in Politics

What Is to Be Done?

สถานการณ์การเมืองไทยในสัปดาห์ที่แล้ว (โดยเฉพาะวันที่ 8 กุมภาพันธ์) ที่พลิกไปพลิกมาตลอดเวลา รวมถึงข่าวลือเกี่ยวกับรัฐประหารที่ออกมามากมาย ทำให้ได้สนทนากับมิตรสหายหลายท่านในเรื่องต่างๆ

ประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดแต่คนไม่ได้พูดถึงกันมากนัก คือสถานการณ์การเมืองจะพลิกผันอย่างไรก็ตาม มันจะส่งผลกระทบต่อการเมืองในระยะสั้น นั่นคือการเลือกตั้งมีนาคม 2562 และการเปลี่ยนผ่านจากยุค คสช. เข้าสู่ยุคถัดไป (ซึ่งจะเรียกว่ายุคประชาธิปไตยก็คงไม่เต็มปาก เพราะยังมี uncertainty สูงไม่รู้ว่าจะเป็นยุคอะไร)

แต่ไม่ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ยังคงอยู่ในทุกยุคทุกสมัย คือปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเศรษฐกิจและสังคม ที่ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องแก้ไข (การเมืองดีก็ช่วยให้แก้ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง)

  • ปัญหาเศรษฐกิจ โมเดลเศรษฐกิจที่อิงการผลิตจากบริษัทข้ามชาติของไทยที่ทำมา 30-40 ปีกำลังล้าสมัย และยังหาอะไรมาทดแทนรายได้ที่หายไปไม่ได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าแก้ตรงนี้ไม่ได้ เศรษฐกิจจะซึมยาวนาน
  • ปัญหาสังคม ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำพูดกันมาเยอะมากแล้ว ยังแก้ไขไม่ได้ง่ายๆ หรอก อีกเรื่องคือปัญหา ageing society ที่เริ่มแสดงผลลบออกมาชัดเจนเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฝั่งการศึกษาและการสาธารณสุข
  • รัฐราชการไทย ที่แข็งตัว ล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง (แถมยังบวมขึ้นเรื่อยๆ ในยุค technocrat เรืองอำนาจเพราะต้องไปช่วยงาน คสช.) ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถรันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาเหล่านี้ไม่มีตัวช่วยแบบ silver bullet ที่จะมีนายกรัฐมนตรีเจ๋งๆ สักคนมาปัดกวาดทิ้งไปในพริบตา แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้พลัง effort มหาศาล เป็น uphill battle แต่ก็ไม่มีเส้นทางลัดอื่นให้เดินผ่าน มีแต่ต้องเดินหน้าฝ่าฟันไปเท่านั้น

ชื่อบล็อกขอยืมคำพูดของเลนินมาใช้ว่า “What Is to Be Done” ยังมีเรื่องอีกมากให้ต้องแก้ไข

และผมคิดว่าการแก้ปัญหาเหล่านี้คือหน้าที่ของคนรุ่นเรา

ภาพประกอบ: ภาพวาดตอน Founding Fathers ลงนามในรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา