การบุกยูเครนของรัสเซีย ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว (Financial Times ใช้คำว่า The week the world changed)
By reaching back into the playbook of the worst 20th-century dictators, Putin has catalysed a new sense of purpose, unity and resolve in institutions including the EU and Nato. Western politicians are rediscovering their seriousness. Nato agreed on Friday it cannot impose a no-fly zone over Ukraine that would bring it into direct conflict with a nuclear-armed Russia. But military aid is being pledged to Ukraine. Germany has overturned its ban on exporting arms to conflict zones so that it can supply anti-tank missiles. The EU has broken a taboo by agreeing to fund weapons purchases.
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การบุกยูเครนของรัสเซียทำให้มุมมองของหลายประเทศในยุโรปเปลี่ยนไป และหมุนเข้าหา “ตะวันตก” มากขึ้นแทน (ซึ่งตรงข้ามกับความต้องการของปูติน)
มันกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิด “นิยามใหม่” ของ “ยุโรป”
บทความของ Sylvie Kauffmann นักข่าวอาวุโสของฝรั่งเศสใน Financial Times ชี้ไว้ชัดว่า “ยุโรปใหม่” กำลังก่อตัวขึ้น A new Europe is emerging from the tragedy of Ukraine
Kauffmann อ้างคำพูดของ Ursula von der Leyen ที่บอกว่า “ยูเครนเป็นพวกเดียวกับเรา” (they belong to us) ซึ่งในความหมายนี้อาจไม่ได้แปลว่าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ ณ ตอนนี้ แต่หมายถึงเซนส์ว่าคนยูเครนก็เป็น “ยุโรป” ด้วยกัน
German and French officials may think the European Commission president got carried away, but she was reflecting a new sense of responsibility among her fellow Europeans. However this war ends, Europe has already been profoundly transformed.
ผู้นำชาติที่สำคัญในยุโรป 2 ชาติคือฝรั่งเศส (Macron) และเยอรมนี (Olaf Scholz) ก็เริ่มออกมาพูดเรื่องยุคใหม่ของยุโรปกันแล้ว
Kauffmann ยังอ้างคำพูดของ Jean Monnet นักธุรกิจชาวฝรั่งเศส (เกิดในตระกูลขายเหล้าคอนยักยี่ห้อ Monnet) ที่มีบทบาททางการทูตอย่างสูงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1-2 และถือเป็นบิดาแห่ง EU ที่บอกเอาไว้ว่า “ยุโรปจะรวมตัวกันได้จากวิกฤต”
Jean Monnet, a founding father of the EU, said that Europe “will be forged in crises”. He is being proved right again.
เลยตามไปอ่านประวัติของ Jean Monnet ดู พบว่าเขามีบทบาทสำคัญมากในการเจรจาระหว่างฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกา เนื่องจากเขาเป็นนักธุรกิจ เลยมองเรื่องทรัพยากรทางเศรษฐกิจระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พยายามผนึกกำลังอังกฤษ-ฝรั่งเศสด้วยกัน แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะบริบทการเมืองโลกในยุคนั้น
แต่พอตอนสงครามโลกครั้งที่สอง คอนเนคชั่นของ Monnet ที่คุยได้ทุกคน เศรษฐีทุกตระกูล นักการเมืองตั้งแต่ FDR ไปจนถึงนักการทหารอย่าง Charles de Gaulle ทำให้การประสานงานของพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา-ฝรั่งเศส ราบรื่นขึ้นมาก ถึงขนาดนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังอย่าง John Maynard Keynes พูดเอาไว้ว่าผลงานของ Monnet ทำให้สงครามจบลงได้เร็วกว่าเดิม 1 ปี
ในยามวิกฤตสงคราม Monnet พูดไว้ตั้งแต่ปี 1943 ว่าประเทศยุโรปมีขนาดเล็กเกินไป ต้องรวมตัวกันทางเศรษฐกิจให้ได้ ซึ่งเป็นฐานความคิดของการตั้ง EU
The countries of Europe are too small to guarantee their peoples the prosperity that modern conditions make possible and consequently necessary. Prosperity for the States of Europe and the social developments that must go with it will only be possible if they form a federation or a “European entity” that makes them into a common economic unit.
หลังสงคราม Monnet ยังมีบทบาทอย่างสูงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของฝรั่งเศส และเป็นคนเจรจาให้ฝรั่งเศส-เยอรมนีตั้ง “สหภาพเหล็กและถ่านหิน” (European Coal and Steel Community) ในปี 1950 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ EEC ก่อนกลายมาเป็น EC และ EU ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม คำว่า “ยุโรป” เองก็มีหลายความหมาย ตั้งแต่ สหภาพในเชิงการเมือง (European Union), การทหาร (NATO), การเงิน (Eurozone), พรมแดนการค้า (Schengen) ซึ่งมีจำนวนประเทศสมาชิกไม่เหมือนกันซะทีเดียว
ถ้าเราดูกรณีของ EU และ NATO เป็นหลัก ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เราเห็นการสมัครสมาชิกใหม่ของ ยูเครน มอลโดวา จอร์เจีย เข้า NATO รวมถึงประเทศที่พยายามวางตัวเป็นกลางมาตลอดหลายสิบปีอย่าง ฟินแลนด์ และสวีเดน ก็เริ่มมีท่าทีอยากเข้า NATO (แม้ยังไม่เป็นทางการ)
แต่การสมัครเข้า NATO อย่างเดียวยังไม่พออยู่ดี บทบาทของประเทศใน NATO ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย อย่างประเทศที่เข้า NATO มาก่อนนานแล้ว แต่มีพรมแดนใกล้รัสเซีย เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย เอสโตเนีย ก็ต้องหาจุดยืนที่เหมาะสมต่อ EU/NATO ใหม่ด้วย (แน่นอนว่าน้ำหนักในแง่การป้องกันย่อมต้องเยอะขึ้น)
พัฒนาการของ NATO ยังจะเกิดเป็น “เส้นเขตพรมแดนใหม่” ระหว่างยุโรปกับรัสเซีย เช่นกัน ภาพด้านล่างเป็นเส้นเขตพรมแดนของ ยุโรปตะวันตก-ตะวันออก เทียบปี 1990 (โซเวียตล่มสลาย) กับปี 2009 (ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ต่างจากปี 2022 มากนัก)
สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังสงครามแล้ว ความห่างเหินทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ระหว่าง New Europe และรัสเซียจะเพิ่มขึ้นมาก ภาพที่แสดงเรื่องนี้ได้ดีที่สุด มาจากสไลด์ของ Center for Economic Recovery ของยูเครน ที่ฉีกดินแดนของรัสเซียให้ถ่างออกไป