology, and personal autonomy evolved into a “woke” progressive worldview that celebrated diversity over a shared culture.

กลับมาที่ประเด็นรัสเซีย Fukuyama บอกว่าประเทศเผด็จการ (authoritarian) นั้นไม่ชอบแนวคิด liberalism เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะไม่ชอบความหลากหลาย แต่ชอบสังคมที่มีเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อเหมือนกัน ไม่มีแตกแถว เป็นจุดร่วมที่เหมือนกันของประเทศเผด็จการทั้งหลาย

A doctrine that deliberately lowers the sights of politics and enjoins tolerance of diverse views often fails to satisfy those who want strong community based on shared religious views, common ethnicity or thick cultural traditions.

Those of Russia, China, Syria, Venezuela, Iran and Nicaragua have little in common other than the fact that they dislike liberal democracy and want to maintain their own authoritarian power.

รัสเซียในยุคปูติน ถือเป็นหัวหอกที่ต่อต้านแนวคิด liberalism ผ่านการสนับสนุนอาวุธ ให้กับประเทศต่างๆ ตามชื่อข้างต้น เพื่อต่อต้านโลกตะวันตก

ปูตินยังถือเป็น “ไอดอล” ของผู้นำฝ่ายขวาทั่วโลก ที่ชัดเจนที่สุดคือ Trump ที่ชื่นชมปูตินอย่างออกนอกหน้า ส่วนผู้นำพรรคฝ่ายขวาในยุโรปหรือบราซิลก็สนับสนุนแนวทางแบบปูติน ผู้นำเข้มแข็งที่ปกป้องรักษาคุณค่าทางสังคมแบบดั้งเดิม

Rightwing populists express admiration for Putin, beginning with former US president Trump, who called Putin a “genius” and “very savvy” after his invasion of Ukraine. Populists including Marine Le Pen and Eric Zemmour in France, Italy’s Matteo Salvini, Brazil’s Jair Bolsonaro, leaders of the AfD in Germany and Hungary’s Viktor Orban have all shown sympathy for Putin, a “strong” leader who acts decisively to defend traditional values without regard for petty things such as laws and constitutions.

ประเด็นที่น่าสนใจคือ โลกเสรีมีความเคารพความหลากหลาย ความเท่าเทียมทางเพศ อย่างมาก ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดฝ่ายขวาที่เชิดชูความเข้มแข็งของผู้ชาย (masculine strength) ซึ่งไม่มีใครโดดเด่นเท่ากับปูตินโชว์กล้ามอีกแล้ว

The liberal world has brought about huge increases in gender equality and tolerance for gay and lesbian people over the past two generations, which has provoked some on the right to worship masculine strength and aggression as virtues in themselves.

Fukuyama ชี้ว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของชาวยูเครน คือการแสดงออกที่ชัดเจนที่สุดว่าการปกป้องสังคมเสรีเป็นอย่างไร และถ้าโลกเสรีแพ้จะเกิดอะไรขึ้น

เขาบอกว่า จิตวิญญาณของปี 1989 (การเคลื่อนไหวเพื่อรวมเยอรมนี, การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของประเทศในเครือโซเวียต ก่อนโซเวียตล่มสลาย) ยังไม่จางหายไป คนยูเครนแสดงให้เห็นว่ามันยังอยู่ และจะช่วยปลุกจิตวิญญาณนี้ของคนทั่วโลกให้ฟื้นคืนมา

หมายเหตุ: Fukuyama เคยออกมาให้สัมภาษณ์ตอนปี 2019 เนื่องในโอกาสครบ 30 ปีของปี 1989

หลังจากอ่าน Fukuyama รอบนี้แล้ว คิดว่าแกอธิบายย้อนหลังกลับเรื่องวิวัฒนาการของเสรีนิยมในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาได้ดี และออกตัวว่าเป็น centrist ในเชิงการเมืองชัดเจน (ไม่ซ้าย ไม่ขวา) แต่โลกอนาคตหลังสงครามรัสเซียจะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่ค่อยเห็นภาพมากนัก (ซึ่งอันนี้ก็ยังไม่มีใครเห็นภาพชัดเจนอีกเหมือนกัน)