อ่านเรื่อง Emmanuel Macron จะกลับมาทำพลังงานนิวเคลียร์อีกรอบ แล้วมาเจอบทความใน TIME พูดถึงบริษัทที่สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยุคใหม่พอดีc9j
TIME
ข้อดีของ พลังงานนิวเคลียร์คือ 1) ราคาต่อหน่วยถูก (เมื่อเทียบกับถ่านหินหรือน้ำมัน) และ 2) สะอาด เพราะไม่ปลดปล่อยคาร์บอน
ปัญหาคือ 3) เรื่องความปลอดภัย เพราะกรณีของ Chernobyl หรือ Fukushima ทำให้คนกลัว และ 4) ต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีราคาแพง
ปัญหาข้อ 4) ทำให้มีสตาร์ตอัพหลายรายพยายามแก้ไข โดยพัฒนาเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ๆ ที่ขนาดเล็กลง ใช้ต้นทุนน้อยลง
บทความใน TIME ได้หยิบเอารายชื่อบริษัทสตาร์ตอัพด้านนิวเคลียร์มาไว้ดังนี้
- Oklo บริษัทหลักที่พูดถึงในบทความ เน้นสร้างเตานิวเคลียร์ขนาดเล็ก อยู่ใต้ดิน ใช้ในพื้นที่ห่างไกล เช่น Alaska ที่ต้นทุนค่าขนน้ำมันมีราคาแพงมาก เตามีขนาดพลังงาน 1-2 MW อย่างไรก็ตาม Oklo ยังไม่ได้ผลิตเตาจริงๆ ในตอนนี้
- NuScale เตามีขนาด 77 MW ใช้เทคนิคการต้มน้ำเพื่อปั่นกังหัน แต่เป็นเตาขนาดเล็กที่เรียกว่า Small Modular Reactor (SMR) ซึ่งผ่านการอนุมัติใช้งานจริงในสหรัฐแล้ว
- TerraPower เป็นบริษัทที่ Bill Gates ไปลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 2006 โดยเขานั่งเป็นประธานบอร์ดด้วย เทคโนโลยีจะต่างจากเจ้าอื่นๆ ตรงที่ได้ความร้อนจากนิวเคลียร์มาแล้วไม่ต้องเอาไปต้มน้ำเพื่อหมุนกังหัน แต่กักเก็บความร้อนไว้ในรูป “เกลือ” (hot salt) แทน
- X-energy เตามีขนาด 80 MW เป็นการใช้เทคนิคเก็บยูเรเนียมในก้อนกลมๆ ที่เรียกว่า Pebble ตัวอย่างตามคลิป XE-100
เนื่องจากไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางเทคนิคของพลังงานนิวเคลียร์มากนัก เลยมาจดไว้เป็นลิสต์ก่อนเฉยๆ ยังไม่กล้าแสดงความเห็น
อัพเดต: 26 พ.ย. 2021
เจออีกบทความใน BBC พูดเรื่องเดียวกัน แต่เป็นบริษัทอีกชุดนึง
www.bbc.com
- Seaborg Technologies บริษัทจากเดนมาร์ก ทำเตานิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบใส่เรือได้เลย มีเทคนิคที่น่าสนใจคือใช้เกลือเป็นตัวควบคุมปฏิกิริยา ถ้าเตาระเบิด ก็มีแต่เกลือกระจายออก
- Rolls-Royce ก็มีทำเตานิวเคลียร์ 470MW ได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ เตาใช้พื้นที่ไม่มาก ต้นทุนประมาณ 2 พันล้านปอนด์ต่อเตา เทียบกับเตาแบบเดิมใช้ต้นทุน 23 พันล้านปอนด์
- Radiant Nuclear บริษัทจากแคลิฟอร์เนีย ทำเตาขนาดเล็กระดับใส่คอนเทนเนอร์ได้ แต่กว่าต้นแบบจะเสร็จต้องรอปี 2026