in Economics, Politics

ทำไมต้องเผาอ้อย

ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วไทย (ไม่ใช่แค่ กทม.) ในช่วงต้นปี มีการถกเถียงกันมายาวนานว่าสาเหตุมาจากอะไร

แต่มาถึงตอนนี้ ข้อถกเถียงเริ่มโฟกัสไปที่ประเด็นเรื่องการเผาไร่ โดยเฉพาะ #เผาอ้อย

ออกตัวก่อนว่ามีความรู้เรื่องอ้อยเป็นศูนย์อย่างแท้จริง และข้อมูลที่ได้มาจากการอ่านบทความต่างๆ เท่านั้น

สิ่งที่สงสัยมี 2 ประเด็น

  1. ทำไมต้องเผาอ้อย
  2. เผาอ้อยกันมานานแล้ว ทำไมเพิ่งมาเกิดปัญหาฝุ่นควันหนักในรอบ 2 ปีมานี้

ข้อแรก ได้คำตอบจากในทวิตเตอร์ว่า การเผาอ้อยนั้นเป็นการแก้ปัญหาของชาวไร่อ้อย ที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานตัดอ้อย แม้อ้อยสดจะได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา แต่เมื่อไม่มีคนเก็บอ้อยสด ก็ต้องใช้วิธีเผาเพื่อให้ตัดง่ายขึ้น (อย่างน้อยก็ได้เก็บไปขายโรงงานน้ำตาล เอาทุนคืนมา)

เรียกง่ายๆ ว่าเป็นภาพสะท้อนของปัญหา ageing society ในไทย ที่ขาดแคลนแรงงานในแบบดั้งเดิม และไม่สามารถเปลี่ยนผ่านตัวเองไปสู่การเกษตรที่ใช้เครื่องจักรได้ (ถ้าพูดภาษาซ้ายๆ ก็ต้องบอกว่าเป็น ปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับ 😅)

ส่วนข้อสอง ได้คำตอบจากในบทความนี้ ว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมายุครัฐบาล คสช. พื้นที่ปลูกอ้อยนั้นเยอะขึ้นมากถึง 3 ล้านไร่ ตามนโยบายส่งเสริมโรงงานน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น

ระหว่างปี 2557-2562 ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาล คสช. มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยจาก 8,456,000 ไร่ เป็น 11,469,000 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นมากถึง 3,013,000 ล้านไร่ ขณะที่โรงงานน้ำตาลกำลังจะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก 29 แห่งตามการส่งเสริมของภาครัฐ

ข้อมูลจากในบทความของ Way ที่สัมภาษณ์ อ. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ จากมหาวิทยาลัยสารคาม ให้มุมมองเรื่องอ้อยไว้อย่างครบถ้วน เชิญชวนให้อ่านกัน

ประเด็นเรื่องพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับแรงงานที่ลดลง ทำให้ต้องใช้วิธีตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพสูง (นั่นคือการเผา) แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงตามไปด้วย

ปัญหาลักษณะนี้คงไม่สามารถ #แก้ที่ตัวเอง ได้ตามชนชั้นกลางสลิ่มบางคนพูดกัน และคงต้องอาศัย state intervention ผ่านกลไกของนโยบายภาครัฐเท่านั้น

ภาพประกอบ ไร่อ้อยในเวียดนามจาก Wikipedia