ช่วงหลังๆ เราเห็นการพูดถึง “บทบาทผู้นำ” ในโลกยุคใหม่ที่ค่อนข้างเอนเอียงไปในโทน “เข้าถึง-เข้าใจ” มากขึ้นมาก
แต่ถ้าย้อนกลับมาขุดให้ลึกๆ ว่าผู้นำที่ดีต้องเป็นอย่างไร คำตอบคงเป็นเรื่องสร้างผลลัพธ์ (delivery result) เป็นอันดับหนึ่งเสมอ ส่วนวิธีการได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้นจะเป็นอย่างไร จะโหดหรือจะใจดี ก็ขึ้นกับสไตล์ของแต่ละคน
วันนี้ได้อ่านเรื่อง Thomas Kurian ซึ่งเป็นซีอีโอของ Google Cloud แล้วค่อนข้างกระตุกต่อมคิดไม่น้อย เลยมาจดไว้
เรื่องมีอยู่ว่า Google Cloud เป็นบริการคลาวด์ของกูเกิลที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในช่วงแรกๆ แม้ว่ากูเกิลเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีคลาวด์หลายอย่าง แต่ทำใช้เองเป็นหลัก กว่าจะคิดนำมาขายให้คนอื่นใช้งาน ก็โดน AWS และ Azure แซงไปไกลมากแล้ว
และด้วยวัฒนธรรมแบบกูเกิลที่วิศวกรเป็นใหญ่ งานวิจัยเป็นเทพ การทดลองคือสิ่งที่ควรทำ แล้วต้องมาขายบริการที่มันธุรกิ๊จธุรกิจมากๆ ในตลาด enterprise มันช่างผิดฝาผิดตัวเหลือเกิน ทำให้ Google Cloud ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในตลาดนี้ ที่มีวิธีคิดต่างกับกูเกิลอย่างสุดขั้ว
ในปี 2018 กูเกิลจึงแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนตัวซีอีโอของ Google Cloud มาเป็น Thomas Kurian ซึ่งเป็นดีลที่ช็อควงการไม่น้อย
เหตุเพราะ Thomas Kurian แกเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของ Oracle ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรแตกต่างกับกูเกิลแบบสุดขั้ว (แถมมีเรื่องฟ้องกันอีกต่างหาก) ต้องบอกว่ากูเกิลเป็นยังไง Oracle ก็ตรงกันข้ามกันเลยก็ว่าได้ ภาพลักษณ์ภายนอกของ Oracle คือเป็นบริษัทที่ธุรกิจมากๆ ไม่สนุกแบบกูเกิล ทุกอย่างคือธุรกิจและเงินเท่านั้น
When Google hired him in 2018, it came as a shock because he was the least “Google-y” person to be a leader at the company
ช่วงปีแรกๆ ของ Kurian เข้ามาทำในสิ่งที่กูเกิลขาดมาก คืองานหลังบ้านทั้งหลายที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิค ได้แก่ เซลส์ บริการ ซัพพอร์ต ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าองค์กรต้องการ แต่กูเกิลไม่ถนัดเอาซะเลย
หลังจากนั้น Kurian ก็เข้ามาจัดทัพ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ดึงคนนอกเข้ามาอีกพอสมควร ที่ดังๆ หน่อยคือ Javier Soltero หัวหน้าทีม Google Workspace ที่ไปดึงข้ามมาจากทีม Microsoft Office ซะเลย รู้ความต้องการในตลาดองค์กรเป็นอย่างดี
ข่าวล่าสุดตามที่ CNBC รายงานก็คือ Kurian จัดทัพ Google Cloud อีกรอบ โดยโยกย้าย “พนักงานระดับสูงที่อยู่กับกูเกิลมานาน” แต่อาจไม่ตอบโจทย์การทำงานของ Google Cloud ในยุคปัจจุบัน
CEO Thomas Kurian sidelined multiple tenured company veterans — one way he’s is living up to the company’s big expectations when it hired him two years ago.
the recent reorganization and steady gains show why Kurian, an initially unlikely candidate, is doing what Google had hoped.
In the latest re-org, Kurian sidelined several veterans who otherwise may have stayed on board thanks to their tenure. There’s a joke among Google employees that longtime middle managers and executives can sit comfortably in their positions for as long as they want despite changing business needs, thanks to the cultural bureaucracy. But in this latest move, Kurian showed he isn’t afraid to bench veterans and give others more responsibility.
ตรงนี้น่าจะแสดงคุณค่าของ Kurian ได้เป็นอย่างดีว่า ความคาดหวังที่มีต่อผู้บริหารระดับสูงแบบเขาคือ ตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัทให้ได้ และถ้ามีใครที่ขัดขวางเส้นทางนั้น เขาก็ย่อมต้องกล้าที่จะ “ฟัน” เอาคนเหล่านั้นออกไป แม้ในอดีตเคยมีความดีความชอบอย่างมากก็ตาม แต่ถ้าอยู่ไปนานๆ จนเฉื่อย ก็ต้องเขย่าออก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
ในอีกมุมนึงก็เป็นสิ่งสะท้อนตัวเองเหมือนกันไม่ให้ซ้ำรอยเป็นเหมือนคนเหล่านั้น ที่อยู่ไปนานๆ และอาจหลงยึดติดกับความสำเร็จในอดีตของตัวเอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ถ้าเผลอตัวเผลอใจไปสักหน่อย
ผลการทำงานของ Kurian ก็ออกมาดี เป็นที่พอใจของผู้บริหารที่อยู่เหนือกว่าเขา
While Google Cloud still isn’t profitable, Kurian has more than doubled revenue and slashed losses from when he first joined the company, earning praise from Alphabet CEO Sundar Pichai, CFO Ruth Porat and investors.
กรณีของ Kurian เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ถ้าต้องเลือกระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับผลลัพธ์ ท้ายที่สุดแล้วเราต้องคุยกันที่ผลลัพธ์ก่อน แม้เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรโดดเด่นระดับกูเกิล ก็หนีไม่พ้นความจริงข้อนี้
Kurian had a reputation for a no-frills, at-times militant leadership style at Oracle.
But culture fit is not why Google hired him. They knew his reputation.
Whether or not Kurian’s process works in the long run, growth is what Google wants and growth is what what it’s getting — for now, at least.
หมายเหตุ: Thomas Kurian มีฝาแฝดเป็นซีอีโอของบริษัท NetApp ชื่อ George Kurian และเคยมาขึ้นเวทีเดียวกัน เลยเป็นเรื่องสนุกๆ ที่สองซีอีโอหน้าตาเหมือนกันเป๊ะ