in Economics, Politics

A War Nobody Wants

หลังๆ ไม่ได้ตามข่าวสงครามการค้า Donald Trump เพราะรายละเอียดเปลี่ยนทุกวัน 555 เชื่อว่าหลายคนคงเป็นแบบนี้เหมือนกัน หากไม่ได้ทำอาชีพด้านการลงทุนโดยตรง คงเหนื่อยกับการตามข่าวแล้ว

แต่ผมคิดว่าถ้าเป็นมุมมองระยะยาวว่าการเผชิญหน้า การแสวงหาอำนาจนำระหว่างอเมริกากับจีน จะจบลงอย่างไร ยังเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวของโลกในระยะยาว

มาเจอบทความใน Bloomberg ของ Daniel Ten Kate ซึ่งเป็นบรรณาธิการเศรษฐกิจ-การเมืองของฝั่งเอเชีย เขียนเอาไว้ดีว่า Trump and Xi Are Preparing for a War Nobody Wants

สงครามครั้งนี้ไม่มีใครต้องการ รวมถึงจีนและอเมริกาเองก็ด้วย

บทความนี้ชี้ประเด็นที่น่าสนใจว่า Trump และ Xi มีความเหมือนกันมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคือ “ประเทศพึ่งพาตัวเองได้” หากในอนาคตต้องเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน ทำสงครามกัน

it’s become clear that the US and China are reshaping the global economy to prepare for a war with each other that neither actually wants.

เพียงแต่ว่าทั้งสองฝ่ายต่างต้องการสิ่งที่ตัวเองไม่มี ฝั่ง Trump ต้องการพลังการผลิตอุตสาหกรรมของจีน ส่วนจีนต้องการเทคโนโลยีไฮเทคของสหรัฐ (เช่น ชิป & AI) และระบบการเงินโลกที่อเมริกายังเป็นศูนย์กลางไปอีกนาน

they both want what the other has: Trump desires China’s world-beating manufacturing prowess, and Xi is envious of the US’s control of advanced technology as well as the global financial system.

Trump เลือกใช้คำว่า Liberation Day “วันปลดปล่อย” โดยมองเรื่องอุตสาหกรรมการผลิต ว่าอเมริกาไม่สามารถผลิตสินค้าสำคัญบางอย่าง (เช่น แอนตี้บอดี้สำหรับทำยา) ได้เอง หากมีสงครามเกิดขึ้นก็ชิปหายแน่นอน

“If anything ever happened from a war standpoint, we wouldn’t be able to do it.”

เรื่อง Trump เราพูดกันไปเยอะแล้วคงไม่ต้องฉายหนังซ้ำ มาดูฝั่งจีนกันดีกว่า

ท่านประธาน Xi ใช้เวลาหลายปี พยายามฉีกตัวไม่ต้องพึ่งพาสหรัฐ ในเรื่องเทคโนโลยีไฮเทคทั้งหลาย ที่ประสบความสำเร็จแล้วคือแผงโซลาร์ แบตเตอรี่ รถยนต์ EV โดรน อุตสาหกรรมที่ยังสู้ไม่สำเร็จคือ ชิป AI หุ่นยนต์ เครื่องบินพาณิชย์ ยา (Bloomberg มีชาร์ทให้ดูประกอบ)

The Chinese leader has spent the better part of a decade trying to reduce his nation’s dependence on the US for strategic goods, just as successive US administrations have sought to prevent Beijing from obtaining high-end technology that could one day be used against American soldiers.

สิ่งที่ Trump และ Xi ทำเหมือนกันคือ America First & China First ไม่แคร์อะไรแล้ว ใช้นโยบายอะไรก็ได้เพื่อนำพาประเทศตัวเองไปสู่เป้าหมายนั้น (เช่น กำแพงภาษีของ Trump หรือการทุ่มตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของ Xi) โดยไม่สนใจว่าประเทศอื่นๆ จะทำอย่างไร

บทความนี้ยังย้อนให้เราดูว่า มาตรการหลายอย่างของ Xi เช่น การล็อคดาวน์ช่วงโควิด, การควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์, การบีบมหาเศรษฐีแบบ Jack Ma เรื่องการขายหุ้น IPO, การห้ามเด็กจีนกวดวิชาหรือใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย ฯลฯ เป็นแนวทางนโยบายที่ชัดเจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Xi ว่าเขาเองก็แทบไม่แคร์ภาคเอกชน-ประชาชนจีนเท่าไรเลย หากมันขัดแย้งกับภาคใหญ่ที่เขาต้องการ

มาตรการของ Xi แสดงให้เห็นว่า จีนสามารถยอมรับความเจ็บปวดได้เยอะ (China’s moves have demonstrated the country’s deep capacity to absorb pain) แม้มันส่งผลต่อเศรษฐกิจจีน ตลาดทุนจีน ความมั่งคั่งของประชาชนคนรุ่นใหม่วัยทำงานของจีนที่หายวับไป แล้วจีนยังใช้มาตรการด้านความมั่นคงภายใน กดความไม่พอใจเหล่านี้เอาไว้

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้ง Trump และ Xi มองว่าพลังในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคือสิ่งที่จำเป็นยิ่งยวดของประเทศในการอยู่รอด (ซึ่งจีนมีแต้มต่อมากกว่าในเรื่องนี้) แต่ประชาชนทั้งอเมริกันและจีนคิดแบบเดียวกันไหม?

คนอเมริกันนั้นชัดเจนว่าไม่อยากทำงานโรงงาน ไม่อยากมานั่งอยู่ในสายพานผลิต iPhone (เหมือนมีมที่คนจีนเอามาแซะสหรัฐ) แต่คนจีนรุ่นใหม่เองก็มีแนวโน้มว่าไม่อยากทำงานหนักในโรงงานแล้วเช่นกัน ซึ่ง Xi เองก็เคยพูดไว้ตอนไปเยี่ยมชมโรงเรียนอาชีวะในปี 2021 ว่า เด็กและเยาวชนควรมาทำงานที่ตรงกับเป้าระยะยาวของประเทศ (หมายถึงงานโรงงาน) ไม่ควรไปมองว่ามีงานชั้นต่ำ (โรงงาน) หรือชั้นสูง (ออฟฟิศ) งานไหนที่ทำให้เราได้รับการยอมรับและมีผลตอบแทนที่ดี ย่อมเป็นงานที่ดี

แล้วประเทศที่เหลืออื่นๆ ในโลกต้องทำตัวอย่างไร ทางออกคงมีแค่ 3 ทางคือ เลือกข้างใดข้างหนึ่ง หรือไม่เลือกใครเลย แล้วติดอาวุธตัวเองให้พร้อมรับสงคราม (Welcome to the Jungle!)

Everyone else on the planet must deal with the fallout, while thinking long and hard about whether to trust either country — or to arm up themselves.

ผู้เขียนยกตัวอย่างสถานการณ์โลกช่วงสงครามเย็นยุค 1970s ที่ความไม่เชื่อใจระหว่างกันมีสูงมาก และกลายเป็นโจทย์สำคัญของนักการทูตอเมริกันยุคนั้น เพราะเมื่อหลายประเทศเริ่มไม่เชื่อใจอเมริกาว่าจะเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่ดีในระยะยาวได้ สิ่งที่ประเทศเหล่านั้นทำคือ เริ่มหาวิธีครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อการันตีอิสรภาพของตัวเอง ตัวอย่างประเทศเหล่านั้นคือ เกาหลีใต้ยุคผู้นำเผด็จการ Park Chung-hee

ผู้เขียนชี้ว่า อเมริกาในยุค Trump กำลังทำลายความเชื่อใจที่สั่งสมมา 80 ปีลงภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และหากอเมริกาต้องทำสงคราม ประเทศเหล่านี้ก็จะตัดสินใจยากขึ้นมากในการยืนอยู่ข้างอเมริกา

ทางออกที่เหมาะสมที่สุดในตอนนี้อาจเป็น เจรจากับอเมริกาเพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีในระยะสั้น อดทนรอเวลา 4 ปีให้จบ ในระหว่างนั้นก็เสริมสร้างความแข็งแกร่งของตัวเองในระยะยาว ไม่ให้ต้องพึ่งพาจีนหรืออเมริกามากเกินไป