in Politics

ผู้หญิงกับการเมืองไทย

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนมากใน “ม็อบปี 2020” คือเราเห็นผู้หญิงเข้าร่วมในสัดส่วนที่เยอะมากๆ จนเกิดคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงเห็นปรากฏการณ์แบบนี้

คำตอบที่ผมพยายามลองระดมสมองกับเพื่อนฝูงคือ

  • ผู้หญิงโดนกดขี่เยอะกว่ามาก โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษา (เราจึงเห็นเด็กๆ ผู้หญิงออกมาเปิดหน้าลุยม็อบในโรงเรียนเยอะมาก)
  • ผู้หญิงรุ่นใหม่ๆ ที่โตมากับวัฒนธรรม “ติ่ง” (ไม่ว่าจะเป็นนักร้องเกาหลี จีน หรือไทย) มีประสบการณ์เรื่อง organizer จัดกลุ่มกิจกรรมกันมาเยอะมากแล้ว การออกมาทำกิจกรรมแบบม็อบจึงเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ

แต่พอได้มาอ่านบทสัมภาษณ์ของ อ.สายชล สัตยานุรักษ์ (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ที่กำลังทำวิจัยเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของชนชั้นกลางไทย” เจอคำอธิบายที่เป็นวิชาการมากๆ จึงประทับใจมาก (หาคนอธิบายเรื่องนี้มานานแล้ว) และต้องมาจดเก็บไว้

กล่าวโดยสรุป

  • ผู้หญิงไทยถูกกดขี่จากโครงสร้างทางสังคมเยอะมาก มีกรอบมากมายให้ต้องปฏิบัติ ทั้งจากสังคมลงโทษตรงๆ และการลงโทษตัวเองจากความรู้สึกผิด (เช่น การไม่สามารถเป็นเมียหรือแม่ที่ดีได้) จนเกิด  ‘ความทุกข์ทนทางอารมณ์ความรู้สึก’ ตามคำของผู้วิจัย
  • ทางออกจึงเป็นการหนีไปยัง ‘ที่พักพิงอารมณ์ความรู้สึก’ ต่างๆ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหรือระบายความรู้สึก ตัวอย่างเช่น
    • การใช้โซเชียล เช่น การรวมกลุ่มเป็นชมรม (e.g. ชมรมแม่เลี้ยงเดี่ยว)
    • การแสดงออกผ่านนิยาย เช่น นิยายอีโรติกที่เขียนโดยผู้หญิง ตัวเอกทำในสิ่งที่ทำได้ยากในชีวิตจริง อย่าง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายพร้อมกัน 2 คน
    • การอ่านหนังสือ howto แนวเรียนรู้จากการล้มเหลว
    • การไปม็อบ ซึ่งในที่นี้รวมถึงม็อบอื่นๆ ในอดีตด้วย เช่น พันธมิตร นปช. กปปส.

การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นเหมือน ‘ที่ลี้ภัยทางอารมณ์ความรู้สึก’ ที่ทำให้ผู้หญิงมีอัตลักษณ์ใหม่ในฐานะผู้เสียสละ ยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อ ‘กู้ชาติ’ เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ในแง่นี้ การออกมามีบทบาทของนักเรียน-นักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ก็เป็นผลจากการปฏิเสธระเบียบแบบแผนในระดับโรงเรียนและสังคมไทยโดยรวม

ในบทสัมภาษณ์ยังมีประเด็นอื่นๆ อีก เช่น ความแตกต่างเชิง “คุณค่า” ของม็อบพันธมิตร-กปปส. vs ม็อบเสื้อแดง, บทบาทของปัญญาชนสายอนุรักษ์นิยมที่หายไปจากประเทศไทย เป็นต้น