in Technology

Post-OS Microsoft

ข่าวที่น่าสนใจช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ไมโครซอฟท์เปิดตัวไอคอนใหม่ของ Windows 10

เรื่องนี้ไม่ surprise เพราะประกาศล่วงหน้ามาพอสมควรแล้ว (และไอคอนของ Office ก็เปลี่ยนไปก่อนหน้านี้แล้วด้วย) สิ่งที่น่าสนใจคือในประกาศของไมโครซอฟท์รอบนี้ เขียนเอาไว้ว่า

Flat, monochrome icons look great in context of colorful tiles, but as more icon styles enter the ecosystem, this approach needs to evolve. When icons in the taskbar and Start menu are different styles, it creates more cognitive load to scan and find applications. We needed to incorporate more visual cues into the icon design language using our modernized Fluent Design Language.

เหตุผลข้อแรกคือ ปัญหาของไอคอนแบบ flat เดิม (Metro) ตั้งแต่สมัย Windows 8 คือ มันสร้างความไม่สม่ำเสมอ ระหว่างการแสดงผลบน Start Menu (ดีไซน์แบบ Windows 8) กับ Taskbar (ดีไซน์แบบ Windows 7)

ต้องไม่ลืมว่าไมโครซอฟท์ออกแบบ Metro โดยหวังจะเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ นั่นคือ Windows 8 ที่เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับแท็บเล็ต และ Windows Phone สำหรับมือถือ

แต่พอแผนการล้มเหลว ต้องปรับกระบวนทัพเป็น Windows 10 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดีไซน์ของ Windows 10 ไม่ได้จัดเต็มไป flat สุดทางแบบ Windows 8 (เอา Taskbar กลับมา) แต่พอไอคอนแบบ Windows 8 ยังอยู่ มันเลยดูผิดที่ผิดทาง

Our experience ecosystems are incredibly intricate and have started to spill out of Windows into third-party platforms like Android, iOS, and Mac. We’re dedicated to making our icons familiar, beautiful, and inclusive within the modern phenomena of cross-platform, cross-device experiences.Our experience ecosystems are incredibly intricate and have started to spill out of Windows into third-party platforms like Android, iOS, and Mac. We’re dedicated to making our icons familiar, beautiful, and inclusive within the modern phenomena of cross-platform, cross-device experiences.

เหตุผลข้อที่สองต่อเนื่องกัน คือ ไมโครซอฟท์ยอมรับแล้วว่าตัวเองพ่ายแพ้ในสงคราม OS ยุคใหม่ (จนล่าสุดต้องยอมใช้ Android กับ Surface Duo) และในรอบหลายปีที่ผ่านมา ก็เปลี่ยนโฟกัสจากตัว OS มาเป็นแอพและบริการที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มแทน (จริงๆ เป็นยุทธศาสตร์เดียวกับ Facebook เพียงแต่ไมโครซอฟท์เน้นไปทาง productivity app)

ตัวอย่างแอพเหล่านี้ก็อย่างเช่น Office ทั้งชุด, Edge, To-Do, OneDrive, OneNote ฯลฯ ซึ่งไมโครซอฟท์ผลักดันจริงจังมาก ส่วนตัวผมเองก็ใช้แอพของไมโครซอฟท์เกือบทุกตัวที่ว่ามา

พอยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์กลายเป็น cross-platform คือแอพต้องทำงานบนแพลตฟอร์มหลักๆ ได้แก่ Windows, Mac, iOS, Android ก็เลยเป็นเหตุผลว่าทำไม ไอคอนของไมโครซอฟท์เองจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ให้เหมือนๆ กันบนทุกแพลตฟอร์ม

การจะฝืนใช้ดีไซน์แบบ Metro ต่อไป มันยิ่งดูผิดแผกแตกต่างบนแพลตฟอร์มอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากไอคอน Xbox หรือ Office Lens ในรูปข้างต้น ที่ไปวางไว้บนระบบของ Android (ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ flat แบบ Metro) แล้วดูไม่เข้าพวกอย่างมาก

กล่าวโดยสรุปคือ การปรับไอคอนครั้งนี้ของไมโครซอฟท์ เป็นภาพสะท้อน “ไมโครซอฟท์ยุคใหม่” ที่พยายามสลัดความล้มเหลวยุค Windows 8/Windows Phone ให้หมดไป ก้าวเข้าสู่ยุค post-OS ที่ไมโครซอฟท์ไม่ได้ครองความยิ่งใหญ่ของ OS อีกแล้ว แต่กลายมาเป็นผู้ให้บริการแอพยอดนิยมแทน