อ่านบทความ Slacker of the World ของ The Atlantic พูดถึงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรสมัยใหม่ ที่ใช้โปรแกรมแชทแบบ Slack (ซึ่งรวมถึง Microsoft Teams และอื่นๆ แต่ในที่นี้โฟกัส Slack) ทำให้โครงสร้างองค์กรแบนราบลงมาก เพราะพนักงานสามารถ “คุยกับใครก็ได้” ผ่าน Slack ซึ่งไม่เคยทำแบบนี้ได้มาก่อนในองค์กรยุคเดิม
การคุยกันผ่าน Slack ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า workplace revolt คือพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายบางอย่างขององค์กร สามารถรวมตัวกันผ่านห้องแชท (จะลับหรือไม่ลับก็ตาม) เพื่อประท้วงหรือต่อรองกับผู้บริหารได้ ซึ่งสภาพนี้เกิดขึ้นกับบริษัทหลายแห่ง เช่น Apple ก็มีปัญหานี้จนต้องปิดห้อง Slack
it was a whole new way for workers to talk to one another, and to demand answers from their bosses.
โลกการทำงานรุ่นใหม่จึงโปร่งใส ตั้งคำถามได้มากขึ้น เพราะพนักงานมีสิทธิเรียกร้องมากขึ้น
But even if you don’t use Slack, or something like it, you live and work in the world Slack helped create. It’s a world where openness and transparency are prized
ในฐานะที่ใช้ Slack ในองค์กรมายาวนาน ก็ไม่ได้ตื่นเต้นอะไรมากนักเพราะคุ้นชินอยู่แล้ว (องค์กรที่ไม่ได้มีวัฒนธรรม work chat มาอ่านบทความนี้ก็อาจจะตื่นเต้นขึ้นมาหน่อย)
ถ้าให้แชร์ประสบการณ์ คิดว่า Slack (หรือโปรแกรมลักษณะเดียวกัน) มีประโยชน์ในการเซ็ตวัฒนธรรมองค์กร เพราะมันเป็น “ด่านหน้า” ของการทำงานยุคใหม่ที่คนไม่ต้องเจอกันบ่อยๆ ทำงานกันแบบรีโมท (ซึ่งผมทำมานานหลายปีแล้ว) และยิ่งเด่นชัดมากขึ้นในยุคโรคระบาด
คิดว่าประโยคนี้ในบทความเขียนได้เห็นภาพดี ปกติแล้วในออฟฟิศเราจะต้องเดินสวนเพื่อนร่วมงานเวลาไปเข้าห้องน้ำ กินน้ำ กินขนม เจอกันหน้าลิฟต์ ฯลฯ ซึ่งมีโอกาสได้พูดคุยหยอกล้อกัน (“ผมใหม่สวยนะ” “ฟุตบอลเมื่อคืนเป็นไง”)
Indeed, Slack’s original motto was “Where work happens,” but the platform is also where quite a bit of nonwork happens. Especially in an officeless office, Slack is the cubicle, the boardroom, the hallway, the watercooler, and the bar. It’s where you talk about your performance with your manager, and where you then talk about your manager with your friends. It’s where you flirt; where you joke around; where you complain; where you, in some sense, live.
แต่พอการทำงานแบบรีโมท ทำให้ตรงนี้ขาดหายไป ชีวิตทุกคนอยู่ใน Slack กันหมด ก็ต้องพยายามเซ็ตวัฒนธรรมแบบ informal ลักษณะเดียวกันขึ้นมาแทน (ซึ่งแทนไม่ได้ 100% แต่ดีกว่าไม่มี) ตัวอย่างที่ใช้ในชีวิตจริงคือ ให้มีการทักทายในทีมแบบครีเอทๆ ทุกวัน (ตั้งคำถามแล้ววนกันไป) หรือตั้งห้องคลับเฉพาะกิจตามความสนใจ (เช่น ห้องฟุตบอลไว้แซวผลบอล ห้องพ่อแม่ไว้คุยเรื่องลูก) ก็ช่วยได้บ้าง
ก่อนหน้านี้เคยฟังมาว่า ผู้บริหารที่ดีต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี หลักๆ คือทักษะการพูด (townhall) และทักษะการเขียน (email) แต่คิดว่าในโลกยุคใหม่ คนทำงานรุ่นใหม่ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมจำพวก Slack ให้ดีด้วยเช่นกัน เช่น รู้ว่าตอนไหนควรพิมพ์อะไร คุยกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ วิธีการแท็กชื่อคน สร้างห้อง หรือใช้ emoji เป็นต้น
Being good at Slack is a skill, and it’s a different one from being well liked, or effective in meetings, or even good at your job. It’s more like being a social-media influencer.
ในบทความได้อ้างความเห็นของผู้บริหารบางคนที่ไม่ชอบ Slack เพราะเกิดวัฒนธรรมแบบ bottom up ของพนักงานคุยกันเอง ที่ผู้บริหารควบคุมไม่ได้
แต่ส่วนตัวแล้วไม่มีปัญหานี้ คิดว่าเป็นเพราะผู้บริหารในองค์กรเองก็ engage กับ Slack ได้ดีมาก และถ้ามองว่ามันเป็นเครื่องมือที่ให้องค์กรแบนราบ ลดลำดับชั้นลง การที่ผู้บริหารใช้ Slack ได้ดียิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้นอย่างมาก
“I talk to other CEOs and they all hate it,” Anil Dash said. Part of that, Dash thinks, is because Slack largely came to them from the bottom up. “They would never articulate it this way, I think, but it has a radical architecture. They can feel it: Slack lets people collaborate, organize, communicate in ways I did not expect [them] to and I did not choose.”
Slack’s inherent flatness means that anyone can emerge as a leader. In fact, the most influential person on Slack is almost never the boss, in part because in many organizations the more powerful you are, the less you use Slack.
ภาพประกอบจาก Slack