in Technology

John Carmack on Efficiency

เหตุการณ์เล็กๆ ที่น่าสนใจในวงการไอทีสัปดาห์นี้คือ John Carmack อดีต CTO ของ Oculus ลาออกจาก Meta/Facebook แบบเต็มตัวแล้ว

การลาออกของ Carmack ไม่ใช่สิ่งที่เกินคาด เพราะเขาลาออกจากตำแหน่งแบบฟูลไทม์มาตั้งแต่ปี 2019 โดยยังคงสถานะเป็นแค่ที่ปรึกษา แต่เมื่อเดือนตุลาคม 2022 เขาก็ออกมาสับเละถึงแนวทางด้าน VR ของ Meta แบบไม่ไว้หน้า (ซึ่งต้องยอมใจ Meta ที่ใจกว้างพอให้ Carmack มาด่าบริษัทบนเวทีงานสัมมนาใหญ่ประจำปีของตัวเอง) รายละเอียดแบบเต็มๆ ใน Ars Technica

การลาออกของ Carmack ในอีก 2 เดือนถัดมาจึงไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพร์ส สิ่งที่น่าสนใจคือรายละเอียดในประกาศลาออกของเขาต่างหาก

เนื้อหาในประกาศลาออกของ Carmack ไม่ต่างอะไรจากในวิดีโอข้างต้นมากนัก แต่ Carmack สรุปรวบยอดมาให้ว่ามันเป็นเรื่องของ “ประสิทธิภาพ”

The issue is our efficiency.

ถ้าใครเกิดทันยุค Doom และ Quake คงทราบกันดีว่า Carmack คือบุคคลมหัศจรรย์ที่ทำให้เกมยิงแนว FPS สามารถเกิดขึ้นได้จริงบนฮาร์ดแวร์ยุคนั้น ด้วยเทคนิคทางโปรแกรมมิ่งมากมายที่เขาประดิษฐ์ (จริงๆ อยากใช้คำว่า “เสก”) ให้รีดพลังของฮาร์ดแวร์ออกมาได้สำเร็จ

ดังนั้นถ้าในโลกนี้จะมีคนที่มีความน่าเชื่อถือพอ เวลาออกมาพูดเรื่อง efficiency คงไม่มีใครเหมาะกว่า Carmack อีกแล้ว

As a systems optimization person, I care deeply about efficiency. When you work hard at optimization for most of your life, seeing something that is grossly inefficient hurts your soul. I was likening observing our organization’s performance to seeing a tragically low number on a profiling tool.

Carmack บอกว่าปัญหาเรื่องความไร้ประสิทธิภาพใน Meta เลวร้ายยิ่งกว่าการเห็น GPU ไม่ถูกใช้งานเต็มประสิทธิภาพ

I would say that an org that has only known inefficiency is ill prepared for the inevitable competition and/or belt tightening, but really, it is the more personal pain of seeing a 5% GPU utilization number in production. I am offended by it.

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าบริษัท Meta ใช้เงินไปมหาศาลหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี (20% ของงบประจำปี) แล้วได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น อวตารไม่มีขา, อวตารหน้าตาห่วย และโลกเสมือนที่พนักงานเองก็ยังไม่ใช้

Carmack บอกว่าเขาพอใจกับคุณภาพฮาร์ดแวร์ของแว่น Quest 2 ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมสำหรับคนทั่วไปแล้ว แต่ปัญหาคือฝั่งซอฟต์แวร์ที่ยังไม่เกิดสักที แม้ว่ามีกำลังคน กำลังเงิน ทรัพยากรมหาศาล

สาเหตุก็เป็นเพราะคนเหล่าทำงานที่ประสิทธิภาพระดับ 25% เท่านั้น (ในสายตาของ Carmack)

We have a ridiculous amount of people and resources, but we constantly self-sabotage and squander effort. There is no way to sugar coat this; I think our organization is operating at half the effectiveness that would make me happy. Some may scoff and contend we are doing just fine, but others will laugh and say “Half? Ha! I’m at quarter efficiency!”

เขายังบอกว่าแม้เขาเองสามารถเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงสุดได้ (ไม่ได้พูดชื่อแต่ทุกคนก็เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงใคร) แต่เขาก็ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยเรื่องบริษัทเอง และตัว Carmack เองที่พบว่าสู้ไปก็เท่านั้น เอาพลัง เอาเวลา ไปทำงานที่เขาชอบอย่างการเขียนโปรแกรมดีกว่า

I have a voice at the highest levels here, so it feels like I should be able to move things, but I’m evidently not persuasive enough. A good fraction of the things I complain about eventually turn my way after a year or two passes and evidence piles up, but I have never been able to kill stupid things before they cause damage, or set a direction and have a team actually stick to it. I think my influence at the margins has been positive, but it has never been a prime mover.

This was admittedly self-inflicted – I could have moved to Menlo Park after the Oculus acquisition and tried to wage battles with generations of leadership, but I was busy programming, and I assumed I would hate it, be bad at it, and probably lose anyway.

กล่าวโดยสรุปคือ ปัญหาเรื่องทิศทางการพัฒนา VR ของ Carmack ที่แตกต่างจาก Zuckerberg (หรือผู้บริหารคนอื่นๆ) อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโลกเราก็มีความขัดแย้งเรื่องทิศทางการพัฒนาแบบนี้อยู่เรื่อยๆ (Carmack เองก็เคยทะเลาะกับ John Romero)

แต่วิธีการวิจารณ์เรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน โดยคนที่แคร์เรื่องประสิทธิภาพมากที่สุดคนหนึ่งอย่าง Carmack ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมากในการอธิบายปัญหาการจัดการขององค์กรลักษณะนี้