สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย เลยทำให้ต้องมาศึกษาประวัติศาสตร์รัสเซียเพิ่มเติม โดยเฉพาะโครงสร้างของสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ซึ่งเป็นรัฐในอดีตก่อนหน้ารัสเซียและยูเครน
จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสหภาพโซเวียต หลังราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย (ปฏิวัติรัสเซียปี 1917) ก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายขาวกับฝ่ายแดง (บอลเชวิก) ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายแดงในปี 1923
Republics of Soviet
ปลายปี 1922 มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ ระหว่าง “สาธารณรัฐ” (republic ตามชื่อเรียกแบบรัสเซีย ความหมายของมันก็คือ รัฐ) ที่สนับสนุนแนวทางของคอมมิวนิสต์ โดยมีรัฐสมาชิกตั้งต้น 4 รัฐคือ
- Russia SFSR (ย่อมาจาก Soviet Federative Socialist Republic)
- Ukraine SFSR
- Transcaucasian SFSR เป็นชื่อเรียกรวมของ Armenia, Azerbaijan, Georgia ที่แยกกันในภายหลัง (Stalin มาจากรัฐนี้ เขาเป็นคนจอร์เจีย)
- Byelorussian SSR ชื่อปัจจุบันคือ Belarus
จากนั้น โซเวียตก็ค่อยๆ ดูดกลืนรัฐอื่นเข้ามา มีการแยกรัฐ รวมรัฐ เปลี่ยนไปมา จนในปี 1956 ก็ได้ร่างสมบูรณ์ที่แบ่งการปกครองออกเป็น 15 republics
ซึ่ง 15 republics เหล่านี้ล่ะ ที่หลังโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ก็แตกออกมาเป็น 15 ประเทศเท่ากัน (เท่ากับว่าทุก republic กลายเป็นประเทศทั้งหมด) เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เราสามารถจัดกลุ่มประเทศโซเวียตเดิมได้ตามภูมิภาค ดังนี้
- Northern
- Russia ซึ่งถือเป็นรัฐที่สืบทอดต่อเนื่องมาจากโซเวียต
- Baltics กลุ่มประเทศที่ติดทะเลบอลติก มีความใกล้เคียงกับยุโรปเหนือแถบสแกนดิเนเวียมากหน่อย เข้าร่วม NATO ในปี 2004
- Lithuania
- Latvia
- Estonia
- Eastern Europe กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ปัจจุบันคือ Ukraine/Moldova อยากเข้า NATO ส่วน Belarus ยังถือเป็นรัฐบริวารของรัสเซีย
- Ukraine
- Moldova
- Belarus
- South Caucasus หรือกลุ่ม Transcaucasian เดิม อยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลสาบแคสเปียน มี Georgia ที่เคยทำสงครามกับรัสเซียในปี 2008 และอยากเข้า NATO อีกเหมือนกัน
- Armenia
- Azerbaijan
- Georgia
- Central Asia กลุ่มประเทศ “สถาน” ทั้งหมดในฝั่งเอเชีย ด้วยทำเลที่ตั้งแล้วก็ไม่ได้ยุ่งกับ NATO มากนัก
- Uzbekistan
- Kazakhstan
- Kyrgyzstan
- Tajikistan
- Turkmenistan
จะเห็นว่า คาแรกเตอร์ของทั้ง 4 ก้อนมีความแตกต่างกันมาก เพราะอยู่กันคนละทวีป คนละเชื้อชาติ คนละอารยธรรมเลย ตั้งแต่ยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันออก มาจนถึงเอเชียกลาง แต่ถ้าเราพิจารณาดูเป็นกลุ่มๆ ก้อนๆ ก็จะเห็นแพทเทิร์นค่อนข้างชัดเจน อย่างกลุ่มบอลติกคือแยกตัวมาเร็ว พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็ว ส่วนความขัดแย้งในปี 2022 ก็เป็นเรื่องของกลุ่มยุโรปตะวันออก
Republic of Russia
แต่ในรัสเซียก้อนใหญ่นั้น ก็ไม่ได้เป็นรัสเซียก้อนเดียวปึกแผ่น 100% อีกอยู่ดี เพราะในรัสเซียเอง ที่แยก 14 republics ยุคโซเวียตออกไปแล้ว ก็ยังมี republic ตามระบบรัสเซีย อีกเช่นกัน
การปกครองภายในของรัสเซียมีความซับซ้อน มีรูปแบบของรัฐย่อยๆ อยู่ถึง 6 แบบคือ
- oblast (สีเหลือง) หรือจังหวัด เป็นหน่วยมาตรฐาน
- federal cities (สีแดง) นครพิเศษ มี 3 นครคือ Moscow, St. Petersburg และ Sevastopol (เมืองหลวงของไครเมีย)
- republic (สีเขียว) เป็น “สาธารณรัฐ” ที่มีอำนาจการปกครองตัวเองเพิ่มขึ้น ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีชนเผ่า ชาติพันธ์ ภาษาของตัวเอง มีสิทธิตั้งธรรมนูญปกครองตัวเอง
- krais (สีส้ม) หรือ territory สถานะใกล้เคียง oblast แต่เป็นจังหวัดที่อยู่ไกลปืนเที่ยง ในอดีต เลยถูกเรียกแบบนี้
- autonomous okrugs (สีน้ำเงิน) จังหวัดปกครองตัวเอง
- autonomous oblast (สีชมพู) จังหวัดปกครองตัวเอง (อีกแบบ)
จุดที่น่าสนใจคือ รัสเซียมี republic อยู่ตามแนวชายแดนเยอะพอสมควร แถบเอเชียกลางก้อนหนึ่ง (ติดกับกลุ่มสถาน) แถบทางใต้ แถวภูเขาคอเคซัส อีกก้อนหนึ่ง (ติดกับจอร์เจีย ซึ่งเคยมีความขัดแย้งเรื่องกบฎเชเชน หรือ South Ossetian ก็แถบนี้)
ตรงภาคเหนือเองที่ติดกับฟินแลนด์ ก็มี Republic of Karelia ที่ในอดีตเคยมีสถานะเป็น Karelo-Finnish SSR เทียบเท่า 14 รัฐที่แยกตัวออกไปด้วย แต่ Karelo/Karelia กลับไม่ได้เป็นส่วนที่แยกออกไป เพราะโดนลดเกรดของรัฐลงไปก่อนนานแล้ว