in Politics

สองประเทศ หนึ่งแผ่นดิน

ผมเคยเขียนเรื่องความแตกแยกทางการเมืองอย่างหนักของอเมริกาไปแล้วครั้งหนึ่ง (Divided Nation) เมื่อครั้งเลือกตั้งประธานาธิบดีช่วงปลายปี 2020

ล่าสุดประเด็นนี้วนกลับมาอีกครั้งในช่วงกลางปี 2022 หลังศาลสูงสหรัฐกลับคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่กำหนดแนวทางเรื่องการทำแท้งของอเมริกา ความแตกแยกทางความคิด (pro-choice v pro-life) ที่ลามไปจนถึงคุณค่า (value) ของชุมชนที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว จึงกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง

เนื่องจากเจอบทความใน The Atlantic ที่สรุปเรื่องนี้ได้ดีมาก จึงอยากมาบันทึกไว้

บทความนี้อ้างมุมมองของ Michael Podhorzer นักวิเคราะห์การเมืองชื่อดังคนหนึ่ง (ซึ่งแน่นอนว่าแนวคิดค่อนข้าง progressive) ที่อธิบายว่า จริงๆ แล้ว อเมริกาเป็น 2 ประเทศที่แตกต่างกันสุดขั้ว แต่ตั้งอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน

Podhorzer recently laid out a detailed case for thinking of the two blocs as fundamentally different nations uneasily sharing the same geographic space.

Podhorzer บอกว่าอเมริกาไม่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวมาก่อนตั้งแต่แรก จริงๆ แล้ว สหรัฐอเมริกาคือ การรวมกันของสองชาติ คือ ชาติสีน้ำเงิน (Blue Nation) และชาติสีแดง (Red Nation) ในความหมายทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ (หมายถึงสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้)

“When we think about the United States, we make the essential error of imagining it as a single nation, a marbled mix of Red and Blue people,”

“But in truth, we have never been one nation. We are more like a federated republic of two nations: Blue Nation and Red Nation. This is not a metaphor; it is a geographic and historical reality.”

เขายังอธิบายความเคลื่อนไหวของฝ่ายขวา โดยใช้คำว่า MAGA movement ซึ่งเป็นความพยายามผลักดันในเชิงสถาบัน จากคนหลายกลุ่ม เช่น สื่อ โบสถ์ นักธุรกิจ นักการเมือง กลุ่มติดอาวุธ ฯลฯ ที่ยึดถือในคุณค่าแบบเดียวกัน เพื่อผลักดันให้อเมริกาเดินหน้าไปตามคุณค่าที่คนเหล่านี้ยึดถือ

It is a multipronged, fundamentally antidemocratic movement that has built a solidifying base of institutional support through conservative media networks, evangelical churches, wealthy Republican donors, GOP elected officials, paramilitary white-nationalist groups, and a mass public following.

And it is determined to impose its policy and social vision on the entire country—with or without majority support.

หลายคนอาจมองว่าความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นโดย Trump แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะมันมีความเคลื่อนไหวนี้อยู่ก่อนแล้ว Trump แค่มองเห็นมันและขี่กระแสของมันขึ้นเป็นประธานาธิบดี ทำให้กระแสชัดเจนและจับต้องได้มากขึ้น แต่ถามว่าไม่มี Trump แล้วจะเป็นอย่างไร คำตอบคือกระแสนี้มันก็เดินหน้าต่อของมันได้เองอยู่ดี

“The structural attacks on our institutions that paved the way for Trump’s candidacy will continue to progress,” Podhorzer argues, “with or without him at the helm.”

แนวทางของความเคลื่อนไหวนี้คือ ใช้ช่องทางการเมืองหลายรูปแบบ ผลักดันให้อเมริกามุ่งหน้าไป ทั้งการเมืองระดับรัฐ ระดับชาติ หรือแม้แต่ระดับศาลสูง ดังเช่นกรณีล่าสุดเรื่องทำแท้ง

What’s becoming clearer over time is that the Trump-era GOP is hoping to use its electoral dominance of the red states, the small-state bias in the Electoral College and the Senate, and the GOP-appointed majority on the Supreme Court to impose its economic and social model on the entire nation—with or without majority public support.

ที่น่าสนใจคือ Podhorzer ได้แยกแยะกำลังของแต่ละฝ่ายด้วย หากนับเป็นรัฐ เรามีรัฐแดง 25 รัฐ, รัฐน้ำเงิน 17 รัฐ และรัฐม่วง (ไม่มีฝ่ายไหนชนะขาด) อีก 8 รัฐ

  • หากเทียบด้วยจำนวนเสียงโหวต ฝ่ายรัฐแดงมีจำนวนคนโหวตเยอะกว่า (45% vs 39%)
  • หากเทียบพลังเศรษฐกิจ (GDP) ฝ่ายรัฐน้ำเงินสร้าง GDP มากกว่า หรืออธิบายง่ายๆ ว่ารวยกว่า (40% vs 46%)
    • หากเราเรียงลำดับประเทศตามขนาดเศรษฐกิจ จะได้ว่า 1) จีน 2) รัฐน้ำเงิน 3) รัฐแดง

การแตกแยกทางความคิดแบบนี้ ส่งผลให้ “รัฐม่วง” ประมาณ 8-10 รัฐ (แล้วแต่วิธีนับ) กลายเป็นจุดตัดสินว่าอเมริกา “ทั้งประเทศ” ควรมุ่งไปในทางใด ตรงนี้ใครที่ติดตามการเมืองอเมริกาคงพอทราบดีอยู่แล้วว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้นก็ตัดสินกันที่รัฐ swing states เหล่านี้ทั้งนั้น

The hardening difference between red and blue, Podhorzer maintains, “empowers” the 10 purple states (if you include Arizona and Georgia) to “decide which of the two superpower nations’ values, Blue or Red, will prevail” in presidential and congressional elections.

Podhorzer ยังคำนวณว่า หากเราย้อนดูการเลือกตั้งประธานาธิบดี 3 ครั้งหลังสุด ความแตกต่างของเสียงโหวตในรัฐม่วง มีน้อยกว่า 2% (percentage-point) ทุกครั้งไป แปลว่าอเมริกาพลิกไปพลิกมาได้เสมอ

ในบทความยังอธิบายเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐน้ำเงินกับรัฐแดง ซึ่งรัฐแดงแย่กว่าเสมอเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ในขณะที่รัฐน้ำเงินปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจไฮเทค รัฐแดงที่อิงพลังภาคการผลิต การเกษตร พลังงาน กลับสูญเสียธุรกิจเหล่านี้ไป

But the big story remains that blue states are benefiting more as the nation transitions into a high-productivity, 21st-century information economy, and red states (apart from their major metropolitan centers participating in that economy) are suffering as the powerhouse industries of the 20th century—agriculture, manufacturing, and fossil-fuel extraction—decline.

หากเราดูตัวเลข GDP per capita ของรัฐแดงเทียบกับรัฐน้ำเงิน Podhorzer พบว่ารัฐน้ำเงินรวยกว่า 25% และถ้าดูสถิติอื่นๆ เช่น ความยากจน การเสียชีวิตจากปืน อัตราการฉีดวัคซีนโควิด ค่าเฉลี่ยอายุ ฯลฯ รัฐแดงล้วนแย่กว่าทั้งสิ้น

The gross domestic product per person and the median household income are now both more than 25 percent greater in the blue section than in the red, according to Podhorzer’s calculations. The share of kids in poverty is more than 20 percent lower in the blue section than red, and the share of working households with incomes below the poverty line is nearly 40 percent lower. Health outcomes are diverging too. Gun deaths are almost twice as high per capita in the red places as in the blue, as is the maternal mortality rate. The COVID vaccination rate is about 20 percent higher in the blue section, and the per capita COVID death rate is about 20 percent higher in the red. Life expectancy is nearly three years greater in the blue (80.1 years) than the red (77.4) states.

Ronald Brownstein ผู้เขียนบทความนี้ของ The Atlantic แสดงความเห็นว่า ความแตกแยกของอเมริกา จะนำไปสู่ 2 โมเดลที่เป็นไปได้ โดยอิงจากเคสในอดีต นั่นคือ

  1. โมเดลยุคแบ่งแยกสีผิว (Jim Crow segregation) ราวปี 1890s-1960s ซึ่งรัฐแดงฝ่ายใต้จะไม่ออกมาวุ่นวายกับรัฐอื่น ขออยู่แบบที่ตัวเองพอใจในพื้นที่ของตัวเอง
  2. โมเดลยุคก่อนสงครามกลางเมือง (1850s) ที่รัฐฝ่ายใต้พยายามขยายแนวคิดเรื่องทาสไปยังรัฐอื่นๆ ด้วย ซึ่งเป็นไปได้สูงที่ MAGA movement ต้องการเดินในแนวทางนี้

The “MAGA movement is not stopping at the borders of the states it already controls,” Podhorzer writes. “It seeks to conquer as much territory as possible by any means possible.”