in Economics

ตลาดคริปโตแตกครั้งนี้ ต่างจากครั้งก่อน

วาทกรรมอย่างหนึ่งที่พบบ่อยๆ ในช่วงตลาดคริปโตขาลง (crypto winter) เวอร์ชันปี 2022 คือมันเป็นเรื่องปกติที่เกิดมาแล้วหลายรอบ ลงแล้วก็เดี๋ยวขึ้นใหม่ นี่คือสิ่งพิสูจน์ความเชื่อของชาวคริปโตจริงๆ etc. etc.

เมื่อไม่นานมานี้ Changpeng Zhao หรือ “CZ” ผู้ก่อตั้ง Binance ให้สัมภาษณ์กับ Wired ก็พูดคล้ายๆ กัน

We didn’t spend a lot of money during the bull market. We’ve been around for a bear market—this is at least the second cycle for Binance. We know that bitcoin’s price can drop by 80-90 percent.

ฟังเผินๆ ก็น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะวัฏจักรของตลาดทุนเป็นแบบนี้อยู่แล้ว แต่วันนี้ได้อ่านบทวิเคราะห์ของ CNBC ที่แยกแยะว่า crypto winter รอบนี้ต่างไปจากรอบของปี 2017-2018 อย่างไร

ถ้าสรุปแบบสั้นๆ

  • ภาวะตลาดแตกปี 2017 เกิดจากฟองสบู่ hype bubble ของชาวคริปโต (อย่างเดียว) แตก ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจด้วยซ้ำ
  • ภาวะตลาดแตกปี 2022 เกี่ยวพันกับภาวะเศรษฐกิจมหภาค (macroeconomic) อย่างมาก โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี่ยของ Fed และธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่โลกคริปโตไม่เคยเผชิญมาก่อน
  • นอกจากนี้ ตลาดแตกปี 2022 ยังมียักษ์ใหญ่จากแวดวงการเงินเข้ามาเล่นด้วยเยอะ (ภายใต้ชื่อ DeFi) เกิดการ leverage คือเอาเงินคริปโตไปค้ำ (บางส่วน) แล้วกู้เงินในปริมาณที่เยอะกว่านั้นไปเล่นกันต่อๆ พอเกิดบึ้มผิดคาดขึ้นมา (Terra/Luna/UST) เลยลากกันพังต่อเป็นชุดๆ (Three Arrows, Voyager, Celsius) ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะไปจบที่ไหน

ดังนั้น สรุปแล้ว ภาวะตลาดแตก 2 รอบล่าสุดนั้นแตกต่างกันมาก เรากำลังเข้าสู่ดินแดนที่ยังไม่เคยมีใครไปมาก่อน (Uncharted Territory) ในหลายแง่มุม เช่น กรณีของ Celsius ที่ล้มละลายแล้วต้องจ่ายหนี้ ก็เกิดคำถามว่าควรจ่ายหนี้ใครก่อนกัน ระหว่างจ่ายหนี้รายย่อย (คัดเลือกโดยมนุษย์) หรือจ่ายหนี้รายใหญ่ (ตามสัญญา Smart Contract)

หากดูกราฟราคา Bitcoin ข้างต้น จะเห็นว่าราคาของ Bitcoin ขาขึ้นรอบปี 2017 ต่างจากรอบปี 2021 อย่างมาก ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำนวนผู้เกี่ยวข้อง ปริมาณเงินที่เข้ามาเอี่ยวมันก็ต่างกันมาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็ต่างกันอีกมากมาย (หลักๆ คือ Fed อัดฉีดเงินเข้าระบบช่วง Covid)

คำถามที่น่าสนใจตามต่อคือ cycle ถัดไปมันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ระหว่าง

  • ไม่มีใครเข็ดจากรอบนี้ แล้ว cycle หน้าต้องใหญ่กว่าเดิม
  • ตลาดแตกรอบนี้ทำให้หน่วยงานภาครัฐเริ่มเข้ามาแทรกแซง กำกับดูแลเข้มงวดขึ้นมาก