in Business, Games

Video Game Industry Consolidation

เคยเขียนเรื่องการควบรวมของอุตสาหกรรมเกม และแนวโน้มของอุตสาหกรรมเกมไปแล้วหลายครั้ง

มาเจอบทความ The Great Consolidation of the Video Game Industry รวมข้อมูลไว้ชัดเจนดี เห็นภาพ

บทความพูดถึง Big 4 ของวงการเกมที่เป็นตัวจุดชนวนการควบรวมครั้งสำคัญๆ และทำให้บริษัทใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทรงอิทธิพลขึ้นเรื่อยๆ

  • Microsoft / Xbox Game Studios (รายชื่อ) ก่อนหน้านี้กับ Bethesda และดีลล่าสุด Activision Blizzard ที่ยังไม่เสร็จสิ้น
  • Sony / PlayStation Studios (รายชื่อ) ที่ต้องไล่ซื้อตามไมโครซอฟท์เรื่อยๆ ล่าสุดคือซื้อ Bungie
  • Embracer Group (รายชื่อ) ยักษ์รายใหม่จากสวีเดน ที่ไล่กวาดซื้อเยอะมาก เร็วมาก แรงมาก
  • Tencent (รายชื่อ) บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่วัดจากรายได้ฝั่งเกม ผู้เชี่ยวชาญ mobile / free-to-play / microtransaction ที่สุดในโลก และไล่เก็บหุ้นของสตูดิโอเกมฝรั่งมายาวนาน

ดีลใหญ่อื่นๆ นอกจาก Big 4 แล้วยังมี

ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในช่วงนี้คงหนีไม่พ้น Embracer Group ซึ่งซื้อกิจการบ่อยมาก (ย้อนอ่านได้จาก แท็ก Embracer Group ใน Blognone ซึ่งไม่ได้เขียนทุกข่าว เพราะเยอะมาก) ในบทความก็เล่ารายละเอียดการซื้อกิจการของ Embracer Group ในเชิงลึกไว้อย่างน่าสนใจ (ยังกับหนังมาเฟีย)

At dinner one evening with his boss, Embracer CEO Lars Wingefors, Karch asked why they hadn’t bought the Metro developer. “Oh, they don’t want to sell,” he was told. Karch’s bullish response: “It’s on. … I’m gonna do it. I’m gonna get those guys to sell.”

มุมมองการซื้อกิจการของ Embracer ในฐานะเครือบริษัทที่มีเกมเยอะ กระจายความเสี่ยงธุรกิจ ก็น่าสนใจอีก

“If you can make one game, you have a big business risk,” Wingefors told the Financial Times. “But if you make 200 games, like we do, the business risk is less.”

ในบทความยังมีมุมมองของนักวิเคราะห์ต่อแนวทางการซื้อกิจการของ Microsoft vs Sony ที่แตกต่างกัน

“Microsoft is being expansionist … [and] trying to build out an irresistible subscription service,” he explains over Zoom, referring to Game Pass. Sony, by contrast, is playing things slightly differently. Until the Bungie deal, its acquisition strategy had been “protectionist.”

บทความยังมีมุมมองของผู้ถูกซื้อกิจการเอง (บริษัท New World Interactive ที่โดน Embracer ซื้อ) ที่รู้ตัวดีว่าต้องการขายกิจการเพื่อปลดภาระทางการเงิน พอขายเรียบร้อยแล้วก็ปลดเปลื้องทางใจได้มาก

He describes it as a “phenomenal relief.” The stress involved in keeping the company solvent, of ensuring that a minimum of six months’ worth of cash was in the bank at all times, vanished overnight.