in Football

What’s Wrong with Barcelona

ภาพประกอบจากเว็บไซต์ Barcelona FC

เคยเขียนเรื่อง Barcelona ไว้เมื่อปลายปี 2020 มาถึงวันนี้ก็เกือบครบปีพอดี มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนไปจากตอนนั้นมาก เช่น Messi ย้ายทีม, เปลี่ยนประธานสโมสรกลับมาเป็น Joan Laporta และล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคือปลด Ronald Koeman ออกจากผู้จัดการทีมแล้ว

ความตกต่ำของ Barcelona ในเชิงฟุตบอลเป็นเรื่องที่พอคาดเดาได้ แต่สิ่งที่เกินคาดคือปัญหาเรื่องการเงินอย่างหนักหน่วง ทำให้เราได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น อย่างการที่ Messi ต้องย้ายทีมไป PSG

เจอบทความใน FourFourTwo พูดถึงปัญหาการเงินของ Barcelona (และ Real Madrid ในระดับที่รองลงมา) ได้น่าสนใจดี เพราะบทความนี้ยังพูดถึง “ขาลง” ของลีกสเปนในภาพรวมด้วย

ประเด็นหลักของบทความคือชี้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญคือการขาย Neymar ให้กับ PSG เมื่อปี 2017 ด้วยค่าตัวที่เป็นสถิติโลกคือ 222 ล้านยูโร ซึ่งไม่น่าจะมีใครเทียบเคียงได้อีกแล้วในอนาคตอันใกล้นี้

ในแง่ฟุตบอล Barcelona อาจเสียผู้เล่นคนสำคัญไป แต่ในแง่การเงิน กลายเป็นว่า Barcelona เหมือนเป็นคนถูกหวยรางวัลที่ 1 มูลค่า 8 พันล้านบาท สิ่งที่เกิดขึ้นคือความงงว่าจะใช้เงินอย่างไรดี

ผลคือท่านประธาน Bartomeu เลยใช้เงินเป็นน้ำ ซื้อแหลกทันที ในราคาที่แพงด้วย

Desperate to be remembered as the most successful Barça president of all time, having been at the helm for the 2014/15 Champions League triumph, Josep Maria Bartomeu spent like a toddler let loose in a sweet shop with mummy’s plastic. In 2017/18, he dropped an initial €105m and €120m on Ousmane Dembele and Philippe Coutinho respectively; the next season, it was €35m on Clement Lenglet, €31m on Arthur and another €41m on Malcom, who made 24 outings before being sold to Zenit (albeit for roughly the same fee) 12 months later. Last summer’s spending was more circumspect, but only after Bartomeu had plurged €273m on seven players in 2019/20, including Antoine Griezmann, Frenkie de Jong and reserve goalkeeper Neto.

ลองไล่ดูข้อมูลจาก Transfermarkt ถ้านับเฉพาะตัวแพงๆ หน่อย

  • 2017/2018 €375
    • Philippe Coutinho (Liverpool) €135
    • Ousmane Dembélé (Dortmund) €135
    • Paulinho (Evergrande) €40
  • 2018/2019 €141
    • Malcom (Bordeux) €41
    • Clement Langlet (Sevilla) €36
  • 2019/2020 €301
    • Antoine Griezmann (Atletico Madrid) €120
    • Frenkie de Jong (Ajax) €86
  • 2020/2021 – €112
    • Miralem Pjanic (Juventus) €60
    • Trincao (Braga) €31

จะเห็นว่า 4 ฤดูกาลหลังสุด ทีมใช้เงินกับการซื้อ (ซื้ออย่างเดียวไม่นับขายออก) ไปทั้งหมด 929 ล้านยูโร อีกนิดเดียวก็แตะพันล้านแล้ว เทียบกับฤดูกาล 21/22 ที่ถังแตกแล้ว ใช้เงินซื้อนักเตะไปแค่ 14.5 ล้านยูโรเท่านั้น

หากเทียบ 4 ฤดูกาลเดียวกัน ตัวเลขเงินที่ได้จากการขายนักเตะออกไปรวมกัน 672 ล้านยูโร (ในจำนวนนี้คือ Neymar 222 ล้านยูโรด้วยนะ) ขาดทุนไป 257 ล้านยูโรเลยทีเดียว

และถ้าเราดูตัวเลขของฤดูกาล 2017/2018 ที่ขาย Neymar แล้วซื้อ 2 ดารามาแทนคือ Coutinho + Dembele ก็จะเห็นว่าขาดทุนไปแล้วตั้งแต่ตอนนั้น

ตัวเลขที่ยกมานั้นเป็นเรื่องค่าตัวอย่างเดียว ส่วนเรื่องผลงานในสนาม อันนี้คงมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องอีกมาก (การซื้อตัวมันก็ไม่ได้สำเร็จกันง่ายๆ) แต่นักเตะที่แพงที่สุด 3 คนคือ Coutinho + Dembele + Griezmann (ค่าตัวรวมกัน 390 ล้านยูโร) สรุปแล้วก็ถือว่าล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จในระดับที่เหมาะสมกับค่าตัว (ในรายชื่อข้างต้นที่ยกมา น่าจะมีแค่ de Jong คนเดียวที่ถือว่าคุ้มค่าตัว)

เมื่อบวกกับประเด็นเรื่องค่าเหนื่อยของนักเตะซูเปอร์สตาร์เหล่านี้อีก และกฎ Financial Fair Play ของลาลีกา ทำให้ Barcelona ประสบปัญหาหนี้ท่วม 1.35 พันล้านยูโร บีบให้ Messi ต้องย้ายทีมเพราะค่าเหนื่อยรวมทั้งทีมทะลุเพดาน

ในบทความมีมุมมองวิจารณ์ว่า หาก Barcelona ยับยั้งชั่งใจกว่านี้หน่อย ได้เงินจากการขาย Neymar ก้อนใหญ่แล้วค่อยๆ ซื้อนักเตะในปีถัดมา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหากมองย้อนกลับไป

If the club had approached this calmly, like a more normal club, you say, ‘OK, maybe we don’t win anything this year, but that proves that we actually need guys like Dembele or Coutinho’.”

บทความยังพูดถึงสถานการณ์ของ Real Madrid ว่าดีกว่ากันพอสมควร เพราะประธาน Florentino Perez ค่อนข้างควบคุมรายจ่ายได้ดีกว่า นักเตะที่ราคาแพงเกิน 100 ล้านยูโรมีเพียง Eden Hazard คนเดียว 146 ล้านยูโร

ถ้าเทียบกันใน 4 ฤดูกาลเดียวกัน (17/18 จนถึง 20/21) Real Madrid ใช้เงินซื้อนักเตะไป 355.5 ล้านยูโร (แถมปี 20/21 ไม่ซื้อใครเลยสักคน ใช้เงิน 0 ยูโร และปี 21/22 ใช้เงิน 31 ล้านยูโร) ในขณะที่ขายนักเตะออกไปได้เงิน 507.8 ล้านยูโร มีกำไร 152 ล้านยูโรด้วยซ้ำ (ถ้านับฤดูกาล 21/22 ด้วย กำไรเพิ่มเป็นเกือบ 200 ล้านยูโรใน 5 ฤดูกาล)

ขายนักเตะมีกำไรเท่านั้นยังไม่พอ ปัญหา COVID ยังทำให้ท่านประธาน Perez ต้องมองหาวิธีทำเงินใหม่ๆ ซึ่งผลก็คือโครงการ Superleague ที่ล้มเหลวไปด้วย (เรียกว่าเรื่องธุรกิจแกเก่งจริงๆ)

จากปัญหาการเงินของ Barcelona และการประหยัดของ Real Madrid ย่อมทำให้ทั้งสองสโมสรไม่ซื้อตัวบ้าเลือดเหมือนช่วง 4-5 ปีก่อนอีกแล้ว และคงเป็นแบบนี้ไปอีกสักพักใหญ่ๆ ทั้งสองสโมสรน่าจะหันไปใช้เด็กปั้น (เช่น Ansu Fati) เซ็นฟรี (เช่น David Alaba, Sergio Aguero หรือ Memphis Depay) หรือซื้อตัวที่คุ้มค่ามากขึ้น

ผลคือระดับของทีมในลาลีกลาจะสูสีมากขึ้น (ดังเห็นได้จากการคว้าแชมป์ของ Atletico ในฤดูกาลที่แล้ว 20/21) ซึ่งเป็นเรื่องดี แม้ผลการแข่งขันใน Champions League ของทีมสเปนอาจดร็อปลงหน่อย ไม่ได้ผูกปี ทีมสเปนครองแชมป์ 5 ปีติดต่อกัน เหมือนช่วงฤดูกาล 13/14 – 17/18 อีกแล้ว