ในฐานะคนทำองค์กรสื่อ ก็พยายามคิด process การทำงานให้คล่องตัว ยืดหยุ่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (คือเราอยากได้องค์กรแบบไหนก็พยายามสร้างแบบนั้น) ซึ่งก็มาจบที่งานกึ่งๆ remote working ที่สอดคล้องกับธรรมชาติคนทำคอนเทนต์ (และงานสายข่าว)
เมื่อต้องทำงานแบบไม่พบเจอหน้ากันมากนัก จึงพยายามหา tools มาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ชดเชยจุดอ่อนหลายๆ อย่างของ remote working ที่ความสัมพันธ์ในทีมอาจไม่เหนียวแน่นมากนัก
หลังจากลองผิดลองถูกมาเองในระดับหนึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ แต่การได้อ่านเส้นทางของคนอื่นๆ ที่มีโจทย์คล้ายๆ กัน ก็เป็นเรื่องดีที่ได้มาเรียนรู้เช่นกัน
Ars Technica เว็บไซต์ไอทีที่ติดตามมานานหลายปี (ผมจ่าย Ars Pro ด้วยนะ!) เพิ่งมีบทความเผยรายละเอียดการทำงานของ Ars ที่ไม่มีออฟฟิศเลย! ทุกคนทำงานแบบ remote ทั้งหมด ก็ถือเป็นอีกสุดทางที่ไปไกลกว่าเรามาก
ในแง่ของ tools ก็คงไม่ต่างกันนัก (E-mail, G Suite, Slack, CMS อย่าง WordPress/Drupal) สิ่งที่น่าสนใจคงเป็นเรื่อง process ที่ของเขาชัดเจนกว่า (มีการใช้ spreadsheet ติดตามงาน) และการพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงาน เพื่อแก้จุดอ่อนของ remote working (กรณีของ Ars คือทุกคนกระจายตัวกันอยู่ทั่วอเมริกา ดังนั้นจะไม่มีโอกาสเจอหน้าเพื่อนร่วมงานสักเท่าไรนัก)
So we chat in Slack, email with GSuite, coordinate with Sheets, write in WordPress, and talk with OnSIP. If that sounds like a basic set of tools—well, it is a basic set of tools.
One of the secrets—perhaps the biggest secret—to getting good work out of good people is figuring out how much oversight is necessary and then getting out of the way. Advanced software tools and fancy hardware can help with that goal, but ultimately the people and policies your organization deploys matter more than the tools themselves. This holds true in workplaces both traditional and remote—and it will be true in the workplace of the future, too.
Is Ars Technica working in the future? We like to think so, even though we’re not using augmented reality to edit stories or engaging in other hyper-futuristic craziness.
อ่านบทความจบก็ได้ไอเดียหลายอย่างไปลองทำบ้าง จะได้ผลหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องนึง