in Thoughts

Power of Journalism

ข่าวใหญ่ในสหรัฐอเมริกาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2019 (แต่อาจเป็นข่าวเล็กๆ ในระดับโลก) คือ Ralph Northam ผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย มีคนไปค้นเจอภาพจากสมุด yearbook สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ที่แต่งตัวเป็นคนดำ (blackface) ถ่ายรูปคู่กับเพื่อนอีกคนที่ใส่ชุด Ku Klux Klan ลัทธิต่อต้านคนดำ

สมัยก่อนโน้น อาจไม่ได้เคร่งเรื่องการเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิวมากนัก แต่เมื่อภาพนี้ถูกขุดขึ้นมาในปี 2019 ที่เรื่อง diversity กลายเป็นประเด็นสำคัญ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออนาคตทางการเมืองของ Northam ไม่น้อย

เรื่องของ Northam ถูกสื่อขุดมาถล่มกันไปตามปกติ แต่ที่ประทับใจจนต้องนำมาเขียนลงบล็อกคือ หนังสือพิมพ์ USA Today ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายใหญ่หัวหนึ่งของสหรัฐ ได้ต่อยอดประเด็นนี้ ด้วยการไปขุดดูสมุด yearbook ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อดูว่าจะเจออะไรบ้าง

โครงการนี้ไปดูตามห้องสมุดของวิทยาลัย 120 แห่งใน 25 รัฐ เพื่อดูสมุด yearbook จำนวน 900 เล่ม สำหรับเด็กที่จบในยุค 1970s-1980s และพบว่าเด็กรุ่นนั้น (ซึ่งกลายเป็นผู้ใหญ่ในยุคนี้) มีพฤติกรรมแต่งตัวเป็นคนหน้าดำ หรือ KKK กันไม่น้อย นับรวมได้กว่า 200 เคส

โครงการนี้ย่อมต้องใช้พลังของนักข่าวจำนวนมากที่ร่วม “สืบสวนสอบสวน” ในระดับประเทศ ถึงแม้มันไม่ใช่คดีอะไรที่ร้ายแรง แต่ก็ช่วยให้เห็นทิศทางหรือภาพรวมของวัฒนธรรมของยุคนั้นได้ชัดเจนขึ้นมาก

ต้องยกย่องและมอบเครดิตให้โครงการนี้ในฐานะ “วิชาชีพสื่อมวลชน”