in Technology

Unity’s Metaverse

เขียนเรื่อง นิยาม Metaverse ของ Epic ไปแล้ว ตอนที่สองในซีรีส์นี้ เรามาดูมุมมองของ Unity ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Epic ในตลาดเอนจินเกมกันบ้าง

เว็บไซต์ Protocol มีสัมภาษณ์ John Riccitiello ซีอีโอของ Unity ในประเด็นนี้พอดี

คำถามแรกที่ Riccitiello คือนิยามคำว่า Metaverse ของคุณคืออะไร คำตอบคือ ควรมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3-4 อย่างนี้ (อาจไม่ต้องครบทุกอย่างก็ได้)

  • real time
  • social
  • interactive
  • persistent
  • 3D

It’s the next version of the internet. It’s always in real time. It’s often some combination of social, interactive, persistent and 3D, but doesn’t have to be all of those kinds of things. Most things will be three or four of those.

นอกจากนี้เขายังมองนิยามในมุมกว้าง ว่าจะเป็น digital ล้วนๆ (VR) หรือจะเชื่อมกับโลกจริง (mixed reality หรือ AR) ก็ได้เช่นกัน มุมมองของเขายังกว้างมากถึงระดับว่า ถ้ามีเว็บไซต์อยู่แล้วก็มี metaverse ได้เยอะในระดับเดียวกัน

It can be fully digital, [or] a blend [between digital and the real world]. Most companies that have a website today are going to have a metaverse destination. You’re going to have millions, if not billions, of destinations. They will be way more compelling than what we have today.

มุมมองของเขายังต่างจากแนวคิดแบบ Meta หรือ Epic ที่เน้น “อวตาร” โดยเขาบอกว่าอาจจะมีหรือไม่ต้องมีอวตารก็ได้

งานหลายอย่างไม่จำเป็นต้องมีอวตารเสมอไป เช่น การซื้อหนังสือบน Amazon ไม่จำเป็น การจองโรงแรมก็ไม่จำเป็นต้องมีอวตารไปยืนเช็คอิน แต่อาจอยากเข้าไปลองเดินดูสภาพห้องจริงๆ ก่อนจองว่าเป็นอย่างไรก็ได้

Yes, there will be avatars. Avatars are useful in some circumstances, but not in most cases, to be honest. I certainly don’t think I need an avatar to buy a book on Amazon. It’s kind of pointless, counterproductive. If I was trying to make a hotel reservation online, I wouldn’t physically want to embody an avatar and stand in line for 15 seconds and have an avatar check me in.

I’d want a Shopify kind of experience. It recognizes who I am, my credit card, etc. It’s over in a matter of seconds. However, I might want to stand in a fully scanned room where I could look out the window and see if the view is what I think it is. How many times have you checked into a hotel room and been disappointed?

เขายังวิจารณ์ว่าแนวคิด “อวตาร” ประจำตัวที่ใช้แบบเดียวกันทุกหนทุกแห่ง นั้นมาจากบริษัทที่อิงกับอัตลักษณ์ของบุคคล (ในที่นี้คือ Meta/Facebook) แต่มุมของเขาคือ เรามีอวตารแต่ละแบบใช้กับงานแต่ละอย่างที่ต่างกันไปได้

The universal avatar is born of a business strategy to propound the success of an identity-centric business model. It’s a very company-centric viewpoint around identity. I think you’re going to want different avatars for different use cases.

เรื่องของการสร้าง “โลก” ลักษณะเดียวกับ Fortnite, Roblox, Meta Horizon นั้นเขาบอกว่า Unity ไม่สนใจไปทำแข่งกับพาร์ทเนอร์ เน้นการสร้างเครื่องมือให้พาร์ทเนอร์ดีกว่า ซึ่งเขายอมรับว่ามุมมองนี้แตกต่างไปจากของ Tim Sweeney

Part of that is that we don’t compete with our customers. 

I actually think Tim is great. I really love having the competition, and I love Fortnite. I just think we’re trying to do different things. I’m not trying to be a game company. I’m trying to be a content creation and operations platform. 

เขายังเห็นต่างกับ Tim Sweeney ในเรื่อง use case ว่าควรเป็นเรื่องของเกม หรืออย่างอื่นที่กว้างกว่าเกม มุมมองของเขาคือ ตลาดเกมเมอร์มีจำนวนจำกัดกว่า (200 ล้านคน) ในขณะที่ผู้ใช้มือถือมี 4 พันล้านคน หรือ Facebook มีผู้ใช้หลักพันล้านคน

เขาจึงมองว่า Metaverse ควรมีความเป็น real-time 3D interactive social platform ลักษณะเดียวกับ TikTok, Facebook, Instagram ซึ่งมันยังไม่เกิดขึ้น เขาไม่รู้ว่าใครจะทำสำเร็จ รู้แต่ว่า Unity จะเป็นคนสร้างเครื่องมือเพื่อเปิดโอกาสให้คนมาลองทำได้สำเร็จ

The other thing is: Sites like Facebook reached [billions of] users. Games at their very best top out at about 100 million MAUs. I do believe someone’s going to figure out a real-time 3D interactive social platform that starts to reach TikTok numbers, or Facebook numbers, or Instagram numbers. We haven’t seen that yet, but that’s one of the killer apps that will be spawned by the metaverse.

แต่ก็มิวาย หยามกันเห็นๆ ว่าไม่ใช่ Meta แน่ๆ เพราะยึดติดกับอวตารมากเกินไป (ฮา)

There’s no doubt someone’s going to do what Meta’s Horizon tries to do. But I don’t think it’s Horizon. Part of the issue [is that] it’s awfully trapped in a weird view of avatars.

กล่าวโดยสรุป มุมมองของ Unity นั้นก็สะท้อนโมเดลธุรกิจของ Unity ที่แตกต่างจาก Epic อย่างชัดเจนตามไปด้วย เพราะ Unity ไม่มีเกมและโลกของตัวเอง (Fortnite) ไม่มีฐานผู้ใช้ของตัวเองโดยตรง (Meta/Facebook) แต่เป็นคนทำ tools อย่างเดียว จึงปฏิเสธการตีกรอบตัวเองไว้ที่ “เกม” และ “อวตาร” และพยายามเสนอมุมมอง Metaverse ที่กว้างกว่าและหลวมกว่านั้นมาก