in Knowledge

Republics of the Soviet Union

สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย เลยทำให้ต้องมาศึกษาประวัติศาสตร์รัสเซียเพิ่มเติม โดยเฉพาะโครงสร้างของสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ซึ่งเป็นรัฐในอดีตก่อนหน้ารัสเซียและยูเครน

จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสหภาพโซเวียต หลังราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย (ปฏิวัติรัสเซียปี 1917) ก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายขาวกับฝ่ายแดง (บอลเชวิก) ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายแดงในปี 1923

Republics of Soviet

ปลายปี 1922 มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ ระหว่าง “สาธารณรัฐ” (republic ตามชื่อเรียกแบบรัสเซีย ความหมายของมันก็คือ รัฐ) ที่สนับสนุนแนวทางของคอมมิวนิสต์ โดยมีรัฐสมาชิกตั้งต้น 4 รัฐคือ

  • Russia SFSR (ย่อมาจาก Soviet Federative Socialist Republic)
  • Ukraine SFSR
  • Transcaucasian SFSR เป็นชื่อเรียกรวมของ Armenia, Azerbaijan, Georgia ที่แยกกันในภายหลัง (Stalin มาจากรัฐนี้ เขาเป็นคนจอร์เจีย)
  • Byelorussian SSR ชื่อปัจจุบันคือ Belarus

จากนั้น โซเวียตก็ค่อยๆ ดูดกลืนรัฐอื่นเข้ามา มีการแยกรัฐ รวมรัฐ เปลี่ยนไปมา จนในปี 1956 ก็ได้ร่างสมบูรณ์ที่แบ่งการปกครองออกเป็น 15 republics

ซึ่ง 15 republics เหล่านี้ล่ะ ที่หลังโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ก็แตกออกมาเป็น 15 ประเทศเท่ากัน (เท่ากับว่าทุก republic กลายเป็นประเทศทั้งหมด) เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เราสามารถจัดกลุ่มประเทศโซเวียตเดิมได้ตามภูมิภาค ดังนี้

  • Northern
    • Russia ซึ่งถือเป็นรัฐที่สืบทอดต่อเนื่องมาจากโซเวียต
  • Baltics กลุ่มประเทศที่ติดทะเลบอลติก มีความใกล้เคียงกับยุโรปเหนือแถบสแกนดิเนเวียมากหน่อย เข้าร่วม NATO ในปี 2004
    • Lithuania
    • Latvia
    • Estonia
  • Eastern Europe กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ปัจจุบันคือ Ukraine/Moldova อยากเข้า NATO ส่วน Belarus ยังถือเป็นรัฐบริวารของรัสเซีย
    • Ukraine
    • Moldova
    • Belarus
  • South Caucasus หรือกลุ่ม Transcaucasian เดิม อยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลสาบแคสเปียน มี Georgia ที่เคยทำสงครามกับรัสเซียในปี 2008 และอยากเข้า NATO อีกเหมือนกัน
    • Armenia
    • Azerbaijan
    • Georgia
  • Central Asia กลุ่มประเทศ “สถาน” ทั้งหมดในฝั่งเอเชีย ด้วยทำเลที่ตั้งแล้วก็ไม่ได้ยุ่งกับ NATO มากนัก
    • Uzbekistan
    • Kazakhstan
    • Kyrgyzstan
    • Tajikistan
    • Turkmenistan

จะเห็นว่า คาแรกเตอร์ของทั้ง 4 ก้อนมีความแตกต่างกันมาก เพราะอยู่กันคนละทวีป คนละเชื้อชาติ คนละอารยธรรมเลย ตั้งแต่ยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันออก มาจนถึงเอเชียกลาง แต่ถ้าเราพิจารณาดูเป็นกลุ่มๆ ก้อนๆ ก็จะเห็นแพทเทิร์นค่อนข้างชัดเจน อย่างกลุ่มบอลติกคือแยกตัวมาเร็ว พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็ว ส่วนความขัดแย้งในปี 2022 ก็เป็นเรื่องของกลุ่มยุโรปตะวันออก

Republic of Russia

แต่ในรัสเซียก้อนใหญ่นั้น ก็ไม่ได้เป็นรัสเซียก้อนเดียวปึกแผ่น 100% อีกอยู่ดี เพราะในรัสเซียเอง ที่แยก 14 republics ยุคโซเวียตออกไปแล้ว ก็ยังมี republic ตามระบบรัสเซีย อีกเช่นกัน

การปกครองภายในของรัสเซียมีความซับซ้อน มีรูปแบบของรัฐย่อยๆ อยู่ถึง 6 แบบคือ

  • oblast (สีเหลือง) หรือจังหวัด เป็นหน่วยมาตรฐาน
  • federal cities (สีแดง) นครพิเศษ มี 3 นครคือ Moscow, St. Petersburg และ Sevastopol (เมืองหลวงของไครเมีย)
  • republic (สีเขียว) เป็น “สาธารณรัฐ” ที่มีอำนาจการปกครองตัวเองเพิ่มขึ้น ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีชนเผ่า ชาติพันธ์ ภาษาของตัวเอง มีสิทธิตั้งธรรมนูญปกครองตัวเอง
  • krais (สีส้ม) หรือ territory สถานะใกล้เคียง oblast แต่เป็นจังหวัดที่อยู่ไกลปืนเที่ยง ในอดีต เลยถูกเรียกแบบนี้
  • autonomous okrugs (สีน้ำเงิน) จังหวัดปกครองตัวเอง
  • autonomous oblast (สีชมพู) จังหวัดปกครองตัวเอง (อีกแบบ)

จุดที่น่าสนใจคือ รัสเซียมี republic อยู่ตามแนวชายแดนเยอะพอสมควร แถบเอเชียกลางก้อนหนึ่ง  (ติดกับกลุ่มสถาน) แถบทางใต้ แถวภูเขาคอเคซัส อีกก้อนหนึ่ง (ติดกับจอร์เจีย ซึ่งเคยมีความขัดแย้งเรื่องกบฎเชเชน หรือ South Ossetian ก็แถบนี้)

ตรงภาคเหนือเองที่ติดกับฟินแลนด์ ก็มี Republic of Karelia ที่ในอดีตเคยมีสถานะเป็น Karelo-Finnish SSR เทียบเท่า 14 รัฐที่แยกตัวออกไปด้วย แต่ Karelo/Karelia กลับไม่ได้เป็นส่วนที่แยกออกไป เพราะโดนลดเกรดของรัฐลงไปก่อนนานแล้ว