in Gadgets, Technology

Diminishing Returns

ถ้ามองย้อนกลับไปในโลกเทคโนโลยี ทศวรรษ 90s และ 2000s (ช่วงเวลาประมาณปี 95-2010) น่าจะเป็นช่วงที่เราเห็นพัฒนาการของฮาร์ดแวร์อย่างก้าวกระโดด

  • จากซีพียูธรรมดา มาเป็นซีพียูความถี่สูง สมรรถนะสูง มัลติคอร์
  • สตอเรจ พัฒนาจาก floppy disk มาเป็น CD-Rom มาเป็น DVD มาเป็น Blu-ray
  • ความละเอียดภาพ จาก SD มาเป็น HD มาเป็น Full HD

ถ้าเทียบง่ายๆ คือเอาเครื่อง PlayStation มาเป็นตัวตั้งได้เลย จาก PS1 (1994 CD-Rom) มาสู่ PS2 (2000 DVD) มาสู่ PS3 (2006 Blu-ray)

ความถี่หน่วยประมวลผลเพิ่มจาก 33.7MHz (PS1) มาสู่ 300MHz (PS2) และ 3.2GHz (PS3) นี่ยังไม่รวมฟีเจอร์อื่นๆ อย่างแรม จีพียู ฮาร์ดดิสก์ ระบบเครือข่าย อุปกรณ์เสริม ฯลฯ ที่คงไม่ต้องลงรายละเอียดมากขนาดนั้น

พัฒนาการแบบก้าวกระโดดเป็นผลดีต่อผู้บริโภคอย่างมาก แต่ในด้านกลับ พัฒนาการแบบนี้ต้องมีจุดสิ้นสุด และอาจใกล้ถึงจุด law of diminishing returns แล้วในยุคสมัยปัจจุบัน ปี 2020

อ่านบทความใน Kotaku และ Forbes เรื่อง PS5 และ Xbox Series X ควรเลื่อนขายจากปี 2020 ไปเป็นปี 2021 (แม้จะเกิดขึ้นจริงได้ยากเพราะการเลื่อนกระทบคนเยอะ แต่ก็แอบเห็นด้วยหลายส่วน) เขียนไว้น่าสนใจ

neither Microsoft nor Sony has really demonstrated why we should all be getting excited about shelling out something like two week’s worth of minimum wages for a new plastic brick to sit beside our TVs.

I see incremental improvements in the dozens of trailers both companies have shared, but nothing that feels striking or completely new.

Both Sony and Microsoft have had a hard time demonstrating exactly why these new consoles are necessary upgrades for people right now.

นอกจากประเด็นเรื่อง “ไม่มีอะไรใหม่” ก็ยังมีสถานการณ์โลกเรื่อง COVID-เศรษฐกิจมาซ้ำเติมอีก

gaming generations usually start out slow, but this time around, the complicating factor of COVID has made A) production of these games much harder and delays more likely B) consumers with less money in their pockets to shell out for expensive consoles and C) potential production shortages with the pandemic raising issues all around the world.

บอกตามตรงแล้ว ผมเองก็แยกไม่ค่อยออกมากนักเมื่อเทียบ Full HD กับ 4K หรือดันเฟรมเรตให้ถึงระดับ 60 fps แถมทีวีที่บ้านก็ยังไม่มีจอใหญ่ขนาดนั้น และคงไม่มีแผนอัพเกรดในอีกเร็ววันนี้

ซึ่งแน่นอนว่า มีกลุ่มคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ “เล่น” ฮาร์ดแวร์ อัพเกรดเครื่องพีซีให้แรงเสมอ มีเงิน (และที่วาง) สำหรับทีวีจอใหญ่ 4K หรือระบบเสียงดีเยี่ยม ตรงนี้เป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์ของใครของมัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้อาจยังไม่ใช่ตลาดแมสมากนัก

การเลื่อนคงเกิดได้ยาก เพราะกระทบกับพาร์ทเนอร์จำนวนมหาศาล แต่ถ้าคอนโซลเจนนี้ออกวางขายแล้วไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ก็คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเท่าไรนัก

สิ่งที่น่าสนใจกว่าจึงเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของไมโครซอฟท์แบบที่เคยเขียนไปแล้ว ว่าเกมจะกลายเป็น “บริการ” แทน ในลักษณะที่เหมือน utility (น้ำ ไฟ เน็ต) แทนการลงทุนในฮาร์ดแวร์ราคาแพงที่เป็นสินค้าจับต้องได้ เหมือนกับพวกเครื่องเสียง

หมายเหตุ: ประเด็นเรื่อง diminishing returns เกิดขึ้นกับด้านอื่นๆ ของวงการไอทีด้วย โดยเฉพาะวงการโทรศัพท์มือถือ (เช่น Samsung Note 20 เริ่มไม่ต่างจาก Note 8 มากนักแล้ว) แต่เป็นเรื่องที่จะเขียนถึงในโอกาสต่อไป