อ่านบทความเรื่องการล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้ของประเทศจีนใน Nikkei Asia ซึ่งเขียนโดย Nina Xiang คนจีนที่ทำงานด้านสื่อ-การลงทุน (เท่าที่เข้าใจ เธอน่าจะอยู่ในฮ่องกง เลยกล้าวิจารณ์รัฐบาลจีนพอสมควร)
บทความของ Xiang เปรียบเทียบการล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้และเมืองใหญ่ของจีนในยุคของสีจิ้นผิง กับการปฏิวัติวัฒนธรรมในยุคของเหมาเจ๋อตง (Cultural Revolution 2.0) ว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก
เมื่อบวกกับท่าทีของจีนที่แยกตัวออกจากเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อยๆ (self-isolation) จากนโยบาย Zero-Covid ปิดประเทศ เธอก็เทียบว่ามันคือ a digital Great Leap Forward ของยุคสมัยนี้เช่นกัน
ประเทศจีนในยุคเหมาเจ๋อตง มีนโยบายที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ 2 อย่าง เริ่มจาก Great Leap Forward ที่พยายามปฏิวัติการเกษตรด้วยระบบคอมมูนและการวางแผนจากส่วนกลางในช่วงปี 1958-1962 (แต่ล้มเหลวจนเกิดภาวะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่)
หลังจากนั้น เหมาพยายามกลบเกลื่อนความผิดพลาดนี้ด้วยการปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ในปี 1966-1976 ที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และแกนนำ เกิดองครักษ์ red guard และการกวาดล้างประชาชนที่เห็นต่างครั้งใหญ่
นโยบายการปิดประเทศของจีน รักษาคนติด COVID ให้เป็นศูนย์ การล็อคดาวน์เมืองใหญ่ เปรียบได้กับ Great Leap Forward ที่เป็นการควบคุมทางกายภาพ ผ่านการวางแผนจากส่วนกลาง ซึ่งมันอาจเวิร์คในสเกลระดับหนึ่ง แต่พอเป็นสเกลที่ใหญ่มากระดับนี้แล้ว มันอาจสู้ระบบตลาดไม่ได้แล้ว
ดังนั้น ต่อให้รัฐจีนมีสเกลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพดีแค่ไหนก็ตาม มันไม่ทางจะ “เอาอยู่” เลยด้วยการรวมศูนย์และสั่งการแบบ centralized จัดๆ แบบนี้
เพราะสเกลเมืองใหญ่แบบนี้มันขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชน ที่มีอิสระต่อกัน แต่เชื่อมกันด้วยกลไกตลาด มือที่มองไม่เห็นผลักดันอยู่ข้างหลัง
— Isriya Paireepairit (@markpeak) April 11, 2022
พอการปิดเมืองมีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน การแจกอาหารให้คนที่ถูกล็อคดาวน์ คนจีนก็ทนไม่ไหวและออกมาวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ ก็เจอกับ Cultural Revolution 2.0 ปิดกั้นการแสดงความเห็นตามมาอีก
But a new type of Cultural Revolution speech is returning. Any online content not supporting the official stance is strictly censored, and debate about how to contain a COVID outbreak has been classified as a “battle between the people and the enemy.”
This new form of class struggle, not between the proletariat and bourgeois but between supporters of Xi and the Party versus everyone else, is dividing Chinese society.
การปิดกั้นการแสดงความเห็นกรณีเซี่ยงไฮ้ เป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการจีนก็มีมาตรการคุมเข้มบริษัทเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ
Entrepreneurs are competing to display political appointments. Tech companies are designing products to enhance so-called Red Education. Science academicians take research assignments primarily to break off U.S. chokeholds on China.
Xiang วิจารณ์ว่านโยบายคุมเข้มแบบนี้จะทำให้ประเทศจีนมีความสามารถในการแข่งขันถดถอยลงในระยะยาว บริษัทจีนจะเลิกสนใจยอดผู้ใช้งานและตัวเลขทางธุรกิจ หันไปสนใจว่าตัวเองสอดคล้องกับ “ความมั่นคงแห่งชาติ” หรือไม่
China’s digital Great Leap Forward pursues technological supremacy that is unrealistic and irrelevant. Despite goals to become an advanced technological power in all frontier areas from A to Z, China still suffers core incompetence. Erratic policies have greatly damaged China’s innovation machine, and China is unlikely to achieve its objectives and could even backtrack technologically if the current trend continues.
The days of merely counting market share, company size, user base and patents are gone. Questions instead on who owns the technology, national security and data sovereignty will be central considerations.
Xiang ยกนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างของเติ้งเสี่ยวผิงขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
Over 40 years ago, Deng Xiaoping laughed at the idea that feeding five ducks turned a peasant into a capitalist. He remained a peasant with three ducks.
ไม่กี่วันที่ผ่านมา เพิ่งเคยเห็นโพสต์เรื่องเติ้งเสี่ยวผิงแนวนี้อีกเหมือนกัน เมื่อครั้งที่เติ้งไปเยือนอเมริกาในปี 1979 มีดาราหญิง Shirley MacLaine พยายามไปอวยเติ้ง โดยเล่าเรื่องที่เคยฟังมาตอนไปเมืองจีน พบกับอาจารย์มหาลัยตกอับที่ต้องไปปลูกผักแทน อาจารย์คนนั้นบอกว่า “เขามีความสุขและได้เรียนรู้จากคนจน”
เติ้งฟังเรื่องนี้แล้วพูดว่า “อาจารย์คนนี้โกหก”
I had not heard this anecdote from Deng Xiaoping's 1979 visit to the United States. pic.twitter.com/qsnFfgmji0
— Alex Dukalskis (@AlexDukalskis) April 15, 2022
ภาพประกอบจาก Reddit