ประเด็นหนึ่งที่ถกเถียงกันมาสักระยะแล้วในวงการหนัง คือเสียงวิจารณ์หนัง Marvel Cinematic Universe ว่า “ไม่ใช่หนัง” หรือ “ไม่ใช่ศิลปะ”
ผมคิดว่าความสำเร็จ (ในเชิงรายได้) ของหนัง Marvel ที่มีคนสรุปมาให้ว่าตัวเลขรวม 25 billion แล้ว (ราว 8.7 แสนล้านบาท) ก่อให้เกิดความหมั่นไส้หรือความอิจฉาในหมู่คนทำหนังรายอื่นๆ อยู่พอสมควร และเกิดเสียงวิจารณ์ในลักษณะว่า “หนังไม่ดี (อย่างงั้นอย่างงี้) แต่คนหมู่มากชอบ เลยทำเงินได้เยอะ”
เพชรน้ำหนึ่งของคำวิจารณ์นี้มาจากผู้กำกับคนดัง Martin Scorsese ที่มาพร้อมประโยคทอง
“I don’t see them. I tried, you know? But that’s not cinema,”
“Honestly, the closest I can think of them, as well made as they are, with actors doing the best they can under the circumstances, is theme parks,”
คำวิจารณ์ของ Scorsese เริ่มจากบทสัมภาษณ์ของเขาในนิตยสาร Empire เมื่อเดือนตุลาคม 2019 และได้ขยายความผ่านบทความที่เขียนลง New York Times ในอีก 1 เดือนหลังจากนั้น (ด้วยท่าทีที่อ่อนลงนิดหน่อย แต่ยังยืนยันคำเดิม)
I said that I’ve tried to watch a few of them and that they’re not for me, that they seem to me to be closer to theme parks than they are to movies as I’ve known and loved them throughout my life, and that in the end, I don’t think they’re cinema.
แม้ว่า Scorsese ขยายความเพิ่มว่า เขาไม่สนใจหนัง MCU เพราะเป็นเรื่องของรสนิยม (a matter of personal taste) แต่ในย่อหน้าถัดๆ มา เขาก็ยังคงนิยาม “cinema” ในแบบของตัวเองอยู่ดี และสรุปว่า “มันคืองานศิลปะ”
cinema was about revelation — aesthetic, emotional and spiritual revelation. It was about characters — the complexity of people and their contradictory and sometimes paradoxical natures, the way they can hurt one another and love one another and suddenly come face to face with themselves.
It was about confronting the unexpected on the screen and in the life it dramatized and interpreted, and enlarging the sense of what was possible in the art form.
And that was the key for us: it was an art form.
อ่านแล้วก็ได้แต่เกาหัวแกรกๆ ว่า หนัง MCU หรือหนังแฟรนไชส์เรื่องอื่นๆ มันไม่ได้พูดเรื่องความซับซ้อนของตัวละครตรงไหนกัน?
สำหรับผมแล้วคิดว่า คำวิจารณ์แบบนี้เป็นการดูถูกคนที่มีรสนิยมดูหนังแบบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่นิยามของ Scorsese) อย่างรุนแรง และเป็นการดูถูกคนจำนวนมากที่ทุ่มเททำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง “หนังที่ไม่ใช่ cinema” เหล่านี้
ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ดาราใน MCU ถึงออกมาตอบโต้เรื่องนี้กันหลายคน เช่น
Tom Holland บอกว่า ผมเล่นหนังมาหลายเรื่อง ทั้งหนัง MCU และหนังออสการ์ ในแง่ศิลปะการสร้างไม่ต่างกันเลย ต่างกันที่งบเท่านั้น
“I’ve made Marvel movies and I’ve also made movies that have been in the conversation in the world of the Oscars, and the only difference, really, is one is much more expensive than the other. But the way I break down the character, the way the director etches out the arc of the story and characters – it’s all the same, just done on a different scale. So I do think they’re real art.”
หรือล่าสุด Elizabeth Olsen (Scarlet Witch) ที่เพิ่งมีผลงานใน Doctor Strange in the Multiverse of Madness ก็บอกว่าเป็นการไม่เคารพทีมงานเบื้องหลังจำนวนมาก
“I’m not saying we’re making indie art films, but I just think it takes away from our crew, which bugs me,”
“These are some of the most amazing set designers, costume designers, camera operators – I feel diminishing them with that kind of criticism takes away from all the people who do award-winning films, that also work on these projects.”
I do think throwing Marvel under the bus takes away from the hundreds of very talented crew people. That’s where I get a little feisty about that.”
แน่นอนเราสามารถวิจารณ์หนัง Marvel หรือหนังแฟรนไชส์ได้เสมอว่า ห่วย (ด้วยเหตุผลอย่างไร) หรือผูกขาดรายได้ในในเชิงพาณิชย์ (เพราะอะไร) การไม่ชอบหนัง Marvel เป็นสิ่งที่ต้องทำได้เสมอ การแสดงความเห็นค้านแฟนๆ/ติ่ง Marvel ต้องทำได้เช่นกัน
แต่ไม่ใช่การบอกว่า มันไม่ใช่หนัง หรือ ไม่ใช่งานศิลปะ
สำหรับผมแล้ว เส้นแบ่งระหว่าง cinema กับ non-cinema เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพ (ดูหนังในโรงหรือไม่ ทำไมการดูหนังในโรงจึงมีคุณค่ามากกว่าดูบนจอมือถือ 5-6 นิ้ว?) เชิงรูปแบบการเล่าเรื่อง (หนัง 2 ชั่วโมง vs ซีรีส์ 10 ตอน vs คลิปสั้น 3 นาที) นี่ยังไม่ได้พูดถึงเนื้อหาของสิ่งที่ปรากฏบนจอด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องปัจเจกนิยมอย่างที่สุด (คนที่ชอบดู Dragon Ball หรือ Pokemon Movies คงไม่ได้มีคุณค่าน้อยกว่าคนชอบดู The Irishman กระมัง)
Scorsese ยังวิจารณ์หนัง Marvel ว่าทำให้เกิดปรากฏการณ์ “เทโรง” โรงหนังแห่ไปฉายหนัง Marvel กันหมด ไม่เหลือพื้นที่ให้กับหนังเล็กรายอื่นๆ และทำให้ความหลากหลายของการสร้างหนังลดลง ซึ่งตรงนี้ผมยืนยันว่าไม่จริง เพราะ Scorsese (หรือคนกลุ่มที่สมาทานแนวคิดแบบนี้) ให้ความสำคัญกับ “หนังโรงใหญ่อย่างเดียว” ในโลกยุค democratization of media คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความบันเทิงแบบ motion picture ได้หลากหลายขึ้นมากด้วยซ้ำ ผ่านบริการสตรีมมิ่งบนอุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านโรงหนัง (Scorsese เองก็สร้าง The Irishman โดย Netflix ออกทุนสร้างให้ซะด้วย)
ในอีกด้าน เส้นแบ่งระหว่างนักวิจารณ์มืออาชีพ กับ คนชอบดูหนังที่อยากนำเสนอความเห็นของตัวเอง ก็แยกได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน เราไม่มีทางตัดสินได้เลยว่า บทความวิจารณ์ครึ่งหน้าใน The New York Times หรือ The Guardian มีคุณค่ามากกว่าความเห็นแฟนๆ ยาว 3 บรรทัดใน Rotten Tomatoes หรือบนเพจ Facebook
ในโลกยุค democratization of media ที่ผู้สร้างหนังไม่ว่ารายใหญ่หรือรายเล็ก สามารถเข้าถึงคนดูได้โดยตรง คนดูสามารถเลือกดูได้ตามชอบ วิจารณ์ได้ตามใจ ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ไม่มีเสียงวิจารณ์ใดมีคุณค่ามากกว่ากัน
สิ่งใดที่เป็น motion picture เป็นภาพเคลื่อนไหวปรากฏอยู่บนจอได้ ควรถูกนับเป็น cinema/film ทั้งหมด
คุณค่าของมันอยู่ที่ใด ผู้ชมจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง