in Politics

Federal vs State

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากวิกฤตการณ์ COVID-19 คือ คนเรา “ลดระดับ” ของความร่วมมือให้เล็กลง จากเดิมที่โลกยุค globalization เราเชิดชูความร่วมมือระดับภูมิภาค (international/regional) เช่น EU หรือ ASEAN ก็ลดลงมาเป็นระดับของ “ชาติ” (national)

เรื่องนี้เขียนไว้แล้วในตอน The End of Globalization As We Know It

เหตุผลหลักๆ คือ เรามีความแนบแน่นต่อ “ชาติ” มากกว่า “โลก” (ชาติในที่นี้คือ modern state สมัยใหม่) มีความสัมพันธ์ต่อกันที่ชัดเจนกว่า เช่น ชาติมีหน้าที่ต้องคุ้มครองพลเมือง แต่อาเซียนไม่ต้อง

คำถามใหม่ที่ตามมาคือ ถ้า “ชาติ” ไม่สามารถทำหน้าที่ข้างต้นได้ดีล่ะ จะทำอย่างไร

คำตอบก็ตรงไปตรงมา คือ เมื่อหน่วยของชาติไม่ตอบโจทย์ ก็ต้องลดระดับลงมาอีก มาอยู่ที่ระดับของ “รัฐ” (ในที่นี้คือ state อย่างในสหรัฐอเมริกา) หรือ “จังหวัด/มณฑล” ในประเทศอื่นๆ

กรณีของสหรัฐอเมริกาในช่วงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีมาก เพราะรัฐบาลระดับสหพันธ์ (federal government) ภายใต้การนำของ Donald Trump แสดงให้เห็นชัดว่าไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น (ซึ่งปัจจัยมาจากตัวของ Trump เอง + กลไกของรัฐบาลใต้ Trump ด้วย)

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนหันไปพึ่งกลไกระดับ “รัฐ” ที่ยังแข็งแกร่งกว่าแทน แม้จะไม่ถึงขนาดรัฐบาลกลาง แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย

คัดมาจากบทความใน The Atlantic

The United States has crashed, and the arrival of a novel coronavirus is only one of the causes. The other is that command of the American effort against the pathogen fell to a president unprepared for the challenge and overwhelmed by the demands of his office. The situation is legitimately grounds for despair; we are in the half dark. But some lights are still on, thanks to the sheer grit of those—the governors and mayors, the public- and private-sector experts and operations managers, the corporate CEOs and nonprofit officials—now serving as a counterweight to a president unmoved by what is happening to the United States.

คนที่มีบทบาทในช่วงนี้กลายเป็นบรรดาผู้ว่าการรัฐ และนายกเทศมนตรีของท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งในแง่หนึ่งก็สะท้อนการเมืองท้องถิ่นของอเมริกาที่มีบทบาทสูง (จากต้นทุนทางประวัติศาสตร์ที่มาจากการรวมกันของรัฐต่างๆ)

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ Andrew Cuomo ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นรัฐที่เจอวิกฤตหนักที่สุด แต่ภาวะผู้นำของ Cuomo ก็ช่วยบรรเทาปัญหาลงไปได้ (บ้าง)

ในกรณีของเมืองไทยเองก็ไม่ต่างกันมากนัก เพราะรัฐบาลประยุทธ์ในปัจจุบันก็ถือว่าไม่ฟังก์ชันในอย่างที่ควรจะเป็น เพียงแต่บริบททางการเมืองของไทย ท้องถิ่นไม่มีอำนาจ-ไม่เข้มแข็งขนาดนั้น บทบาทในการแก้ปัญหาจึงไปอยู่ที่บรรดาข้าราชการ (technocrats) แทน ซึ่งก็ยังเดินหน้าแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

อีกจุดที่น่าสนใจคือ ข่าวการปิดเมืองของบุรีรัมย์และอุทัยธานี ที่เป็นพื้นที่ของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเกิดจากปัจจัยความไม่ลงรอยกันของ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย ก็แสดงให้เห็นสัญญาณของ “ความกระด้างกระเดื่อง” ของท้องถิ่นต่อรัฐบาลกลางได้สักเล็กน้อย แม้ในระยะยาวแล้ว โครงสร้างทางการปกครองของไทยไม่เอื้อให้เกิดอะไรที่มากกว่านั้นได้ก็ตาม

ภาพประกอบ: ประวัติการรวมรัฐต่างๆ ของอเมริกา จาก Wikipedia