อ่านบทความนี้ใน The New Yorker น่าสนใจดีครับ เลยอยากเขียนถึงสักหน่อย
บทความพูดถึงเทคโนโลยี (ด้านอะไรก็ได้ แต่ในบทความเน้นไปด้านการแพทย์) ที่ราคาถูกในระดับที่คนในประเทศยากจนเข้าถึงได้ ตัวเทคโนโลยีเองไม่จำเป็นต้องมีอะไรซับซ้อน แต่เน้นการแปลงเทคโนโลยีราคาแพงในประเทศกำลังพัฒนา กลายร่างมาเป็นเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน ใช้แทนกันได้ แต่ราคาถูก ผลิตเองได้ ดูแลรักษาง่าย ฯลฯ
ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้แหละ ที่มีบทบาทช่วยชีวิตคนจำนวนมหาศาล
เทคโนโลยีพระเอกในบทความนี้คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า ESM-UBT (ESM ย่อมาจาก Every Second Matters) มันคือถุงยางพองลมที่ใส่ในช่องคลองของสตรีที่เพิ่งคลอดลูก (ตามภาพในพรีวิว) เพื่อลดอาการตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage หรือ PPH) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตหลังคลอดลูก (ประมาณว่าเบ่งตลอดนานเกินไป ช่องคลอดหมดพลัง และเลือดออกไม่หยุดจนตาย)
อุปกรณ์ ESM ตัวนี้ช่วยให้ผู้หญิงรอดชีวิตได้ 97% โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และมันไม่มีสิทธิบัตรใดๆ ทำให้โรงพยาบาลในประเทศต่างๆ สามารถผลิตใช้เองได้
Thomas Burke ผู้คิดค้นอุปกรณ์นี้ มีแนวทางที่เรียกว่า Bottom-up คือต้องถูก ผลิตเองได้ และยั่งยืน เพื่อให้โรงพยาบาลที่ห่างไกลสามารถใช้งานมันได้ในระยะยาว ประโยคที่อ่านแล้วจุกอกคือ
“you can go to almost any hospital in the world in a poor setting, and you can see piles of technologies that have been presented from do-gooders.” But, without the right supply chains or technical support, such “upstream” solutions quickly surrender to a sort of reverse obsolescence
เรียกว่าใจบุญ บริจาคของไฮเทคราคาแพงให้ชนบทห่างไกลอย่างเดียวไม่พอ เพราะมันไปแต่ตัวของ แต่ ecosystem (ที่ราคาแพงพอกัน) ไม่ได้ตามไปด้วย
อีกประเด็นที่น่าสนใจในบทความคือ ด้วยความบีบคั้นของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย ทำให้เกิดเทคโนโลยีราคาถูก (แต่ดันเวิร์ค) ลักษณะเดียวกันหลายอย่าง แต่พอจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้กลับไปใช้ในประเทศรวยๆ แล้วอย่างสหรัฐ ก็โดนสกัดดาวรุ่งจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (เช่น บริษัทยาที่ขายของแพงๆ รวมถึงบุคลากรด้านการแพทย์) ว่าของมันถูกขนาดนี้จะใช้ได้จริงๆ เหรอ คุณภาพจะดีจริงเหรอ
But reverse innovation can be a hard sell in the U.S. First, there’s entrenched cultural bias: How can we learn something from a place we are sending our expertise to?
พอโดนเบรกแบบนี้ ทำให้นวัตกรรมกลับทิศ (reverse innovation) จากประเทศด้อยพัฒนากลับไปยังประเทศพัฒนาแล้วมันยากขึ้น คนที่ซวยก็คือ คนจนหรือคนในชนบทห่างไกลของอเมริกาเนี่ยแหละ ที่พลาดโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์การแพทย์ราคาถูกที่ช่วยพลิกชีวิตได้นั่นเอง