in Business, Economics

US Hi-tech vs Europe Hi-touch

Rushir Shama ประธาน Rockefeller International น่าจะเป็นคอลัมนิสต์ที่โดนใจผมที่สุดในช่วงหลังๆ มานี้ เหตุเพราะมีมุมมองด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจที่แหลมคมมาก

เคยเขียนถึงคอลัมน์ของเขาไปแล้ว 2 รอบ The Age of Tight Money กับ The Long Grind

ล่าสุดได้อ่านคอลัมน์ของเขาใน Financial Times คือ Europe’s new success stories are built on high luxury, not high tech ฉายภาพที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐ vs เศรษฐกิจยุโรปได้อย่างน่าสนใจมาก

อธิบายง่ายๆ คือ

  • เศรษฐกิจสหรัฐ = hi-tech พวกสินค้าเทคโนโลยีทั้งหลาย เอ่ยชื่อบริษัทก็พวก Apple, Google, Microsoft, Meta, Amazon หุ้นบริษัทเหล่านี้มีส่วนแบ่งผลตอบแทนในตลาดหุ้นสหรัฐถึง 65%
  • เศรษฐกิจยุโรป = hi-touch สินค้าหรูหราต่างๆ เอ่ยชื่อบริษัทได้แก่ LVMH, L’Oréal, Dior,  Hermes, Estée Lauder, Ferrari, Kering (บริษัทแม่ของ Balenciaga, Gucci) สัดส่วนผลตอบแทนหุ้นยุโรปรวมกัน 30%

ตลาดของหรูเติบโตขึ้นอย่างมากในรอบ 10 ปีให้หลัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขยายตัวของกลุ่มคนรวยใหม่ๆ โดยยุโรปเป็นเจ้าตลาดสินค้าหรูหราเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วนรายได้ราว 2/3 ของตลาดทั้งหมด

บริษัทใหญ่ๆ Top 10 ในตลาดหุ้นยุโรป เดิมทีเป็นพวกธนาคาร พลังงาน อุตสาหกรรม ตอนนี้กลายเป็นบริษัทสินค้าหรูหราไปแทนซะเยอะแล้ว (จากอันดับในเว็บนี้ Top 10 มีสินค้าหรู 4 ราย LVMH, L’Oréal, Dior,  Hermes + ไอที 4 รายคือ ASML, Accenture, SAP, Prosus + ยา 1 ราย Novo Nordisk + พลังงาน 1 ราย TotalEnergies) ที่น่าสนใจคือ บริษัทสินค้าหรูมีอัตรากำไรสูงมาก อาจสูงถึง 25% ของรายได้ด้วยซ้ำ

ประเด็นคือ สินค้าหรูไม่ใช่ของใหม่ในยุโรป แต่สืบทอดงานฝีมือพวก craftmanship กันมาหลายร้อยปีแล้ว ถ้าเรามองมันด้วยเลนส์ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่สนใจเรื่องผลิตภาพ (productivity) สินค้าหรูเหล่านี้ไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก

If it’s not clear how much smartphones boost productivity growth, it is safe to say that French perfume and Italian handbags contribute even less.

ความเหมือนของสินค้าไฮเทคในสหรัฐ และสินค้าหรูในยุโรป คือมันเป็นเป้าหมายของการประท้วง (ที่มองเรื่องความเหลื่อมล้ำ) เหมือนกันซะอย่างนั้น

While tech tycoons are subjects of controversy in the US, luxury tycoons are targets of street protests in France.

ในแง่ความกระจุกตัวของมูลค่าเศรษฐกิจ ก็เป็นเหมือนกันคือบริษัทใหญ่ๆ ไม่กี่ราย กวาดรายได้ไปเกือบทั้งหมด แถมบริษัทสินค้าหรูตอนนี้เป็นสัญชาติฝรั่งเศสไปหมดแล้วจากการไล่ซื้อกิจการแบรนด์ต่างๆ

In luxury as in tech, power is concentrating at the very top. The top European brands now account for a third of global sales, up from a quarter in 2010. Europe’s top four luxury companies, by market cap, are all French: LVMH, L’Oréal, Hermès, and Christian Dior (which is owned by LVMH).

ต้นแบบหรือโรลโมเดลของบริษัทสินค้าหรูที่กว้านซื้อแบรนด์อื่นๆ (ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์อิตาลี) ก็ไม่ใช่ใครอื่นคือ LVMH ที่นำโดย Bernard Arnault นั่นเอง

a culture of corporate raiding that began with Bernard Arnault. After gaining control of LVMH in 1989, he set out to build the first house of luxury brands through serial acquisitions. Rivals followed his lead. Increasingly, the global luxury industry is based on goods that are still made by small Italian firms but sold by big French conglomerates. Gucci, Bulgari, Fendi — all are Italian brands now under French owners.

ตอนนี้บริษัทสินค้าหรูหราจึงกลายเป็น “แชมเปี้ยน” ของระบบทุนนิยมยุโรปไปแล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาทั้งเรื่องการผูกขาดตลาดของบริษัทไม่กี่ราย รวมถึงเรื่องใหญ่กว่านั้นว่า ตกลงแล้วยุโรปจะอยู่แค่นี้จริงๆ หรือ?

ปิดท้ายด้วยโฆษณาของ LVMH ที่เป็นสปอนเซอร์โอลิมปิก Paris 2024 เพิ่งออกมาพอดี