in Politics, Thoughts

Working Mothers

ยังอยู่กับเรื่อง workforce เผอิญไปเห็นบทสัมภาษณ์อันนี้ในเว็บ 101

ในฐานะที่มีลูกแล้ว อ่านแล้วก็อินพอสมควรในหลายแง่มุม แต่อยากเขียนถึงเฉพาะในประเด็นเรื่อง workforce ขาดแคลน

เท่าที่มีเพื่อนรุ่นใกล้เคียงกันหรือคนรู้จักจำนวนไม่น้อย ก็เจอปัญหาคล้ายๆ กันคือพอมีลูกแล้ว ฝ่ายหญิงต้องลาออกมาเพื่อเลี้ยงดูลูกแบบ full-time เพราะไม่มีทางเลือกอื่นในชีวิตให้เลือกแล้ว (ความเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้ตัวช่วยในการเลี้ยงลูกจากญาติพี่น้องลดน้อยลงมาก อีกทั้งการจ้างพี่เลี้ยงก็ไม่ใช่ option ที่เป็นไปได้ในหลายครอบครัว ด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป)

ผลคือ career ของฝ่ายผู้หญิงหายไปด้วย เป็นผลเสียต่อตัวฝ่ายหญิงเอง (ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีความภูมิใจ-คุณค่าในตัวเอง) เป็นผลเสียต่อนายจ้าง (ขาดแรงงานคนที่มีฝีมือ รู้งาน) และเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย

เคยมีเคสหนึ่งของเพื่อนที่รู้จักกัน นายจ้างไม่อยากให้ออกและพยายามทำทุกทาง เจ้าตัวก็ไม่อยากออก แต่สุดท้ายก็ไม่มีทางเลือกอื่นเพราะมันไม่มีคนดูแลลูกจริงๆ

ในบทความเสนอประเด็นปัญหาไว้ 3 เรื่องใหญ่ๆ

  • โลกการทำงานของไทย ยังไม่เอื้อให้เกิด “พ่อลาเลี้ยงลูก” มากนัก ทั้งในแง่ระเบียบขององค์กร (written rule) และวัฒนธรรมขององค์กร (การกดดันแบบ peer)
  • โลกการทำงานของไทย ไม่มี career path ให้แม่ที่ลาหยุดไปเลี้ยงลูกสักพักใหญ่ๆ (3-4 ปี) กลับมาทำงานได้มากนัก หรือถ้ากลับได้ก็จะเจอปัญหายิบย่อยต่างๆ เช่น เงินเดือนลด etc. ทำให้แม่เหล่านี้ไม่มีทางออกสักเท่าไร ยกเว้นการไปขายของออนไลน์ (ซึ่งก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป หรือเหมาะสำหรับทุกคน)
  • รัฐไม่ได้มีตัวช่วยด้านสวัสดิการสังคมในการเลี้ยงลูกให้มากนัก เช่น เนิร์สเซอรี่ โรงเรียน ที่มีคุณภาพ ใกล้บ้าน และ affordable

ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เคส unique ของประเทศไทยแน่นอน และประเทศอื่นๆ ก็มีโซลูชันเรื่องนี้ที่ก้าวหน้ากว่าเรา และสามารถใช้เป็นตัวอย่างได้เกือบทุกกรณีแล้ว (มี startup จำนวนไม่น้อยพยายามแก้ปัญหาพวกนี้) แถมจริงๆ วิธีการแก้ปัญหาก็ตรงตัว

  • สนับสนุนให้องค์กรมีวันลาแบบ “พ่อลาเลี้ยงลูกมากขึ้น” ผ่านกลไกต่างๆ เช่น ภาครัฐ (แก้ระเบียบของภาครัฐ) ภาคเอกชน (รัฐให้ incentive กับนายจ้างในการให้วันลา)
  • ปรับระบบ recruitment สำหรับกลุ่มแม่กลับเข้ามาทำงานใหม่อีกครั้ง ถ้าเอาแบบ realistic ก็อาจต้องแยกตาม skillset หรือ position ที่ขาดแคลนจริงๆ และหา incentive ให้นายจ้างรับกลับมาทำงานให้ ช่วงหลังบริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติสายตะวันตก พูดเรื่อง diversity กันมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะทำให้เรื่องนี้ยอมรับได้ง่ายขึ้นด้วย
  • รัฐส่งเสริมการเปิดเนิร์สเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาล ให้กระจายตัวมากขึ้น หรือถ้าเปิดไม่ไหวจริงๆ ก็ต้อง subsidize ภาคเอกชนให้

ปัญหาเหล่านี้คิดว่าเป็นเรื่องแก้ได้ไม่ยาก (ถ้าตั้งใจจะแก้) แต่ถ้าไม่เริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้ มันจะส่งผลสะเทือนต่อโครงสร้างประชากรของไทยในระยะยาว ซึ่งจะเป็นเรื่องที่แก้ยากมากในอนาคต

ภาพประกอบ: Pexels