in Thoughts

Global Supply Chain

ปัญหา COVID-19 กระทบกับเรื่อง globalization เข้าจังๆ ทั้งในแง่การเคลื่อนย้ายคน (transportation) และการเคลื่อนย้ายสิ่งของ (supply chain)

ที่ผ่านมา ระบบ supply chain ของโลก มุ่งเป้าที่ต้นทุนในการผลิตต่ำสุด ซึ่งก็ส่งผลให้โรงงานในหลายอุตสาหกรรมย้ายไปจีน (และจีนก็ได้ประโยชน์เรื่องนี้อย่างมากตลอด 20 ปีที่ผ่านมา) แถมการที่โรงงานจีนมีต้นทุนถูกกว่า ทำให้โรงงานในประเทศอื่นแข่งขันไม่ได้และต้องปิดตัวลงไป กลายเป็น “จีนผูกขาด” วัตถุดิบหรือสินค้าหลายอย่าง

พอ COVID-19 เกิดขึ้นมาที่ใจกลางประเทศจีนตรงๆ จนจีนต้องมีมาตรการปิดเมืองปิดโรงงาน วัตถุดิบเหล่านี้เลยขาดแคลนตามไปด้วย

The Economist มีบทความพูดถึงเรื่องนี้ โดยเล่นประเด็นเรื่องวัตถุดิบด้านยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีศูนย์กลางการผลิตอยู่ที่มองโกเลียใน

a large share of the world’s supply of antibiotics depends on a handful of Chinese factories. These include a cluster in Inner Mongolia, a northern province of windswept deserts, grasslands and unlovely industrial towns. Then came the covid-19 outbreak, and quarantine controls that locked down factories, ports and whole cities across China.

แน่นอนว่าจีนไม่ได้ “ตั้งใจ” ปิดโรงงานหรือห้ามส่งออก (เพราะจีนก็ขาดรายได้) และเมื่อจีนจัดการปัญหาไวรัสระบาดได้แล้ว supply chain ก็กลับมาเหมือนเดิมทุกประการ

แต่เหตุการณ์นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ รัฐทั่วโลกต้องมาทบทวนกันว่า เราจะปล่อยให้เกิดสภาพพึ่งพาจีนแบบไร้อำนาจต่อรองไปตลอดงั้นหรือ ถ้าในอนาคต จีนทะเลาะกับอเมริกา หรือมีเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นใดอีก จะทำอย่างไรกันดี

เรื่องนี้ สายเหยี่ยวในอเมริกา (ทีมของทรัมป์ที่ทำศึก trade war) พูดกันมานานแล้ว และมันจะยิ่งเข้มข้นขึ้น

กรณีของเมืองไทย เราไม่ได้ไปมี trade war อะไรกับเขา แต่ก็คงเป็นโอกาสสำคัญที่จะมาทบทวนตัวเองใหม่ว่า supply chain ในประเทศของเรา สามารถพึ่งพิงตัวเองได้หรือยัง เรื่องอาหารคงไม่ใช่ปัญหา แต่ของใช้หรือสินค้าอุปโภค คนยังไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้กันมากนัก

อาจถึงเวลาแล้วที่รัฐไทยมานั่งดูสินค้าสำคัญๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีพ (กรณีตัวอย่างคือวัตถุดิบสำหรับผลิตหน้ากากอนามัย) ว่าสามารถผลิตในประเทศได้แบบครบวงจร ถึงแม้ราคาอาจทำต้นทุนได้ไม่เท่ากับผลิตในจีน (หรือประเทศอื่นๆ เพราะเราคงไม่ได้สนใจเฉพาะจีน) ก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องมาสร้างกำแพงราคา ให้ผู้ผลิตสินค้าในประเทศอยู่รอดได้อีกเช่นกัน

the epidemic to intensify European discussions about industrial policy. “The globalisation of putting everything where production is the most efficient, that is over.”

ภาพประกอบ: Pixabay