in Thoughts

The Class of 2020

ภาพประกอบจาก Pixabay

เคยเขียนเรื่องคนรุ่นใหม่กับภาวะ “ตกงาน” จากวิกฤตเศรษฐกิจ after COVID มาแล้วครั้งหนึ่งในตอน Lost Generation

มาเจอบทความใน Financial Times พูดเรื่องเดียวกัน (บทความนี้อ่านฟรี)

อีกบทความหนึ่ง ต้องจ่ายค่าสมัครสมาชิกเพื่ออ่าน: The class of 2020 need help to start their careers  คัดมาเฉพาะประโยคสำคัญ

The class of 2020, however, are likely to find themselves taking time out not by choice, but thanks to an economic crisis. Students leaving university or school will emerge into a labour market already saturated with unemployed workers, many of whom will have decades more experience.

While the coronavirus is much more deadly to the elderly, it is the young who are bearing the brunt of the economic damage.

Recessions always hit the young the hardest, and have long-lasting effects on wages and career progress.

ทางออกก็ไม่ชัดเจนนักเพราะตลาดแรงงานหดตัวจริงๆ มันมืดมนไปทุกหนทาง

ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ ให้นักศึกษา (ซึ่งก็คงไม่ใช่ทุกคน) เรียนต่อกันไปอีก 1 ปี รอให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น ในทางปฏิบัติอาจอัพเกรดตัวปริญญาหรืออะไรก็ว่าไปได้ เช่น เรียนต่ออีก 1-1.5 ปีได้ ป.โท ทันที (แต่คำถามคือหน่วยงานภาคการศึกษาจะปรับตัวได้เร็วแค่ไหน?)

อีกเรื่องที่ต้องทำไปควบคู่กันคือ ต้องหามาตรการช่วยให้นักศึกษาเหล่านี้ “อยู่ได้” ในช่วงที่เรียนต่อด้วย เช่น ฟรีค่าเทอมไปเลย หรือมีทุนการศึกษาสนับสนุนให้เยอะขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งก็ต้องใช้กลไกลของภาครัฐร่วมกับเงินอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ เข้ามาทำให้เป็นจริง

อีกประเด็นที่เกี่ยวพันกัน เห็นมาจากบทความของ The Potential ไปสัมภาษณ์นักศึกษาหลายคนว่าคิดอย่างไรกับอนาคตเบื้องหน้า

การประกาศย้ายการเรียนการสอนของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นระบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด19 ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้นักศึกษาต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน แม้ตอนแรกจะมองว่าเป็นข้อดีที่พวกเขาจะไม่ต้องเสียเวลาตื่นเช้าและแต่งตัวเดินทางไปมหาวิทยาลัย แต่ในตอนนี้การเว้นระยะห่างทางสังคมส่งผลต่อการใช้ชีวิตและจิตใจของชีวิตนักศึกษาคิดถึงบ้าน แต่กลับไม่ได้, ช่วงเปลี่ยนจากนักศึกษากลายเป็นคนว่างงาน, ในเวลาที่ไม่สามารถออกไปไหนได้และบ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย และเสียโอกาสค้นหาตัวเอง 4 ความรู้สึกของนักศึกษาในช่วงสถานการณ์วิกฤตนี้ การประกาศย้ายการเรียนการสอนของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นระบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด19 ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้นักศึกษาต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน แม้ตอนแรกจะมองว่าเป็นข้อดีที่พวกเขาจะไม่ต้องเสียเวลาตื่นเช้าและแต่งตัวเดินทางไปมหาวิทยาลัย แต่ในตอนนี้การเว้นระยะห่างทางสังคมส่งผลต่อการใช้ชีวิตและจิตใจของชีวิตนักศึกษา คิดถึงบ้าน กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง เส้นบาง ๆ ระหว่างนักศึกษากับคนว่างงานเมื่อบ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย  แต่ในเวลาแบบนี้จะออกไปไหนได้เสียโอกาสค้นหาตัวเอง ความคิดเหล่านี้เป็นความรู้สึกของ 4 นักศึกษา ที่ผู้เขียนรู้จักและได้พูดคุยต่อสถานการณ์ในตอนนี้ เพราะอนาคตของพวกเขาขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนและไม่สามารถวางแผนได้ รวมไปถึงสภาพจิตใจที่เหมือนขาดเลือดที่จะสูบฉีดความสุขที่จะทำให้พวกเขากลับมาใช้ชีวิตนักศึกษาได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง  เด็กต่างจังหวัดที่ต้องมาเรียนในกรุงเทพฯ จะมีโอกาสกลับบ้านเมื่อถึงเทศกาลหรือธุระสำคัญเท่านั้น แต่ช่วงเวลาที่พวกเขารอคอยมากที่สุดก็คือช่วงปิดเทอมของแต่ละภาคเรียน ถึงจะเป็นเวลาไม่นาน แต่การกลับบ้านคือการชาร์จพลังให้กับตัวเองที่ล้อมรอบไปด้วยคนที่รัก ‘ปอ’ คือหนึ่งในเด็กต่างจังหวัดที่ต้องมาเรียนในกรุงเทพฯ และไม่ได้กลับบ้านมานานเกือบ 5 เดือน

The Potential The Potential

ประเด็นที่ติดใจคือเรื่องเสียดายโอกาส

เป็นเวลา 3-4 เดือนที่ทำอะไรไม่ได้เลย รู้สึกเสียดายโอกาส มันควรเป็นปิดเทอมที่ได้ทำอะไรมากกว่าการอยู่บ้าน เดิมแพลนไว้ว่าปิดเทอมจะเรียนขับรถ เรียนภาษา แล้วก็ฝึกงาน เพราะตอนนี้เรียนมาก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร คิดว่าอย่างน้อยการฝึกงานจะทำให้เราได้ลองทำงานจริงๆ ทำสิ่งใหม่ๆ อาจจะทำให้เรารู้ว่าตัวเราทำอะไรได้และเหมาะสมกับอะไร และได้ประสบการณ์เพิ่มเติมให้กับตัวเราเอง

อันนี้เป็นโจทย์ที่ดีว่า เรามีพลังนักศึกษาจบใหม่อยู่เป็นหลักแสนคน ที่ไม่สามารถใช้ศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ เราจะใช้ประโยชน์จากพลังของคนกลุ่มนี้อย่างไร เป็นหน้าที่รัฐที่ต้อง “สร้างงาน” ที่ดึงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด

ซึ่งจะสร้างอย่างไร ก็เป็นโจทย์ที่ต้องคิดกันต่อไป