อ่านบทความใน Marketwatch พูดถึงเรื่อง The Great Resistance ซึ่งเป็นภาคต่อของ The Great Resignation
หลังการลาออกครั้งใหญ่ในช่วงปลายปี 2021 ที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มผ่อนคลายจากปัญหา COVID ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยที่จะเปลี่ยนงาน และกล้าต่อรองเงินเดือน-ผลประโยชน์-สวัสดิการต่างๆ มากขึ้น (บางคนบอกว่าเรียก The Great Negotiation อาจเหมาะกว่า)
พอขึ้นปี 2022 หลายบริษัทเริ่มให้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีพนักงาน (จำนวนหนึ่ง) ต่อต้านการกลับเข้าออฟฟิศด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า The Great Resistance
The Great Resignation has led to the Great Resistance, a battle of wills between senior management and, well, everyone else.
ตัวอย่างของ Marketwatch ยกกรณีของแม่คนหนึ่งที่มีลูกชายวัย 7 เดือน ระบุความต้องการของตัวเองชัดว่าไม่ต้องการกลับเข้าออฟฟิศเลย เพราะต้องใช้เวลาเดินทาง 1.5 ชั่วโมงจากออฟฟิศกลับบ้าน สู้เอาเวลานี้ไปอยู่กับลูกจะดีกว่า
เธอบอกว่าแสดงจุดยืนเรื่องนี้อย่างชัดเจนในบริษัท แต่เมื่อบริษัทยังมีนโยบายเรียกคนกลับออฟฟิศ เธอจึงหางานใหม่ ซึ่งภาวะแรงงานขาดแคลนในอเมริกาตอนนี้ ทำให้เธอมีสิทธิเลือกได้มาก และได้งานแบบ fully remote ที่จ่ายดีขึ้นด้วยซ้ำ
สภาวะ The Great Resistance นี้เกิดกับบริษัทชื่อดังหลายๆ แห่ง เช่น Apple ในขณะที่บางบริษัทก็ประกาศนโยบาย fully remote แบบถาวรไปเลย เช่น Airbnb เพราะรู้ว่า “ต้านทาน” ความต้องการของพนักงานไม่ได้
จุดเด่นหลักของการทำงานแบบ fully remote คือเรื่องความยืดหยุ่น (flexibility) ซึ่งทำได้ยากในการทำงานแบบต้องเข้าออฟฟิศ
“Remote working enables a degree of flexibility in the day that is practically impossible to recreate in a physical co-working space.”
ดังนั้นการเอาจุดขายของออฟฟิศมาแลก (เช่น ของเล่น อาหารฟรี) จึงไม่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้
“Workers don’t want toys or free food, they want a higher quality of life,
Nobody commutes for one hour for a free bagel or box or to use a ping-pong table
เหตุผลที่คนอยากเข้าออฟฟิศ คืออยากมาเจอเพื่อนร่วมงาน ได้มาเจอหน้ากันตัวเป็นๆ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือการกำหนด anchor days ที่ให้ทุกคนเข้ามาเจอกัน (โมเดลกูเกิล เข้าออฟฟิศ 3 วัน)
They come in to catch up with friends and work in person.
To avoid forcing people, you need to make it benefit them to come in. That means setting up typically two or three days a week of office time on anchor days when everyone comes in.”
ที่น่าสนใจคือ ในบทความมีเปรียบเทียบถึงเรื่องผลกระทบ e-commerce ต่อ retail space และผลกระทบของ work from home ต่อ office space
“E-commerce killed physical stores because people prefer to shop online; it gave them more choice, it was more efficient and costs less,” he said. “E-companies kill office-based companies because workers prefer to work online; it gives them more choice, it is more efficient and costs less.”
ภาพประกอบจาก Pexels