อ่านโพสต์ของ Alice Evans นักวิชาการด้านเพศ (gender) เขียนเรื่องปรากฏการณ์ “คนโสด” ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก
เธออ้างชาร์ทจากบทความของ Financial Times ชื่อ The Relationship Recession is Going Global ซึ่งสรุปแบบสั้นๆ ว่า อัตราการมีคู่ (coupling rate) และอัตราการมีลูก (fertility rate) ลดลงอย่างต่อเนื่องจากทศวรรษ 1990 มาสู่ทศวรรษ 2020 ในแทบทุกภูมิภาคของโลก อาจมีข้อยกเว้นบ้างในเอเชียใต้เพียงภูมิภาคเดียวเท่านั้น
สาเหตุของการที่คนมีคู่น้อยลง แต่งงานน้อยลง มีลูกน้อยลง (ซึ่งไม่เหมือนกันแต่เป็นปัญหาต่อเนื่องกัน) ข้อสันนิษฐานมี 2 อย่างคือ
- คนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกันน้อยลง เช่น ไปเล่นมือถือแก้เหงา แทนการออกไปเจอผู้คน
- ผู้หญิงทั่วโลกมีความก้าวกระโดดทางวัฒนธรรม (Evans ใช้คำว่า culturally leapfrogging) ขึ้นกว่าเดิมมาก ปลดแอกตัวเองจากค่านิยมสังคมแบบดั้งเดิมมาเป็นค่านิยมสากลมากขึ้น มีความคาดหวังต่อการมีคู่ครองต่างไปจากเดิม (เคยอ้างงานของ Evans ไว้ครั้งหนึ่งใน A Great Gender Divergence)
เหตุผลที่เกิดความก้าวกระโดดทางวัฒนธรรม ก็มาจากสื่อที่มีความกว้างไกลมากขึ้น ตัวอย่างที่เข้าใจง่ายคือ ผู้หญิงทั่วโลกที่เดิมทีดูทีวีประเทศใครประเทศมัน ตอนนี้มาดู Netflix เหมือนกันหมด (เคยเขียนเรื่องนี้ไว้บ้างในตอน Global Village)
ส่วนกรณีที่เอเชียใต้ คนยังมีคู่ แต่งงาน มีลูกกันเยอะอยู่ น่าจะเกิดจาก 2 ปัจจัยด้านกลับคือ ระบบวรรณะยังมีความเข้มแข็งอยู่ การเป็นโสดจะโดนสังคมประณาม และอัตราการเข้าถึงมือถือของผู้หญิงในเอเชียใต้ ยังน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ มาก
This global decline in couple formation perfectly coincides with the rise in smart phones.
2 hypotheses:
1) Phones are distracting, people socialise less
2) Women are ‘culturally leapfrogging’, exploring new ideas & raising their expectationshttps://t.co/MHBkDkZAyo pic.twitter.com/mG0wEFaTGX
— Alice Evans (@_alice_evans) January 11, 2025
ในบทความของ Evans มีโควตที่น่าสนใจหลายอัน เช่น การถ่ายทอดคุณค่าแบบใหม่ในหมู่เพื่อนหญิงด้วยกัน
Watching TV or browsing social media, young women get a taste for equality and reaffirm these values with female friends.
Evans เดินทางไปทั่วโลก ไปยังประเทศที่ศาสนาเคร่งครัดอย่างอิหร่าน ตุรกี และเจอผู้หญิงสมัยใหม่ที่ถือคุณค่าแบบใหม่
During my recent fieldwork across six Turkish cities, I met so many confident, ambitious young women. Unlike older generations, none wanted to cook, clean and stay at home.
As cultural coercion fades, women increasingly seek relationships based on love, respect and affection. But in some communities, there’s a real shortage in supply.
But if the supply of eligible men falls short, women may prioritise independence.
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การอยู่คนเดียว (หมายถึงไม่มีแฟน ไม่มีคู่เลย ยังไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องการแต่งงาน) ซึ่งในยุโรปตะวันตก เกิดสถานการณ์นี้กับเพศชาย โดยเฉพาะกลุ่มที่ 1) การศึกษาต่ำ 2) รายได้ต่ำ 3) อ้วน
In Sweden, male fertility is much lower among those who performed poorly in cognitive tests, earnt less, or were obese. In Finland too, middle-aged men are more likely to be living alone if they only have high school education.
เมื่อสังคมคนโสดขยายตัวขึ้น เลยยิ่งส่งผลให้คนยิ่งโสด เพราะไม่เกิด peer pressure ในการกดดันให้คนต้องมีคู่ ไม่ว่าจะมาจากเพื่อน ครอบครัว หรือสังคม
ประเด็นเรื่องการเลือกชีวิตว่าจะโสดหรือไม่ คงเป็นทางเลือกในระดับปัจเจก ชีวิตใครชีวิตมัน แต่พอมามองในระดับสังคมภาพใหญ่ ปัญหาเรื่องประชากรหดตัวย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็ยังไม่มีทางออกที่เด่นชัดว่าเราจะแก้ไขมันอย่างไร