เครดิตภาพบอร์ดลุงตู่โดย @norainu_mode
เมื่อวานนี้ 12 มกราคม 2563 เป็นอีกวันหนึ่งของแวดวงการเมืองไทย เพราะมีการจัดกิจกรรม #วิ่งไล่ลุง ชนกับ #เดินเชียร์ลุง แยกคนละพื้นที่
รายละเอียดอิงจากรายงานของ BBC ก็แล้วกัน ไม่ขอเขียนถึงซ้ำ

ส่วนตัวสนับสนุนกิจกรรม #วิ่งไล่ลุง อยู่แล้ว แต่คิดว่า #เดินเชียร์ลุง มีความน่าสนใจกว่ามาก เหตุเพราะเป็นกลุ่มคนที่เราเข้าไม่ถึงจริงๆ แต่ก็มีตัวตนอยู่ (มาก) ในสังคมไทย
เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมทั้งสองงาน (ตื่นมาก็ 8 โมง ตลาดวายหมดแล้ว 😂) จึงต้องติดตามข่าวจากโซเชียลเพียงอย่างเดียว
กิจกรรม #เดินเชียร์ลุง ที่สวนลุมพินี มีผู้เข้าร่วมงานเดินทยอยเดินทางมาตั้งแต่เวลา 05.00 น. แม้ว่ากิจกรรมจะเริ่มเวลา 09.00 น. ส่วนใหญ่บอกตรงกันว่า มาเดินเพราะต้องการแสดงพลังให้กำลังใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ย้ำมาด้วยใจ ไม่มีใครจ้าง #ThaiPBSnews pic.twitter.com/mmH9EzLjhq
— Thai PBS News (@ThaiPBSNews) January 12, 2020
กิจกรรม #เดินเชียร์ลุง ที่สวนลุมฯ เริ่มแล้ว คู่ขนาน #วิ่งไล่ลุง pic.twitter.com/QVqdwiQNjl
— workpointTODAY (@workpointTODAY) January 12, 2020
Crowd sizes at #เดินเชียร์ลุง pic.twitter.com/BRBYK9rEm4
— Thai Enquirer (@ThaiEnquirer) January 12, 2020
At the same time as the #วิ่งไล่ลุง #RunAgainstDictatorship, a crowd has also built in Bangkok to support Prime Minister Prayuth Chan-ocha with hashtag #เดินเชียร์ลุง Crowd not nearly as big as the other event but definitely over a thousand here. pic.twitter.com/sUReBCA8I4
— Matthew Tostevin (@TostevinM) January 12, 2020
The pro-Prayut “Walk for Uncle” #เดินเชียร์ลุง was really an old-school protest march through Lumpini Park where things seemed (for a lack of better word) more coordinated and synchronized in both message and appearance compared to #วิ่งไล่ลุง pic.twitter.com/W5vLtEL8uQ
— Saksith Saiyasombut (@SaksithCNA) January 12, 2020
Please do not quote me on this for 1) I suck at estimating crowd and 2) I arrived at 930am. But I don’t think crowd is bigger than 3,000. pic.twitter.com/cBKHo0YhQ4
— Choltanutkun T. (@CholtanutkunT) January 12, 2020
เท่าที่เช็คกับน้องที่รู้จักกัน และไปเข้าร่วมงาน #เดินเชียร์ลุง เพราะความอยากรู้ ก็ได้ข้อมูลมาคล้ายๆ กันว่า มีแต่คนแก่ หรือถ้ามีเด็กด้วยก็คือมากับพ่อแม่ผู้ปกครอง
ผมเชื่อว่าคนที่มา #เดินเชียร์ลุง มาด้วยใจจริงๆ ไม่ได้จ้างมา ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังแบ่งเป็น 2 ขั้ว ideology ไม่ได้หายไปไหน (และเป็นปัญหาร่วมของทั้งโลก)
คำถามที่น่าถามต่อคือ วิธีคิดของกลุ่มคน #คนเชียร์ลุง ที่สะท้อน demographic ของคนที่ค่อนข้างมีอายุ (จะเรียกว่าเป็นรุ่น baby boomer ก็คงไม่ผิดนัก) คืออะไรกันแน่ เลยลองนั่งหาดูคลิปหรือท่าทีของคนที่ไปร่วมงาน ซึ่งโชคดีกว่ามีคุณ @CholtanutkunT ถ่ายไว้ค่อนข้างละเอียด
เริ่มจากรูปเหยียบป้ายที่โด่งดังในโซเชียล
Found that viral poster and the person holding it, presenting it to us by putting her foot on @Thanathorn_FWP ‘s picture. #เดินเชียร์ลุง #วิ่งไล่ลุง pic.twitter.com/9jrN1zdwfV
— Choltanutkun T. (@CholtanutkunT) January 12, 2020
แต่เหยียบเฉยๆ เป็นการแสดงออกถึงผลลัพธ์ ไม่รู้สาเหตุ ต้องดูบทสัมภาษณ์ ที่มองว่าคนรุ่นใหม่ “โดนปลุกระดมมา” + มองว่าฝ่ายตรงข้ามโดนจ้างมา
จากบทสัมภาษณ์นี้มองว่า เศรษฐกิจไทยดีอยู่แล้ว ข่าวเศรษฐกิจแย่เป็นเรื่องบิดเบือน + มีเสื้อ “ประเทศกูดี” ใส่ติดเข้ามาในเฟรมด้วย
สำนักข่าวจากสวิสจ้าาาาาาา เจอสลิ่มไทยเข้าไปเป็นเอ๋อเลย ขายขี้หน้าจริงๆ #วิ่งเชียร์ลุง pic.twitter.com/HEz6sxSKR9
— น้องลูกชิ้น (@wanhthr) January 12, 2020
คลิปอีกอันที่ดังคือ การร้องเพลง “เรารักเนชั่น” ซึ่งถือว่าน่าสนใจมาก (เทียบได้กับคนสนับสนุน Fox News ซึ่งก็มีเป็นจำนวนมาก)
Crowd chanting เรารักเนชั่น “we love @nationnews “ #เดินเชียร์ลุง #วิ่งไล่ลุง pic.twitter.com/5dWa7ZMWX8
— Choltanutkun T. (@CholtanutkunT) January 12, 2020
หรือการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี อย่างตั้งใจ
They suddenly randomly out of the blue starting singing the royal family anthem…. at like 9:55am. pic.twitter.com/vz9W0Y5yIz
— Choltanutkun T. (@CholtanutkunT) January 12, 2020
แต่ระหว่างการค้นหาคำตอบเรื่องวิธีคิดของคน demographic นี้ มาเจอบทความของใบตองแห้งอันนี้พอดี ก็คิดว่าตอบคำถามหรือข้อสงสัยไว้ครบครัน

แบบสรุป
- ไม่มีใครรักประยุทธ์จริง แต่รักระบอบที่ประยุทธ์เป็นตัวแทนอยู่ และไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่าประยุทธ์แล้ว (จำใจต้องรัก)
- ระบอบนี้คือ ระบอบจำลองที่ตกทอดมาจากยุคป๋าเปรม หรือ อานันท์ ที่เน้นคนดีมีศีลธรรม (ethics) และความสงบเรียบร้อยของสังคม (order)
- กลุ่มคน Baby Boomer เติบโตและคุ้นเคยกับระบอบนี้ เลยยังฝันถึง Good Old Days (ซึ่งเป็นปกติของ conservative) และหวังว่าจะมีระบอบแบบนี้กลับมาอีก
- แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ ผิดหวังกับรัฐบาลประยุทธ์ แต่กลัวสูญเสียระบอบที่ว่าไป (เกิดภาวะสังคมไร้ order) มากกว่านั้น จึงต้องออกมาแสดงตัวเพื่อทำลายระบอบใหม่ไปก่อน
- นอกจากเรื่องอุดมคติแล้ว ยังมีเรื่อง order เชิงอำนาจและผลประโยชน์จริงๆ เช่น การเกณฑ์ทหาร ผลประโยชน์ของศาล หรือ ข้าราชการ แบบดั้งเดิม ที่ผูกกับระบอบประยุทธ์อยู่
แน่นอนว่าระบอบการปกครองแบบเดิม มันไปไม่รอดแล้วในยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนไปจากเดิมมาก แม้แต่คนที่อยู่ในระบอบเดิม (ที่มีความคิด) ก็ทราบเรื่องนี้ดี คิดว่าภาพนี้อธิบายทุกอย่าง

อีกสิ่งที่น่าค้นหาคำตอบต่อไปคือ เราสามารถ reconcile คนกลุ่มเดิม กับระบอบแบบใหม่ (ประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบสากล) ได้หรือไม่ หรือมันก้าวข้าม point of no return ไปนานแล้ว
ข่าวหนึ่งที่ผมติดใจและคาใจมากคือ ข่าวอาม่าตบเด็ก และเด็กตบกลับ ซึ่งเป็นการปะทะกันของ Boomer กับ Gen Z (ที่ต่างจาก Gen X/Y ตรงที่ไม่ยอมทนอีกต่อไปแล้ว) เคสอาม่ากับเด็กเป็นปัญหาเชิงปัจเจก คือทะเลาะกันเป็นส่วนตัว
แต่ถ้ามันเลยการเป็นปัญหาส่วนตัว กลายเป็นความขัดแย้งระหว่าง generation ไปในภาพใหญ่ เราอาจจะเห็นปรากฏการณ์ Gen Z ไล่ล่าแม่มด ไล่ตบ Boomer ก็เป็นได้
ฝันร้ายในยุค Robespierre เป็นตัวอย่างที่ไม่มีใครอยากให้เกิดซ้ำ เราจะเปลี่ยนผ่านสังคมไทยอย่างไรกันดี