in Business

Quartz

Quartz เป็นเว็บข่าวธุรกิจอันหนึ่งที่ผมใช้เป็นต้นแบบของ Brand Inside โดยติดตามมาตั้งแต่สมัยเปิดเว็บใหม่ๆ จนมาถึงวันนี้ที่ขายกิจการให้บริษัทญี่ปุ่น และเปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาเป็น subscription ตามสมัยนิยม

ตามไปอ่านรายละเอียดของเรื่องนี้มา เลยมาบันทึกไว้

แรกเริ่มเลยคือ Quartz เป็นเว็บในเครือเดียวกับ The Atlantic แต่ช่วงกลางปี 2018 ก็ถูกขายให้บริษัทญี่ปุ่นชื่อว่า Uzabase

คำถามคือบริษัท Uzabase นี่มันใครกัน ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน

ตามไปดูแล้วพบว่า Uzabase เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจเทอร์มินัลข้อมูล Speeda คล้ายๆ กับ Bloomberg Terminal และค่อนข้างขายดีทีเดียวในญี่ปุ่น

บริษัทเลยขยายมาทำเว็บข่าวธุรกิจด้วย ใช้ชื่อว่า NewsPick ที่มีฟีเจอร์แชทและคอมเมนต์กันได้ในตัวเอง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน 3.3 ล้านคน และมีคนยอมจ่ายเงิน subscription (15 USD/เดือน) ประมาณ 64,000 คน

Uzabase เลยซื้อกิจการ Quartz เพื่อนำมารวมร่างกับ NewsPick และขยายธุรกิจออกสู่โลกตะวันตกนั่นเอง บริษัทตั้งเป้าไว้ว่าอีก 5 ปี จะต้องมีฐานผู้อ่าน 10 ล้านคน และมีผู้อ่านแบบจ่ายเงิน 1 ล้านคน

มุมมองของ Uzabase คือ NewsPick มีแพลตฟอร์ม (แอพ) และชุมชนผู้อ่านอยู่แล้ว มีโมเดลธุรกิจแบบ subscription ขาดแต่ตัว media หรือ newsroom ที่เอา Quartz มาเสียบได้พอดี กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว

ฝั่งของ Quartz เองก็กำลังเจอปัญหาว่า รายได้จากโฆษณามันเริ่มลดลง

จึงเป็นโอกาสดีที่ Quartz จะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของตัวเอง จาก advertising อย่างเดียว มาเป็นโมเดลผสมผสานระหว่าง advertising + subscription ซึ่งก็ตรงตามทิศทางของสื่อใหญ่ๆ อย่างพวก New York Times, Financial Times, Economist กำลังทำอยู่ในตอนนี้

สไลด์ฉบับเต็มอยู่บนเว็บ Uzabase

ส่วนตัวแล้วก็คิดว่าทิศทางนี้ค่อนข้างชัด และปีนี้ (2019) หลายเว็บที่อ่านอยู่ก็เริ่มหันมาทำ paywall กันหมด เช่น TechCrunch, Business Insider, Wired ก็ต้องรอดูกันไปว่า ตลาดจะพร้อมรับโมเดลนี้มากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายแล้วมันจะนำมาใช้กับเมืองไทยได้ด้วยหรือไม่

การได้มาเห็นวิธีคิดของ Uzabase ว่ามีเบื้องหลังแนวคิดการทำ paywall / subscription อย่างไรบ้าง ถือเป็นการเรียนรู้ที่ดีเหมือนกัน

คำถามน่าสนใจที่ Nieman Lab ตั้งเอาไว้

the news industry has a semi-decent handle on how to get many people to pay for their primary news source; the digital subscription successes at The New York Times and The Washington Post make that clear. The evidence is less clear about second reads or other outlets who — whatever their quality — aren’t as central to people’s everyday news habits.