เหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาช่วงนี้ (อันเริ่มจากความตายของ George Floyd แต่ภายหลังมีประเด็นอื่นเข้ามาซ้อนทับด้วยเป็นจำนวนมาก) มีเรื่องที่น่าพูดถึงมากมาย
แต่ที่คิดว่าน่าสนใจจนต้องมาเขียนถึง คือ การออกโรงของบารัค โอบามา ในฐานะ “ผู้นำทางความคิด” (อาจยังไม่ถึงขั้นจิตวิญญาณ) ของคนดำ (และผู้สนับสนุนคนดำ)
ระดับประธานาธิบดี ออกมาทั้งทีก็ต้องสมราคา ในโพสต์ของโอบามาบน Medium ยกประเด็นที่น่าสนใจคือ เราเลือกแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมในสังคม (ในที่นี้คือ คนดำไม่ได้รับความยุติธรรม) ด้วยการเดินขบวนประท้วง หรือ การลงคะแนนโหวต เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ต้องทำทั้งสองอย่างควคู่กันไป
if we want to bring about real change, then the choice isn’t between protest and politics. We have to do both. We have to mobilize to raise awareness, and we have to organize and cast our ballots to make sure that we elect candidates who will act on reform.
การโหวตลงคะแนน เป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมือง เพื่อให้นักการเมืองต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
in a democracy, that only happens when we elect government officials who are responsive to our demands.
แต่การโหวตลงคะแนนเลือกตั้งก็มีหลายระดับ (ในบริบทของอเมริกา) ซึ่งเรามักพูดถึงในระดับของประธานาธิบดีหรือรัฐบาลกลาง แต่จริงๆ แล้ว คนที่มีอำนาจแก้ไขเรื่องนี้คือรัฐบาลท้องถิ่นในระดับรัฐ หรือระดับเมืองต่างหาก
it’s important for us to understand which levels of government have the biggest impact on our criminal justice system and police practices. When we think about politics, a lot of us focus only on the presidency and the federal government.
But the elected officials who matter most in reforming police departments and the criminal justice system work at the state and local levels.
It’s mayors and county executives that appoint most police chiefs and negotiate collective bargaining agreements with police unions. It’s district attorneys and state’s attorneys that decide whether or not to investigate and ultimately charge those involved in police misconduct. Those are all elected positions.
ซึ่งคนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมีน้อยมาก ยิ่งคนรุ่นใหม่ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่
Unfortunately, voter turnout in these local races is usually pitifully low, especially among young people — which makes no sense given the direct impact these offices have on social justice issues, not to mention the fact that who wins and who loses those seats is often determined by just a few thousand, or even a few hundred, votes.
สิ่งที่โอบามาเสนอคือ คนรุ่นใหม่เอย ถ้าเธอสนใจปัญหาสังคม เธอจงออกไปเลือกตั้ง อย่านอนหลับทับสิทธิ์
ประเด็นที่น่าสนใจคือ กลไกรัฐท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีอำนาจมาก รัฐบาลท้องถิ่น ผู้ว่าการรัฐ ฯลฯ มีอำนาจแต่งตั้งตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐ สิ่งที่ยังขาดอยู่คือ กลไกความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนในรัฐไปยังนักการเมืองท้องถิ่น ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก (เพราะปัจจัยหลักคือ ประชาชนไม่ไปเลือกตั้งท้องถิ่น)
แต่ในกรณีของบ้านเรา ที่การเมืองท้องถิ่นยังพิกลพิการ นายก อบจ. ยังไม่มีสิทธิแต่งตั้งข้าราชการท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หมอ ครู ต้องขึ้นกับหน่วยงานส่วนกลางทั้งหมด ก็เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันไปในระยะยาว อีกยาวๆ