เป็นอีกบทความที่ดองมานานแล้ว เพิ่งมาอ่าน
Ars Technica
เรื่องไฟป่าออสเตรเลียเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ดูจากรูปแล้วก็หลอนแทน และคิดว่าทุกคนคงมีคำถามเหมือนๆ กันว่าไฟป่าครั้งนี้เกิดจากอะไร ทำไมถึงรุนแรงขนาดนี้
คำตอบในรายละเอียดคงมีผู้เชี่ยวชาญอธิบายกันไปเยอะแล้ว แต่ถ้าเอาแบบสั้นๆ รวบรัด มาจากสองปัจจัยคือ
- สภาพอากาศ (climate) ปีที่แล้ว 2019 ถือเป็นปีที่ร้อนและแล้งที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย เท่าที่มีการจดบันทึกมา
- ปัจจัยเรื่องกระแสน้ำในมหาสมุทรอินเดีย ที่มีการแกว่ง (oscillation) ไปมาระหว่างฟากของมหาสมุทรเป็นปกติ ส่งผลให้อุณหภูมิของมหาสมุทรแต่ละฝั่งไม่เท่ากัน ลักษณะเดียวกับเอลนิโญ (El Nino) ที่เกิดในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
- ออสเตรเลียฝั่งตะวันตก อยู่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Indian Ocean Dipole (IOD) ที่ทำให้อุณหภูมิของฝั่งตะวันออกมหาสมุทร (ออสเตรเลีย หรือ อินโดนีเซีย) กับฝั่งตะวันตกมหาสมุทร (แอฟริกาฝั่งตะวันออก) แตกต่างกัน
- แต่ละเฟสจะมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี
- ช่วงนี้เป็นช่วงที่ IOD มีสถานะเป็น positive คือ น้ำอุ่นฝั่งแอฟริกา และน้ำเย็นฝั่งออสเตรเลีย ทำให้ความชื้นพัดไปทางออสเตรเลียน้อยลง (ฝนไปตกทางแอฟริกาแทน ถึงขั้นพายุเข้า น้ำท่วม) แถมรอบนี้เป็น positive แบบแรงมากๆ ส่งผลให้ออสเตรเลียยิ่งแล้งเข้าไปอีก
- ลิงก์อ่านเพิ่มเรื่อง Indian Ocean Dipole ที่เชื่อมโยงไฟป่าออสเตรเลีย กับน้ำท่วมเคนยา
- ปัจจัยที่สาม มาจากความผันแปรของชั้นบรรยากาศที่ขั้วโลกใต้ ทำให้ลมที่หมุนรอบขั้วโลกใต้เบาลง ออสเตรเลียเกิดลมพัดจากตะวันตกไปตะวันออก (westerly winds) ยิ่งช่วยให้ไฟโหมกระหน่ำ
สรุปคือเป็นเรื่องเคราะห์ซ้ำกรรมซ้อน หลายกรรมหลายวาระมารวมตัวกันในคราเดียว
www.bbc.com
ในคลิปของกรมอุตุออสเตรเลีย ทำไว้เข้าใจง่ายดี