in Knowledge, Politics

เกิดอะไรขึ้นที่อัฟกานิสถาน ทำไมตาลีบันถึงบุกยึดได้

ภาพแผนที่อัฟกานิสถาน 2021 จาก CFR

ข่าวการสงครามในอัฟกานิสถานที่กลับมาปะทุอีกครั้ง และจู่ๆ ฝ่ายตาลิบันก็สามารถบุกยึดเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย สร้างคำถามกับคนทั้งโลกว่า “เกิดอะไรขึ้น”

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามสถานการณ์ในอัฟกานิสถานมากนัก (ผมด้วย) คงทราบกันแค่ว่า สหรัฐอเมริกาบุกยึดอัฟกานิสถานหลังเหตุการณ์ 9/11 แล้วคงทหารไว้อยู่นาน พออเมริกาถอนตัวออกมาไม่นาน ตาลิบันก็บุกกลับมายึดกลับทันที และตีชิงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

เรารู้ว่ามีเหตุการณ์ใหญ่ๆ อะไรบ้าง แต่เราอธิบายไม่ได้ว่าเพราะอะไร ตาลิบันแข็งแกร่งขนาดนั้นเลยเหรอ ทำไมบุกยึดประเทศง่ายจัง อเมริกาไปอยู่ตั้งนานทำอะไรไม่ได้เลยงั้นหรือ แล้วตาลิบันจะออกมาบุกนอกประเทศ โจมตีอเมริกาเหมือน 9/11 อีกไหม คำถามมีมากมาย แต่จริงๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นที่อัฟกานิสถานกันแน่

ลองนั่งอ่านหาคำตอบดูก็พบคำตอบหลายอย่าง

ย้อน timeline อัฟกานิสถานแบบสั้นๆ

สถานการณ์ในอัฟกานิสถานซับซ้อน เพราะมีหลายฝ่ายหลายชนเผ่า (ไม่ได้มีแต่รัฐบาลอัฟกัน กับตาลิบันเท่านั้น) แต่เพื่อความสะดวกก็เอาแบบ simplified timeline เฉพาะเหตุการณ์ใหญ่ๆ คือ

  • 1996 ตาลิบันยึดอัฟกานิสถาน ตั้งเป็นประเทศ Islamic Emirate of Afghanistan
  • 2001 อเมริกาบุกอัฟกานิสถาน
  • 2002 ตั้งรัฐบาลชั่วคราว มี Hamid Karzai ผู้นำชนเผ่าเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว
  • 2004 เลือกตั้งครั้งแรก Hamid Karzai ชนะ เป็นประธานาธิบดีต่อ
  • 2009 เลือกตั้งครั้งที่สอง Karzai ชนะเป็นสมัยที่สอง
  • 2011 สหรัฐเริ่มถอนทหาร
  • 2014 สหรัฐลดบทบาทลง เหลือแต่ช่วยสนับสนุนทางทหารเท่านั้น
  • 2014 Karzai หมดวาระ เลือกตั้งใหม่ Ashraf Ghani ชนะเลือกตั้ง
  • 2015 ตาลิบันเริ่มกลับมา
  • 2019 เลือกตั้งครั้งที่สี่ Ashraf Ghani ได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง
  • 2020 รัฐบาลอเมริกัน (ทรัมป์) เซ็นสัญญาสันติภาพกับตาลิบันที่กาตาร์
  • เมษายน 2021 สหรัฐถอนกำลังชุดสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถาน
  • กรกฎาคม 2021 ตาลิบันบุกยึดหลายพื้นที่ของประเทศ

จะเห็นว่า สหรัฐและชาติตะวันตก เข้าไปวางกำลังในอัฟกานิสถานอยู่นาน ใช้เงินกับสงครามไปถึง 83 พันล้านดอลลาร์ (2.8 ล้านล้านบาท)

สหรัฐเริ่มโอนถ่ายอำนาจทางทหารให้รัฐบาลพลเรือนของอัฟกานิสถานในปี 2014 จนกระทั่งถอนกำลังทั้งหมดออกมาในปี 2021 ระหว่างนั้นก็ยกระดับกองทัพอัฟกันไปด้วย ทั้งเทรนนิ่ง และมอบอาวุธให้

บทความอ่านเพิ่มเติมจาก CFR

ตาลีบัน ชนะโดยแทบไม่ต้องสู้รบ

คำถามคือ กองทัพอัฟกันที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ฝีกอบรมตามแบบฉบับทหารอเมริกัน ได้อาวุธทันสมัยมากมาย มันจะอ่อนเปลี้ยแบบนั้น ชนิดว่าพ่ายแพ้ตาลีบันแบบแตกยับเลยงั้นหรือ

คำตอบคือไม่ใช่หรอก เพราะส่วนใหญ่แล้ว ตาลีบันชนะโดยไม่ต้องรบด้วยซ้ำ

บทความนี้ใน Foreign Policy เขียนสรุปไว้ค่อนข้างดี

ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลอัฟกานิสถานของประธานาธิบดี Ashraf Ghani ต่างหาก

the fault lies not in the training or equipment provided to Afghanistan. Nor is it endemic: The country has long produced good fighting men and the special forces are as good as any. The reasons for the monumental failure, these experts say, stem from the government of Afghan President Ashraf Ghani.

รัฐบาลอัฟกันในปัจจุบัน ก็เป็นแบบที่เราน่าจะพอนึกออก คือ เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน เห็นแก่ตัว ทหารด่านหน้าไม่ได้เงินเดือน ไม่มียุโธปกรณ์เพียงพอ เพราะเอาไปขายต่อในตลาดมืดกันหมด แถมทหารยังไปประจำการไกลบ้าน ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องถิ่นเกิดและครอบครัวตัวเอง สายบังคับบัญชาถูกเปลี่ยนไปมา ไม่มีความรู้พื้นถิ่นเพียงพอ

The Ministries of Defense and Interior are notoriously corrupt, and the experts also cite widespread ineptitude, lack of leadership, and self-interest.

In many areas, soldiers and police are not supplied with adequate food, water, ammunition, or arms. Supply lines are pilfered, with arms, ammunition, and other equipment sold onto the black market, and much of it reaching the insurgency. Many soldiers and police are posted far from their homes, and abandon positions to return to defend their families and property.

Officials as high up as the ministers of defense and interior, as well as district governors and police chiefs, are removed and changed at an alarming rate and are rarely localized, with no knowledge or roots in the regions.

แม้ Ashraf Ghani ชนะเลือกตั้งรอบล่าสุดปี 2019 (ด้วยคะแนน 50.64% vs 39.52%) แต่ทุกคนก็รู้ว่าเลือกตั้งทุจริต พอมีปัญหามากๆ คนก็ไม่อยากต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาล แม้มีความสามารถในการรบแต่ก็ไม่รู้จะสู้ไปทำไม หรือถ้าอยากสู้ ก็หนีทหารกลับไปปกป้องบ้านเกิดและครอบครัวดีกว่า

Experts say Afghanistan’s forces have the capability but lack the will to fight. Across the country, soldiers, police, provincial and rural officials, and citizens have said they will not fight to defend the Ghani government. Those who do fight, including local militias, say they are defending their families and property, and safeguarding their children’s future as they cannot trust the government to do so.

บางคนต่อสู้ แต่เมื่อขอกำลังสนับสนุน ซัพพลาย กระสุน ฯลฯ ไม่ได้รับการตอบสนอง ทางออกเดียวคือหนี

“Many have tried to defend but they are running out of food and ammunition. [They’re] calling for resupply, reinforcements, and [] air strikes, and not getting them at all in some cases. So then they have to run.”

ผลคือเมืองหลักหลายเมืองของอัฟกานิสถาน โดนฝ่ายตาลีบันยึดโดยไม่เสียเลือดเนื้อเลย

The capital of Samangan province, Aybak; Farah, capital of the province of the same name; Pul-i-Khumri, capital of Baghlan; and Faizabad, capital of Badakhshan which borders Tajikistan, Pakistan and China, all fell on Monday and Tuesday without a fight.

สถานการณ์ตอนนี้ กรุงคาบูลคงจะโดนล้อมและตีแตกโดยไม่ช้า (เพราะขวัญกำลังใจฝ่ายตาลีบันมาเต็ม ยึดเมืองได้เกือบทั้งประเทศ โมเมนตัมมา)

ภาพรวมของอัฟกานิสถานคงเป็นว่า ฝ่ายตาลีบันซุ่มเงียบ สะสมกำลังมานาน แล้วรอจนกระทั่งฝ่ายรัฐบาลพลเรือนอ่อนแอ เมื่อ “ลูกพี่” อย่างสหรัฐอเมริกาถอนตัวปั๊บ ก็ได้เวลาเอาคืน

คำถามคือ ตาลีบันยึดอัฟกานิสถานได้แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ สิ่งนี้คงไม่มีใครตอบได้ ณ ปัจจุบัน เรารู้ว่าฝั่งอเมริกาเองก็ไม่อยากกลับไปอีกสักเท่าไรแล้ว เพราะต้องใช้เงิน-ทรัพยากรมหาศาล (และความพยายามในรอบประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนสูญเปล่าไปแล้ว)

ล่าสุดวันนี้ (15 ส.ค. ตามเวลาไทย) ไบเดนเพิ่งประกาศว่าจะส่งกำลังกลับไปอีก 5,000 นาย แต่กว่าจะไปถึง และจำนวนแค่นี้คงไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก