เทคโนโลยีสุดไฮป์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ย่อมต้องมีชื่อของ Bitcoin, Blockchain, Cryptocurrency อย่างหนึ่ง และ VR/AR (ที่ล่าสุดกลายร่างเป็น Metaverse) อีกอย่างหนึ่ง
แต่ไฮป์กันมานานแล้ว สุดท้ายมันจะเกิดได้จริงแค่ไหน คงเป็นคำถามที่ทุกคนถามถึง
วันนี้มีโอกาสอ่านบทความ 2 ชิ้น ที่พูดถึง “อนาคต” ของเทคโนโลยีสองอย่างนี้พอดี
Bitcoin & Cryptocurrency
บทความใน New York Times ระบุว่า ชาวคริปโตมักมีเหตุผลแย้งเวลามีคนมาตั้งข้อสงสัยว่าคริปโตมีอนาคตจริงหรือไม่ โดยบอกว่า “ให้รออีกหน่อย” (Just wait) เมื่อถึงเวลาที่โลกเป็นแบบนี้ มันจะมาเอง
Wait until inflation hits, and people look to park their savings in a stable digital asset that won’t lose its value. Wait until war breaks out, and authoritarians start seizing assets and imposing capital controls on their citizens. Wait until big banks and tech companies start censoring dissidents for their political views. Then you’ll see why we need a stateless, decentralised, anonymous digital currency.
ตอนนี้ เดือนมีนาคม 2022 อนาคตที่ว่านั้นมาถึงแล้ว เงินเฟ้อรุนแรง เกิดสงคราม มาตรการแซงก์ชั่นทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ยึดทรัพย์เศรษฐีรัสเซีย ฯลฯ
แต่ Bitcoin ก็ยังไม่มา ทั้งในแง่มูลค่า และปริมาณธุรกรรม คนรัสเซียไม่ได้เอาเงินรูเบิลไปแลกเป็น Bitcoin และเศรษฐีรัสเซียก็ไม่ได้หลบเรื่องการทำธุรกรรมกับตะวันตกด้วยคริปโต
In other words, this is a perfect storm of economic and geopolitical events that should, theoretically, be great for Bitcoin.
But Bitcoin hasn’t boomed. In fact, even as Wall Street analysts contemplate the possibility of nuclear Armageddon, crypto prices have fallen steadily. Bitcoin prices are down 10% in the past month, and Ether, the second most popular crypto coin, is down roughly 15%.
Day-to-day usage of cryptocurrencies isn’t picking up the way you’d expect, either.
คำถามที่ควรตั้งคือ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เหตุผลข้อหนึ่งคือ มันใช้ยากเกินไปสำหรับคนทั่วไป ประมวลผลช้าและแพง ตอนปกติก็ใช้ยากอยู่แล้ว ยิ่งในภาวะสงคราม อินเทอร์เน็ตโดนตัด ทุกคนต้องวิ่งหาเงินสด
เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือ มูลค่าของมันไม่เสถียร ดังนั้นต่อให้ไม่เอาไปใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนมูลค่า (แทนเงินสด) ก็เอาไปใช้เป็นสินทรัพย์เพื่อการันตีมูลค่า (แทนทองหรือสินทรัพย์อื่นๆ) ท่ามกลางเศรษฐกิจและการเมืองที่ผันผวนไม่ได้อยู่ดี
One possibility is that crypto is still too confusing and too difficult for normal people to use, especially during a war. Internet access is spotty in many parts of Ukraine, and reports have suggested that even the country’s elites are struggling to convert their assets into crypto.
Another possibility, popular among sceptics of Bitcoin and other cryptocurrencies, is that Bitcoin is still too volatile to be useful as a hedge against economic and political instability.
คำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจ มาจาก Kevin Werbach ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายจาก Wharton บอกว่าในโลกของ Bitcoin มันมีคำอธิบาย 2 ชุด จากคน 2 กลุ่มที่ผสมปนเปกัน
- คำอธิบายชุดแรก มาจากกลุ่ม early adopter ที่มีอุดมการณ์แบบ libertarian ต้านการมีอยู่ของรัฐ
- คำอธิบายชุดที่สอง เป็นเรื่องการเก็งกำไรล้วนๆ (แต่ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบกลุ่มแรก)
Bitcoin’s earliest and most vocal adopters, he said, tended to be libertarians who saw cryptocurrency as a kind of insurance policy against hyperinflation and government corruption. But the more recent price swings in the crypto markets attracted a surge of speculators who viewed Bitcoin and other cryptocurrencies mainly as investments and cared less about their political implications.
VR & AR
บทความที่สองมาจาก TechCrunch ที่ไปสัมภาษณ์ Magic Leap บริษัทด้าน VR/AR ที่เคยโม้ไว้เต็มแม็กซ์ แล้วทำไม่ได้อย่างที่เคยโม้ไว้ จนผู้ก่อตั้งต้องลาออก และเปลี่ยนทีมบริหารเป็นชุดใหม่เข้ามาในช่วงปี 2020 (เป็นอดีตผู้บริหารไมโครซอฟท์)
ความโม้ยุคปี 2015 เผื่อใครไม่เคยดู
ตัวบทความพูดถึงพัฒนาการของ Magic Leap 2 ที่ดีขึ้นกว่ารุ่นแรกมาก (สินค้ายังไม่ออกขาย) แต่ผู้เขียนก็บอกเอาไว้ว่า ต่อให้แว่นรุ่นแรกทำได้แบบนี้เลย มันก็ไม่ถึงขั้นที่โม้เอาไว้อยู่ดี
it’s also still clear that even if this had been their first iteration, it still would not have lived up to the expectations that Magic Leap’s executives had set for the initial device and product category.
ผู้เขียนยังบอกว่า เขียนบทความเรื่อง VR/AR มานานหลายปี ตอนนี้เขาพบว่า วงการ AR หยุดนิ่งไปแล้ว หรือแม้แต่วงการ Enterprise VR ก็ดูไม่มีอนาคต เพราะเหลือผู้เล่นแค่ 2 รายคือ Microsoft HoloLens (ที่มีข่าวว่าจะเลิกทำ) และ Magic Leap (ที่ไฮป์อย่างเดียวไม่ออกของสักที)
What’s clear to me is that the AR industry has now been at a standstill in public for years. Mobile AR development on smartphones was more or less a complete failure and took down dozens of startups. The future of enterprise use doesn’t feel particularly bright to me either because there are so few hardware players powering so few headsets that there isn’t much of a software development scene anymore compared to even 2018 or 2019.
มุมมองของผมคือ เทคโนโลยีใหม่จะมีอัตราการ adoption ตามแนวทาง Gartner hype cycle ก็จริง แต่มันก็มีกรอบเวลาที่ค่อนข้างจำกัดเหมือนกัน นับจาก hype สู่การใช้งานจริง
ตัวอย่างคือ สมาร์ทโฟนยุคใหม่เปิดตัวในช่วงปี 2007-2008 ซึ่งใช้เวลาตั้งไข่สักระยะ และมาเริ่มจุดติดช่วงราวปี 2010-2011 (iPhone 4/4S, Galaxy S/S2) ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี แล้วสร้างยอดขายรวมต่อปีระดับ 1 พันล้านเครื่องได้ในปี 2013 (ใช้เวลารวม 5-6 ปีนับจากเปิดตัว)
- Bitcoin ปรากฏตัวครั้งแรกปี 2009 (นับถึงตอนนี้คือ 13 ปีแล้ว)
- Oculus บิดาแห่ง VR ยุคใหม่ ก่อตั้งในปี 2012 (10 ปี) ออกแว่นคอนซูเมอร์ตัวแรกปี 2016 (6 ปี)
ระยะเวลา 6 ปีในโลกทั่วไปอาจไม่นานนัก แต่ในโลกไอทีถือว่ายาวนานมากแล้ว (แอปเปิลใช้เวลา 6 ปี พัฒนา iPhone 1 มาจนเป็น iPhone 5S) นั่นแปลว่า ถ้ามันสมควรจุดติดในวงกว้าง (เราคงไม่นับการใช้งานเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเกิดแน่นอนอยู่แล้ว) มันควรจุดติดแล้ว แต่ถ้าใช้เวลา 6 ปีแล้วยังจุดไม่ติดอีก “อนาคต” ที่พูดๆ กันไว้ก็อาจไม่มีวันมาถึงอีกแล้วเหมือนกัน
ภาพประกอบจาก MV If Tomorrow Never Comes ของ Ronan Keating