in Economics

Reindustrialization

วันก่อนเจอมิตรสหายท่านหนึ่ง ทักว่าให้ไปดูนโยบายอุตสาหกรรมของประธานาธิบดี Macron ของฝรั่งเศสที่เพิ่งประกาศออกมา เลยลองไปตามอ่านดู พบว่าน่าสนใจจริงๆ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม Macron ประกาศนโยบายชื่อ France 2030 เป็นแผนการลงทุนขนาด 30,000 ล้านยูโร ในอุตสาหกรรม 10 สาขา

ในแง่หนึ่งมันเป็นการประกาศนโยบายเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง (ฝรั่งเศสจะเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนเมษายน 2022) แต่ในอีกแง่หนึ่ง มันก็สะท้อนมุมมองทางเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐด้วยเช่นกัน

ขณะที่โลกกำลังพูดถึง soft power หรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็น disruption แต่ Macron กลับพาเราหวนคืนสู่ “อุตสาหกรรมหนัก” อีกครั้ง

คลิปข่าวสรุปภาษาอังกฤษ

คลิปเต็ม (ภาษาฝรั่งเศส)

เนื่องจากผมอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออก ได้แต่อ่านข่าวฉบับภาษาอังกฤษ แต่สื่อหลายเจ้า (France24, FT) ใช้คำเดียวกันว่า “reindustrialization” กลับมาลงทุนในอุตสาหกรรมอีกครั้ง หลังจากห่างหายกันไปนาน โดยมีเป้าหมายเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดการพึ่งพาซัพพลายเชนต่างชาติ

Macron said France had taken key decisions “15-20 years later than some of our European neighbours” and now needed “to become a nation of innovation and research again”.

The spending was to address “a kind of growth deficit” for France brought on by insufficient investment in the past

คำว่าอุตสาหกรรมอาจดูไม่เซ็กซี่แล้ว ในยุคดิจิทัล หรือภาคบริการเติบโต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมยังเป็นกลจักรสำคัญของเศรษฐกิจโลกอยู่เสมอ

คำว่าอุตสาหกรรมเป็นคำที่มีความหมายกว้างในตัวของมันเอง (ความหมายกว้างมากคือ ไม่ใช่เกษตร ไม่ใช่ภาคบริการ) ครอบคลุมไปตั้งแต่อุตสาหกรรมแบบเก่าอย่างทำเหมืองหรือต่อเรือ แต่ reindustrialization ในมุมมองของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติอุตสาหกรรมสำคัญชาติหนึ่งของโลก (ผู้ให้กำเนิด Airbus หรือ Peugeot) มองเห็นอะไร (เปิดมาข้อแรก พี่ก็ทำนิวเคลียร์เลย)

แผนการของ Macron มีทั้งหมด 10 ข้อ ครอบคลุม 6 เซกเตอร์ (ฉบับแปลอังกฤษ คัดมาจากเว็บไซต์ Business France ของรัฐบาลฝรั่งเศส มีละเอียดกว่านี้ในเว็บของรัฐบาล แต่เป็นภาษาฝรั่งเศส)

€8 billion for the energy sector:

 Objective 1: To help develop innovative, small-scale nuclear reactors, with better waste management.

 Objective 2: To become the leader in green hydrogen. In 2030, France will have at least two gigafactories of electrolyzers, mass producing hydrogen and all useful associated technologies.

 Objective 3: To decarbonize France’s industry by reducing greenhouse gas emissions by 35% compared with 2015.

€4 billion for future transport:

 Objective 4: To produce nearly two million electric and hybrid vehicles.

 Objective 5: To produce the first low-carbon aircraft.

€2 billion for the food sector

 Objective 6: To invest in a healthy, sustainable and traceable diet.

€3 billion for the health sector

 Objective 7: To produce 20 biopharmaceuticals against cancer and chronic diseases, including those related to age, and to create the medical devices of tomorrow.

Investing in the culture field

 Objective 8: To place France once again at the head of cultural and creative content production. Three strategic regions have been identified: the Mediterranean Arc, Ile de France (Paris region) and the Nord. They will be the three great factories of the French Touch.

€2 billion for space and sea beds:

 Objective 9: To play our role in new space adventures.

 Objective 10: To invest in the field of sea beds.

5 ข้อแรกของ Macron เป็นเรื่องอุตสาหกรรมพลังงานและคมนาคม (อุตสาหกรรมหนักล้วนๆ) มีตั้งแต่พลังงานนิวเคลียร์ ไฮโดรเจน รถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตเครื่องบิน เพียงแต่หันมาเน้นเรื่องพลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงานฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอน

2 ข้อถัดมาเป็นเรื่องสุขภาพ นั่นคืออาหารและการแพทย์ ประเด็นน่าสนจะอยู่ที่เรื่องการแพทย์ โดย Macron ระบุว่าในวิกฤต COVID บริษัทยาฝรั่งเศสกลับไม่สามารถพัฒนาวัคซีนออกมาได้เลย มันต้องมีปัญหาแล้วล่ะ ต้องกลับมาลงทุนจริงจังในเซกเตอร์นี้

ข้อที่ 8 เป็นเรื่อง soft power ทั้งเรื่องวัฒนธรรม การท่องเที่ยว (ใช้วิธีคิดแบบ region โฟกัสตามภูมิภาค) และพ่วงด้วย 2 ข้อสุดท้ายคือการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ทั้งอวกาศ (พูดชัดเลยว่าอยากมีแบบ SpaceX) และทะเลลึก (เขายกตัวอย่างเรื่องการขุดแร่ในทะเล)

นอกจากนี้ Macron ยังพูดถึง 5 ปัจจัยพื้นฐานที่ต้องมีสำหรับแผนการลงทุนอุตสาหกรรม ได้แก่

  1. Material – วัสดุพื้นฐาน ตั้งแต่ไม้ เหล็ก แร่หายาก
  2. Component – ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน แถมยุโรปผลิตได้แค่ 10% ของโลก
  3. Digital Technology
  4. Talent – การลงทุนในคน
  5. Capital – แหล่งเงินทุน รวมถึงมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้ลงทุน

ช่วงหลังเราเห็นผู้นำชาติตะวันตกหลายชาติ เริ่มออกมาพูดเรื่องแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ ที่เคยเขียนถึงไว้คือ UK New Deal ของ Boris Johnson และ Build Back Better ของ Joe Biden