in Politics

Community Function

ในเหตุการณ์เรื่องนักศึกษาในโลกตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย ออกมาประท้วงอิสราเอลในสงครามกับฮามาส

ประเด็นหนึ่งที่ผมสนใจ และอ่านเจอในบทความของ Fareed Zakaria คอลัมนิสต์คนดังของ CNN พอดี คือการที่นักศึกษายุคปัจจุบันอยู่ใน “โลกออนไลน์” ซะเยอะ และไม่เคยถกเถียงกับคนอื่นในชีวิตจริง ในโลกออฟไลน์ กันสักเท่าไรนัก จู่ๆ คือมานัดรวมตัวกันประท้วงเลย และหลายคนมาเจอกันครั้งแรกที่งานประท้วงนี่ล่ะ

People are encountering one another at these protests often for the first time, often as strangers.

Fareed อ้างบทความจาก Wall Street Journal ว่านักศึกษารุ่นปัจจุบันมีความเหงา ความโดดเดี่ยว มากกว่าในอดีต และชุมชนหรือประชาคมในมหาวิทยาลัยยุคนี้ ก็มีบทบาทน้อยลงมาก

“College students today are lonelier, less resilient and more disengaged than their predecessors … The university communities they populate are socially fragmented, diminished and less vibrant.”

Fareed ยกตัวอย่างชีวิตนักศึกษาของเขาว่า ตอนนั้นเป็นยุค Reagan มีเรื่องสงครามเย็น เรื่องนิวเคลียร์ เรื่องการแบ่งสีผิวในแอฟริกาใต้ นักศึกษาเถียงกันเรื่องการเมืองจะเป็นจะตายเหมือนกัน แต่การถกเถียงเกิดขึ้นในห้องเรียน ในชมรม สมาคมต่างๆ

In every group I was in, at class or in extracurricular organizations, people disagreed about the issues but did so seriously, listening to others and engaging in what was mostly civil discourse.

สิ่งที่น่าสนใจคือ Fareed เล่าว่า รัฐมนตรีกลาโหมในยุค Reagan เคยมากล่าวปาฐกถาที่มหาวิทยาลัย Yale ที่เขาเรียนอยู่ มีนักศึกษาบางคนพยายามขัดจังหวะตอนพูด แต่กลายเป็นว่านักศึกษาคนอื่นๆ ในห้องร้องโห่ไล่ไม่ให้ทำแบบนั้น [[ซึ่งไม่น่าจะเกิดแล้วในสมัยนี้??]]

Fareed บอกว่าสมัยที่เขาเป็นนักศึกษา มีชั้นเรียน กิจกรรม โต้วาที ปาร์ตี้ งานกีฬา ฯลฯ มากมาย แต่ในยุคหลังๆ กิจกรรมนักศึกษาเริ่มจางหายไป และพอมาเจอยุค COVID ก็เรียกได้ว่าจบสิ้นกันเลย

But over the last decade, campus life has seemed thinner. And then came Covid, which like a neutron bomb decimated community life on campus while leaving all the beautiful buildings intact.

ในบทความของ WSJ ยังอ้างถึง “เจ้าหน้าที่หอใน” (residential assistant) คนหนึ่งที่มีหน้าที่ช่วยสนับสนให้นักศึกษารุ่นใหม่ๆ เข้าสังคมข้างในหอพักของมหาวิทยาลัยได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักศึกษาจำนวนมากไม่ยอมออกจากห้องมาประชุมหอ และขอประชุมผ่าน video call แทน สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึง “new normal” ในการเข้าสังคมที่เปลี่ยนไป

Fareed ยกหนังสือเล่มใหม่ของเขา Age of Revolutions ที่พูดถึงความถดถอยของ “ชุมชนออฟไลน์” ตามเมืองต่างๆ ทั่วอเมริกา ร้านค้าปลีกรายย่อย ศูนย์เกมอาเขต โรงหนัง ฯลฯ ล้มหายตายจากเพราะ Amazon, เกมออนไลน์ และ Netflix ส่วนโบสถ์ถึงแม้ยังอยู่ก็แทบไม่มีใครเข้าโบสถ์กันแล้ว การหายไปของพื้นที่ชุมชนเหล่านี้ทำให้ “social capital” ที่คนมาพบปะกัน พูดคุยกัน สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกัน หายไป

But they have weakened as actual communities, where people mingle, interact and get to know and trust each other. And in this sense, campuses today are not that different from the broader American society of which they are a reflection.

ผมคิดว่าข้อเท็จจริงอันนี้ใช้ได้ทั่วโลก กรณีของไทยเอง ร้านเกม ร้านเช่าหนังสือ ก็เสื่อมถอยเช่นกัน ถึงแม้มีชุมชนแบบใหม่อย่างร้านกาแฟโผล่ขึ้นมา แต่ปฏิสัมพันธ์ของคนที่เข้ามาใช้บริการก็ไม่ได้เยอะ เป็นการหา space ที่ “ต่างคนต่างอยู่” ซะมากกว่า

Community is defined functionally, not spatially: it’s a professional peer group rather than a neighborhood.

เราคงไม่จบเรื่องลงแบบขอไปที ด้วยการโทษเทคโนโลยี โทษสมาร์ทโฟน แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามใหญ่ๆ อีกอัน ว่าเราจะฟื้นฟู “sense of companionship” เหล่านี้มาได้อย่างไร ด้วยวิธีการที่มันสเกลมากพอ

ภาพประกอบตั้งใจเลือกกิจกรรมนักศึกษาจากเรื่อง Monster University