in Knowledge

New Era of Nuclear Reactors

อ่านเรื่อง Emmanuel Macron จะกลับมาทำพลังงานนิวเคลียร์อีกรอบ แล้วมาเจอบทความใน TIME พูดถึงบริษัทที่สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยุคใหม่พอดีc9j

ข้อดีของ พลังงานนิวเคลียร์คือ 1) ราคาต่อหน่วยถูก (เมื่อเทียบกับถ่านหินหรือน้ำมัน) และ 2) สะอาด เพราะไม่ปลดปล่อยคาร์บอน

ปัญหาคือ 3) เรื่องความปลอดภัย เพราะกรณีของ Chernobyl หรือ Fukushima ทำให้คนกลัว และ 4) ต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีราคาแพง

ปัญหาข้อ 4) ทำให้มีสตาร์ตอัพหลายรายพยายามแก้ไข โดยพัฒนาเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ๆ ที่ขนาดเล็กลง ใช้ต้นทุนน้อยลง

บทความใน TIME ได้หยิบเอารายชื่อบริษัทสตาร์ตอัพด้านนิวเคลียร์มาไว้ดังนี้

  • Oklo บริษัทหลักที่พูดถึงในบทความ เน้นสร้างเตานิวเคลียร์ขนาดเล็ก อยู่ใต้ดิน ใช้ในพื้นที่ห่างไกล เช่น Alaska ที่ต้นทุนค่าขนน้ำมันมีราคาแพงมาก เตามีขนาดพลังงาน 1-2 MW อย่างไรก็ตาม Oklo ยังไม่ได้ผลิตเตาจริงๆ ในตอนนี้

  • NuScale เตามีขนาด 77 MW ใช้เทคนิคการต้มน้ำเพื่อปั่นกังหัน แต่เป็นเตาขนาดเล็กที่เรียกว่า Small Modular Reactor (SMR) ซึ่งผ่านการอนุมัติใช้งานจริงในสหรัฐแล้ว

  • TerraPower เป็นบริษัทที่ Bill Gates ไปลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 2006 โดยเขานั่งเป็นประธานบอร์ดด้วย เทคโนโลยีจะต่างจากเจ้าอื่นๆ ตรงที่ได้ความร้อนจากนิวเคลียร์มาแล้วไม่ต้องเอาไปต้มน้ำเพื่อหมุนกังหัน แต่กักเก็บความร้อนไว้ในรูป “เกลือ” (hot salt) แทน

  • X-energy เตามีขนาด 80 MW เป็นการใช้เทคนิคเก็บยูเรเนียมในก้อนกลมๆ ที่เรียกว่า Pebble ตัวอย่างตามคลิป XE-100

เนื่องจากไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางเทคนิคของพลังงานนิวเคลียร์มากนัก เลยมาจดไว้เป็นลิสต์ก่อนเฉยๆ ยังไม่กล้าแสดงความเห็น

อัพเดต: 26 พ.ย. 2021

เจออีกบทความใน BBC พูดเรื่องเดียวกัน แต่เป็นบริษัทอีกชุดนึง

  • Seaborg Technologies บริษัทจากเดนมาร์ก ทำเตานิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบใส่เรือได้เลย มีเทคนิคที่น่าสนใจคือใช้เกลือเป็นตัวควบคุมปฏิกิริยา ถ้าเตาระเบิด ก็มีแต่เกลือกระจายออก
  • Rolls-Royce ก็มีทำเตานิวเคลียร์ 470MW ได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ เตาใช้พื้นที่ไม่มาก ต้นทุนประมาณ 2 พันล้านปอนด์ต่อเตา เทียบกับเตาแบบเดิมใช้ต้นทุน 23 พันล้านปอนด์
  • Radiant Nuclear บริษัทจากแคลิฟอร์เนีย ทำเตาขนาดเล็กระดับใส่คอนเทนเนอร์ได้ แต่กว่าต้นแบบจะเสร็จต้องรอปี 2026