ภาพ Joe Biden เยือนอัฟกานิสถานในปี 2011 จากทำเนียบขาว
จากประเด็นเรื่อง อัฟกานิสถานแตกพ่าย ทุกสายตาก็จับจ้องไปยังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เพิ่งประกาศถอนทหารออกไปก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน
เมื่อวานนี้ (17 ส.ค. ตามเวลาไทย) ไบเดนออกมาแถลงอย่างเป็นทางการผ่านช่องทางของทำเนียบขาว เพิ่งว่างมาอ่านสปีชจนจบ พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างมาบันทึกไว้
ประเด็นหลักที่ไบเดนพูดคือ การตีกรอบของปัญหาในอัฟกานิสถาน ว่าสหรัฐอเมริกาลงไปทำสงครามก็เพื่อลงโทษผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 เพื่อให้มั่นใจว่า สหรัฐจะไม่โดนก่อวินาศกรรมอีก
We went to Afghanistan almost 20 years ago with clear goals: get those who attacked us on September 11th, 2001, and make sure al Qaeda could not use Afghanistan as a base from which to attack us again.
We did that. We severely degraded al Qaeda in Afghanistan. We never gave up the hunt for Osama bin Laden, and we got him. That was a decade ago.
เป้าหมายของสหรัฐมีเพียงเท่านี้ และประสบความสำเร็จด้วยดี สหรัฐไม่ได้มีเป้าที่จะไป “สร้างชาติอัฟกานิสถาน” (nation building) แต่อย่างใด
Our mission in Afghanistan was never supposed to have been nation building. It was never supposed to be creating a unified, centralized democracy.
Our only vital national interest in Afghanistan remains today what it has always been: preventing a terrorist attack on American homeland.
I’ve argued for many years that our mission should be narrowly focused on counterterrorism — not counterinsurgency or nation building.
จากนั้น เขาก็พูดถึงว่า เขามารับช่วงต่อจากสัญญาสันติภาพที่ Trump ไปเซ็นไว้ในปี 2020 ว่าสหรัฐจะต้องถอนทหารทั้งหมดออกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2021 ซึ่งเขาก็เคารพข้อตกลงนั้น
แน่นอนว่าจังหวะการถอนทหารเป็นจังหวะที่ตาลีบันกลับมาแข็งแกร่งที่สุดพอดี
เขาบอกว่าในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง มีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือ ถอนทหารตามข้อตกลง หรือ นำสหรัฐกลับไปปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่อีกรอบ ซึ่งเขายืนยันว่า การเลือกถอนทหารเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ก็ยอมรับว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถานไปเร็วกว่าที่ทุกคนคาด
จากนั้น ไบเดนก็เข้าสู่ประเด็นสำคัญว่า อัฟกานิสถานแตกพ่ายโดยง่าย เป็นเพราะทหารฝ่ายรัฐบาลเองก็ไม่อยากสู้รบ ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสหรัฐตัดสินใจถูกต้อง เพราะอยู่ช่วยฝ่ายรัฐบาลไปก็เท่านั้น
สหรัฐช่วยทหารอัฟกันทุกอย่าง มีกองกำลัง 3 แสนคน ใหญ่กว่านาโต้ ช่วยจ่ายเงินเดือน ช่วยสร้างกองทัพอากาศ ในขณะที่ตาลีบันไม่มีเครื่องบินสักลำ แต่ทำไมยังชนะ เป็นเพราะทหารอัฟกันไม่มีกำลังใจที่จะรบ อันนี้สหรัฐช่วยไม่ได้
So what’s happened? Afghanistan political leaders gave up and fled the country. The Afghan military collapsed, sometimes without trying to fight.
American troops cannot and should not be fighting in a war and dying in a war that Afghan forces are not willing to fight for themselves. We spent over a trillion dollars. We trained and equipped an Afghan military force of some 300,000 strong — incredibly well equipped — a force larger in size than the militaries of many of our NATO allies.
We gave them every tool they could need. We paid their salaries, provided for the maintenance of their air force — something the Taliban doesn’t have. Taliban does not have an air force. We provided close air support.
We gave them every chance to determine their own future. What we could not provide them was the will to fight for that future.
เขายังวิจารณ์การทำงานของประธานาธิบดี Ghani ว่าเคยพูดถึงเรื่องนี้มาก่อนแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ ตัวของ Ghani มั่นใจว่าจะสู้กับตาลีบันได้ แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นจริง
When I hosted President Ghani and Chairman Abdullah at the White House in June and again when I spoke by phone to Ghani in July, we had very frank conversations. We talked about how Afghanistan should prepare to fight their civil wars after the U.S. military departed, to clean up the corruption in government so the government could function for the Afghan people. We talked extensively about the need for Afghan leaders to unite politically.
They failed to do any of that.
I also urged them to engage in diplomacy, to seek a political settlement with the Taliban. This advice was flatly refused. Mr. Ghani insisted the Afghan forces would fight, but obviously he was wrong.
ผมคิดว่าคำอธิบายของ Biden ฟังขึ้น (แม้ทำใจยากที่จะยอมรับว่า สหรัฐแพ้สงครามในระดับท้องถิ่นอีกแล้ว ซ้ำรอยเวียดนาม) และสมเหตุสมผล (โดยเฉพาะเทียบกับความยืดเยื้อของสงครามเวียดนาม ที่สู้ต่อไปก็แพ้อยู่ดี) แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีผลต่อคะแนนนิยมของ Biden แน่นอน ไม่ว่าเหตุผลของการถอนทหารคืออะไร สหรัฐในยุคของ Biden ก็พ่ายแพ้อย่างเจ็บปวด
จากนั้นอ่านบทความใน Nikkei Asia พูดถึงแนวทางข้างต้นของ Biden ที่ว่าไม่ต้องการยุ่งกับความขัดแย้งที่ไม่เกี่ยวกับสหรัฐ จำกัดวงเฉพาะการก่อการร้าย ไม่ยุ่งกับสงครามหรือความไม่สงบภายใน แถมตั้งชื่อให้เสร็จสรรพว่า “Biden Doctrine”
No attempting to remake a country through military deployment. No fighting indefinitely in a conflict not in America’s national interest. No doubling down on a foreign civil war. On a tactical level, he will engage in counterterrorism but not counterinsurgency and will use over-the-horizon capability to target direct threats to the U.S.
These pillars may one day be known as the Biden Doctrine.
คำว่า Doctrine ในที่นี้ไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่หมายถึงนโยบายการต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐในแต่ละยุคสมัย เช่น Carter Doctrine, Reagan Doctrine
Nikkei เปรียบเทียบแนวทาง Biden Doctrine กับ Bush Doctrine ของประธานาธิบดีบุช ผู้ซึ่งริเริ่มสงครามของสหรัฐในตะวันออกกลาง 2 รอบคือ อัฟกานิสถาน กับ อิรัก จะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
The principles differ markedly from those laid out by former President George W. Bush, who ordered the invasion of Afghanistan nearly 20 years ago. Bush’s doctrine positioned the U.S. as a “benevolent hegemon” that should spread freedom and democracy throughout the world, lessening threats to the homeland.
นโยบายของ Biden พูดชัดว่าจะต่อสู้ในต่างประเทศ ก็ต่อเมื่อเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ “หลัก” ของสหรัฐ (vital national interests) เท่านั้น แต่ Biden เองก็ไม่ได้อธิบายชัดว่ามันคืออะไรกันแน่ ขอบเขตของมันเป็นอย่างไร
นักการต่างประเทศหลายคนเลยลองจินตนาการดูว่า ถ้าจีนยกกองทัพบุกข้ามมายึดไต้หวัน แบบนี้จะเข้าข่าย vital national interests หรือไม่ (คำตอบมีหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ก็บอกว่าเข้าข่าย)