in Thoughts

Frictionless Life จุดสูงสุดของชีวิตทุนนิยม

เจอบทความที่อ่านแล้วชอบใน Financial Times พูดถึง “จุดสูงสุดของชีวิตทุนนิยม” (ต้นฉบับใช้คำว่า the zenith of civilisation อันนี้ก็เวอร์ไปนิดนึง) ที่เกิดขึ้นช่วงกลางปี 2017

ในโลกยุคที่ยังไม่มี COVID ระบาด เรายังเดินทางไปไหนมาไหนกันได้สะดวกมาก และเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังดี ไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน น้ำมันยังถูก ช่วงเวลานั้นยังเกิดบริษัทสตาร์ตอัพด้านบริการมากมาย ที่มีเงินทุนหนุนหลังมหาศาล พร้อม “ทุ่มตลาด” เพื่อชิงฐานลูกค้า ผลคือลูกค้าก็สะดวกสบาย ได้บริการโน่นนี่ลอยมาถึงในราคาที่ถูกมาก

ซึ่งทั้งหมดในย่อหน้าที่ผ่านมา มันหายไปหมดแล้วในปี 2022 หลังจากเราเจอทั้ง COVID ที่ทำให้ไปไหนไม่ได้ สงครามรัสเซีย ภาวะขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อ น้ำมันแพง สินค้าแพงและขาดตลาด คนทำงานบริการหดหายไปหมด และบริษัทสตาร์ตอัพเหล่านั้นเริ่มประสบปัญหาเรื่องการเงิน จนต้องขึ้นราคาบริการที่เคยถูกมากๆ

As any frequent traveller or goer-out knows, that Eden has passed. It was built on abundant labour and easy funding rounds for unprofitable companies in a zero-interest rate world. It was built on a co-operative US and China and therefore a well-oiled globalisation. As all these conditions fall away, the arteries of modern life fur and clog.

ผู้เขียนเรียกโลกปี 2017 ว่า frictionless life ชีวิตที่ไร้แรงเสียดทาน ทุกอย่างง่ายและสบายไปหมด

“Anything that you could possibly want,” Noel Gallagher once said, describing life as a rock star, “you got two of.” What the economy of the last decade did was bring an approximation of rock-star convenience to millions of people across several international cities.

ผมคิดว่าการเปรียบเทียบในแง่มุมนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ปกติแล้วเรามักจินตนาการถึงโลกที่ก้าวหน้าขึ้น สะดวกสบายขึ้นเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

แต่เมื่อโลกยุคหลังปี 2017 เป้นต้นมา เกิด “ซีรีส์แห่งความฉิบหาย” ตั้งแต่อเมริกาทะเลาะกับจีน ภาวะโรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจที่กระจายตัวไปทั่วโลก คุณภาพชีวิตที่ “แสนสะดวกสุดๆ” มันก็ดร็อปลงไป

แน่นอนว่าโลกในปี 2022 ก็มีหลายอย่างที่ดีขึ้นกว่าปี 2017 (หรือ 2015) และสุดท้ายแล้ว ความย่ำแย่ของโลกปี 2022 มันจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นเอง (เช่น น้ำมันกลับมาถูกลง สินค้าหาง่ายขึ้น) แต่บางเรื่องที่เกิดขึ้นในระหว่างทาง มันก็เปลี่ยนโลกไปแล้วอย่างถาวรเช่นกัน (เช่น โรคระบาดกลายเป็นเรื่องปกติ แรงงานน้อยก็อาจน้อยตลอดไป) มันก็น่าตั้งคำถามอีกเหมือนกันว่า สุดท้ายแล้วมันจะนำพาเราไปสู่โลกแบบไหนในอนาคตอันใกล้นี้

ภาพประกอบจาก Uber